ก.เกษตรฯ ชี้ชัดลดมลพิษทางอากาศจากเกษตรด้วย “3R” เน้นเปลี่ยนพฤติกรรม ปลูกพืชทางเลือกกำไรสูง เพิ่มรายได้อย่างยั่งยืน

  •  
  •  
  •  
  •  

ปลัดกระทรวงเกษตรฯ ประกาศชัดกลางเวที “การประชุมเพื่อลดมลพิษทางอากาศโดยการหลีกเลี่ยงการเผาในภาคการเกษตร : สร้างความร่วมมือเพื่อพัฒนาทางเลือกที่ยั่งยืนในการแทนที่การเผาไหม้พืชผล” ลดการเผาในพื้นที่เกษตรด้วย “3R” เน้นเปลี่ยนพฤติกรรม ปลูกพืชทางเลือกกำไรสูง ใช้ประโยชน์จากซากพืชเพื่อบำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้อย่างยั่งยืน

วันที่ 1 กันยายน 2567 นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดการประชุม “การประชุมเพื่อลดมลพิษทางอากาศโดยการหลีกเลี่ยงการเผาในภาคการเกษตร : สร้างความร่วมมือเพื่อพัฒนาทางเลือกที่ยั่งยืนในการแทนที่การเผาไหม้พืชผล” (Reduction of Air Pollution through Avoidance of Burning in Agriculture : “Facilitate partnership that scale viable alternative to crop burning”) ณ โรงแรมอีสติน แกรนด์ พญาไท กรุงเทพฯ

งานนี้จัดขึ้นโดย Friends of Thai Agriculture หรือ FTA และพันธมิตร อาทิ สมาคมเกษตรกรรมแห่งเยอรมนี (DLG ) องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย เป็นต้น   โดยมี Dr.Glijs Theunissen ทูตเกษตรประจำสถานเอกอัคราขทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทยกล่าวต้อนรับ

Dr.Glijs Theunissen กล่าวว่า ภาคเกษตรกรรมจะมีความสำคัญในการจัดหาอาหารและอาหารสัตว์สำหรับประชากร แต่การเกษตรก็เป็นหนึ่งในผู้มีส่วนทำให้เกิดมลพิษทางอากาศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่เกิดจากการเผาไหม้เศษพืชเป็นปัญหาสำคัญ อาทิ ที่ชาวนาเผาฟาง ตอซัง และแกลบหลังการเก็บเกี่ยวของข้าวโพด รวมถึงอ้อย ทำให้มีการปล่อยอนุภาคที่เป็นอันตรายออกมา อย่างคาร์บอนมอนอกไซด์และสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายออกสู่ชั้นบรรยากาศผลที่ตามมาของมลพิษทางอากาศทางการเกษตร ที่กระทบด้านลบต่อสุขภาพของมนุษย์ด้วย

“ปัญหาเรื่องบนภาวะทางอากาศ ไม่เพียงเฉพาะแต่ประเทศไทย แต่มีทุกภูมิภาคและทั่วโลก แต่คราวนี้มาเก็บข้อมูลหาแนวทาง แก้ปัญหาเฉพาะประเทศไทยก่อนว่า เราจะร่วมมือกันอย่างไร ซึ่งที่ประชุมในวันนี้ เรามี ผู้เชี่ยวชาญ หลายๆด้าน ทั้งนักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ จากหน่วยงานภาครัฐเอกชน เรามาเพื่อร่วมกันหาแนวทาง ในการที่จะแก้ปัญหามลพิษทางอากาศในประเทศไทยก่อน” เขา กล่าว

นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า การจัดงานในครั้งนี้โวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในทุกภาคส่วน และพันธมิตรระหว่างประเทศ เพื่อร่วมกันสนับสนุนการพัฒนาของประเทศไทย และลดการเผาในภาคการเกษตร ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรไทยและประชากรทั่วโลก  ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทยได้ริเริ่มนโยบายสำคัญหลายประการ เพื่อลดผลกระทบจากการเผาในพื้นที่เกษตรกรรมขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติโดยเครือข่ายเกษตรกรที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ คือ Smart Farmer และ Young Smart Farmer ภายใต้ “โมเดล 3R” ประกอบด้วย

1) Re-Habit: การเปลี่ยนพฤติกรรมของเกษตรกร โดยการส่งเสริมวิธีปฏิบัติทางการเกษตรที่ไม่เผา ซึ่งเป็นการสนับสนุนการนำเครื่องจักรและเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเศษซากพืชในรูปแบบที่ไม่จำเป็นต้องเผา นอกจากนี้ ยังมีการส่งเสริมมาตรฐานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การรับรองการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี GAP (Good Agricultural Practices) สำหรับ
การทำเกษตรกรรมที่ปลอด PM 2.5

2) Replace with High-Value Crops: ส่งเสริมให้เกษตรกรเปลี่ยนจากการปลูกพืชแบบดั้งเดิม ไปสู่การปลูกพืชทางเลือกที่ให้กำไรสูงกว่า โดยเฉพาะในพื้นที่สูง ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนจากพืชที่ปลูกในนาไปเป็นต้นไม้ผล พืชอายุยืน หรือพืชเศรษฐกิจที่มีมูลค่าสูง เช่น อะโวคาโด แมคคาดาเมีย และแม้กระทั่งพืชที่เติบโตเร็ว วิธีการนี้ไม่เพียงป้องกันการเผา แต่ยังเพิ่มโอกาสในการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร

