กรมวิชาการเกษตร เปิดตัว “จ่าเหน่ง” เกษตรอินทรีย์ดีเด่นแห่งชาติ จาก GAP ต่อยอดสู่อินทรีย์ ผ่านการรับรองรายแรกในจังหวัดสิ งห์บุรี ปัจจุบันเป็นแหล่งผลิตพืชผักอินทรีย์ ผสมผสาน และเป็นแหล่งเรียนรู้และเชื่ อมโยงการผลิตสินค้าเกษตรอินทรี ย์ด้วย
นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2567 เรืออากาศตรีบัญชา เพ็ชรรักษ์ เป็นเกษตรกรอีกรายหนึ่งที่ จะเข้ารับพระราชทานโล่รางวั ลในสาขาเกษตรอินทรีย์ดีเด่นแห่ งชาติในงานพระราชพิธีพื ชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวั ญประจำปี 2567 ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง โดยในปีนี้เรืออากาศตรีบัญชา หรือที่รู้จักกันในนาม“จ่าเหน่ง เกษตรอินทรีย์”ยังได้รับรางวัล แปลงต้นแบบสิงห์บุรีโมเดล การผลิตผักปลอดภัยสร้างรายได้สู ง ภายใต้โครงการ 76 จังหวัด 76 โมเดล การผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยมูลค่ าสูง” ของกรมวิชาการเกษตรอีกด้วย
แปลงเกษตรอินทรีย์ของจ่าเหน่ง ตั้งอยู่ที่ ตำบลโพกรวม อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี เป็นแหล่งผลิตพืชผักอินทรีย์ ผสมผสาน และเป็นแหล่งเรียนรู้และเชื่ อมโยงการผลิตสินค้าเกษตรอินทรี ย์ โครงการส่งเสริมและพัฒนาเตรี ยมความพร้อมตามระบบของเกษตรอิ นทรีย์ของจังหวัด รวมทั้งยังเป็นศูนย์การเรียนรู้ เกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (PGS) และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิ งเกษตรของจังหวัดสิงห์บุรีด้วย ในอดีตจ่าเหน่งเป็นข้ าราชการทหาร ด้วยเหตุผลทางสุขภาพ จึงตัดสินใจหันมาประกอบอาชี พเกษตรกรอย่างเต็มตัวเมื่อปี 2553 ผ่านการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง สร้างองค์ความรู้จากการลงมือปฏิ บัติจริงและค้นคว้าหาความรู้ จากเอกสารและสื่อต่างๆ รวมทั้งเข้าร่วมอบรมกับหน่ วยงานภาครัฐเพื่อเพิ่มพูนองค์ ความรู้นำมาปรับใช้ให้เข้ากั บระบบการผลิตพืชของตนเอง
ปี 2555 จ่าเหน่งเริ่มมีองค์ความรู้เกี่ ยวกับการทำการเกษตรเพิ่มขึ้น และได้สมัครขอการรับรองมาตรฐาน GAP กับสำนักวิจัยและพั ฒนาการเกษตรเขตที่ 5 กรมวิชาการเกษตร โดยได้รับการรับรอง จำนวน 12 ชนิดพืช ขณะเดียวกันก็ได้เตรียมความพร้ อมเพื่อพัฒนาการผลิตให้เข้าสู่ มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โดยเริ่มศึกษาหาความรู้ด้ านการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักสูตรต่าง ๆ ทดลอง พัฒนาปรับสูตรให้เหมาะสมกั บการผลิตของตนเอง พร้อมทั้งศึกษาแนวทางการผลิตพื ชในรูปแบบเกษตรอินทรีย์ จนมั่นใจในแนวทางปฏิบัติ ในปี 2560 จึงได้ปรับเปลี่ ยนมาทำการเกษตรในรูปแบบเกษตรอิ นทรีย์ โดยได้ยื่นขอการรั บรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ กรมวิชาการเกษตร พื้นที่ 0.75 ไร่ จำนวน 18 ชนิดพืช ได้การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรี ย์ (Organic Thailand) ในปี 2562 โดยจ่าเหน่งนับว่าเป็ นเกษตรกรรายแรกของจังหวัดสิงห์ บุรีที่ประสบความสำเร็จในการผลิ ตพืชให้ได้รับรองมาตรฐานเกษตรอิ นทรีย์ จากกรมวิชาการเกษตร