 3) Replace with Alternate Crops: สำหรับพื้นที่ต่ำ และนอกเขตชลประทาน โมเดลนี้สนับสนุนการเปลี่ยนพืชที่เสี่ยงต่อการเผา เช่น ข้าวนอกฤดูไปเป็นพืชที่ต้องการ การจัดการเศษซากพืชด้วยการเผาที่น้อยกว่า ได้แก่ ข้าวโพด หรือ พืชตระกูลถั่ว แนวทางนี้เน้นการจัดการเศษซากพืชที่ดีขึ้นโดยเปลี่ยนของเสียทางการเกษตรให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าซึ่งจะช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินและเสริมสร้างความยั่งยืน

สำหรับการเผาในภาคการเกษตรยังคงเป็นวิธีปฏิบัติทั่วไป ที่เกษตรกรไทยเลือกใช้จัดการเศษซากพืชหลังการเก็บเกี่ยว เช่น ฟาง ตอ และแกลบ เนื่องจากเป็นวิธีที่รวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่ายในการเตรียมพื้นที่ทำการเกษตร นอกจากนี้ เกษตรกรบางคนยังเชื่อว่าการเผาสามารถช่วยควบคุมศัตรูพืชและโรคพืช เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน และช่วยในการเตรียมพื้นที่สำหรับรอบการเพาะปลูกถัดไป

อย่างไรก็ตาม วิธีปฏิบัตินี้ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่สำคัญจากผลที่เกิดขึ้นต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อม
ซึ่งผลกระทบจากการเผาในภาคการเกษตรมีความรุนแรง โดยส่งผลต่อมลพิษทางอากาศและก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพที่ร้ายแรง ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ที่ปล่อยออกมาขณะเผาสามารถก่อให้เกิดปัญหาระบบทางเดินหายใจ และหัวใจ และนำไปสู่อาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ของผู้คน นอกจากนี้ มลพิษนี้ส่งผลกระทบในวงกว้าง ทั้งการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจโดยรวม

ขณะเดียวกัน การเผาเศษซากพืชจากการเกษตรยังทำให้เกิดค่าใช้จ่ายทางเศรษฐกิจแก่เกษตรกร เศษซากพืช เช่น ฟางข้าว และเศษซากพืชจากอ้อย หรือข้าวโพด สามารถนำมาใช้เป็นทรัพยากรที่มีมูลค่าในแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งรวมถึงการใช้ทรัพยากรเหล่านี้ในโครงการพลังงานชีวมวล หรือการผลิตผลผลิตอื่น ๆ อีกด้วย

ส่วน Dr. Timo Menniken ที่ปรึกษาฑูตสถานเอกอัคราขทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย กล่าวว่า การประชุมในวันนี้ เพื่อจะมาดูว่าข้อมูลด้านปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะในภาคการเกษตรในประเทศไทย เพื่อหาแนวทาง แก้ปัญหามลภาวะทโพด รวมไปถึงอ้อยด้วย เมื่อเก็บข้อมูลก็กำหนดแนวในการที่ะแก้ปัญหาในอนาคต โดยร่วมมือจากทุกภาคส่วน ซึ่งคาดว่าการแก้ปัญหามลภาวะที่เกิดมาจากการปลูกข้าว ข้าวโพด และอ้อยภายในปี 2030 จะมีความยั่งยืน

ขณะที่ ผศ.ดร.สมพร จันทระ และเป็นหัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และอาจารย์ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  กล่าวว่า มลภาวะทางอากาศในภาคเหนือ จากมาจากส่วนหนึ่งมาจากภาคการเกษตรที่เกิดจากการเผา  ควันจากการจราจร  ฝุ่นบนถนน และมาจากมลภาวะจากส่วนอื่น แต่การเผาภาคการเกษตรทั้งฝางข้าว ข้าวโพด จะเยอะที่สุดโดยเฉพาะช่วงเดือนมีนาคมของทุกปี

รศ.ดร.วิษณุ อรรถวานิช ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า จากการศึกษาสาเหตุของการเผาพื้นที่กรเกษตรในประเทศไทยมาจาก 3 สาเหตุคือจัดการง่าย มีความเชื่อที่ผิดว่าการเผาทำให้เกิดปุ๋ยในดิน และสะดวกต่อการนำเครื่องจักรไปจัดการพื้นที่เพาะปลูก ฉะนั้นต้องสร้างความเข้าใจใหม่ เสนอปัจจัยทดแทน และออกหมาย ซึ่งที่ผ่านมรัฐบาลก็มีนโยบายอยู่แล้วเป็นต้น 

สำหรับการประชุมเรื่องการลดมลพิษทางอากาศด้วยการหลีกเลี่ยงการเผาในการเกษตร“อำนวยความสะดวกในการเป็นหุ้นส่วนที่ขยายทางเลือกที่เป็นไปได้แทนการเผาพืชผล” ในครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ไขปัญหาสำคัญของการเผาไหม้ทางการเกษตรและส่งเสริมความยั่งยืน การปฏิบัติเป็นทางเลือกที่เป็นไปได้ โดยนำผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภาคส่วนต่างๆมาร่วมงาน และพยายามที่จะพัฒนากลยุทธ์ที่สามารถดำเนินการได้และส่งเสริมการทำงานร่วมกันเพื่อการแก้ปัญหาในระยะยาว

วัตถุประสงค์ คือ 1.การบรรเทามลพิษทางอากาศ: อำนวยความสะดวกในการอภิปรายและความร่วมมือเพื่อลดมลพิษทางอากาศเกิดจากการเผาเกษตรกรรมและการจัดการกากพืชที่ไม่เหมาะสม,2. การตระหนักรู้และการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์: เกี่ยวข้องกับสถาบันระหว่างประเทศ สื่อ และผู้มีอิทธิพลหน่วยงานเพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับประเด็นนี้, 3. แนวทางแก้ไขทางเลือก: นำเสนอแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดและบทเรียนที่ได้รับจากประเทศอื่น ๆให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยและภูมิภาค กลุ่มเป้าหมาย