นอกจากนี้ จ่าเหน่งเป็นเกษตรกรที่สร้ างองค์ความรู้ และนวัตกรรมเป็นต้นแบบ โดยออกแบบชั้นปลูกด้วยตนเอง ทำด้วยเหล็ก ขนาด กว้าง 1.20 เมตร ยาว 3 เมตร กรุชั้นปลูกด้วยมุ้งตาข่ายกั นแมลง ใช้แผ่นกระเบื้องรองเป็นฐาน ความลึกของกระบะ 20 เซ็นติเมตร คลุมหลังคาชั้นปลูกด้วยพลาสติก ด้านข้างมีสแลนเพื่อช่ วยพรางแสงให้กับต้นพืช และแก้ปัญหาการเข้ าทำลายของมดในช่วงเพาะเมล็ ดโดยใช้วิธีเพาะเมล็ดในตะกร้าก่ อนย้ายลงถาดหลุมเพาะกล้า รวมทั้งใช้เทคโนโลยีของกรมวิ ชาการเกษตร เช่น ไส้เดือนฝอย แมลงหางหนีบ BS มาใช้ในการบริหารจัดการศัตรูพืช เน้นวิธีการสำรวจแปลงเป็นหลั กโดยสำรวจทุกวัน เพื่อสามารถควบคุมป้องกันกำจั ดศัตรูพืชได้ทันที มิให้เกิดความเสียหายรุนแรง
ด้านการตลาดจ่าเหน่งใช้หลั กการตลาดนำการผลิต โดยศึกษาความต้องการของตลาด นำมาวางแผนการผลิตผักและจำหน่ ายผักตามชนิดที่ผู้บริโภคต้ องการสูง และปลูกหมุนเวียนตามฤดูกาลเพื่ อให้ผลผลิตมีคุณภาพ การปลูกเป็นแบบแปลง ยกแคร่ทั้งหมด ปัจจุบันขยายเต็มพื้นที่ มีจำนวน 60 แปลง มีการวางแผนการปลูกเป็นรอบ โดยปลูกพืชผักหมุนเวียน รอบละ 10 แปลง เพื่อให้สามารถบริหารจัดการได้ ตามกำลังของตนเอง และให้มีรายได้หมุนเวียนอย่างต่ อเนื่อง พร้อมทั้งยังหาช่องทางจำหน่ ายสินค้าให้หลากหลาย ถึงมือผู้บริโภคโดยตรง เช่น การวางจำหน่ายหน้าร้าน และการเปิดสวนเป็นแหล่งท่องเที่ ยวผู้บริโภคสามารถตัดผักด้ วยตนเอง ในปี 2563 จ่าเหน่งมีรายได้รวมจำนวนทั้งสิ้ น 208,735 บาท
“สวนผัก จ่าเหน่ง มีการจัดการคุณภาพพื ชในระบบเกษตรอินทรีย์อย่างต่ อเนื่อง เน้นการพึ่งพาตนเองมากที่สุ ดเพื่อให้เกิดความยั่งยืน โดยใช้แรงงานภายในครอบครัวเป็ นหลัก ตั้งแต่การจัดเตรียมวัสดุเพาะ การจัดเตรียมวัสดุปลูก การผลิตปุ๋ยหมัก น้ำหมักต่างๆ ซึ่งจะทำไว้ใช้เองภายในสวน มีการค้นคว้า ทดลอง พัฒนาสูตรต่างๆ ที่เหมาะสมเพื่อนำมาใช้ ในแปลงผลิตพืชของตนเองอย่างต่ อเนื่อง ปลูกพืชตามความต้ องการของตลาดหรือผู้บริโภค ทำให้ไม่มีปัญหาด้านการผลิ ตและการจำหน่าย ผลผลิตเป็นที่เชื่อมั่นของผู้ บริโภคและเป็นที่ต้องการของตลาด รวมทั้งยังเปิดร้าน “จ่าเหน่งเกษตรอินทรีย์” จำหน่ายผลผลิตในสวน และยังนำผลผลิตแปรรูปเป็ นอาหารเมนูต่าง ๆ เช่น สเต็ก สลัด สลัดโรล ฯ เป็นการพัฒนาต่ อยอดการทำการเกษตรในระบบเกษตรอิ นทรีย์ให้เกิดความยั่งยืน” อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกล่าว