เช็กได้เลย!! คุณสมบัติพิเศษ จุดเด่นของ 10 สายพันธุ์ข้าวใหม่ที่กรมการข้าวรับรอง เนื่องในโอกาสในหลวง ร. 10 พระชนมพรรษา 72 พรรษา

  •  
  •  
  •  
  •  

เนื่องในโอกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 พระชนมพรรษา 72 พรรษา กรมการข้าวน้อมสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณ เพื่อสร้างขวัญและกําลังใจแก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว กรมการข้าวเตรียมการจะรับรองพันธุ์ข้าวในปี 2567 ช่วงเดือน เมษายน จํานวน 10 พันธุ์ ประกอบไปด้วย ข้าวขาวพื้นแข็ง ข้าวหอมไทย ข้าวเหนียว ข้าวญี่ปุ่นและข้าวสาลี นี้มีความสําคัญต่อชาวนา รวมถึงประชาชนที่อยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย เกษตรกรผู้ปลูกข้าวจะมีข้าวพันธุ์ใหม่ คุณภาพดี ตรงความต้องการของผู้บริโภคและผู้ประกอบการ ในแต่ละชนิดและประเภทข้าว ซึ่งเป็นทางเลือกให้เกษตรกรในการเลือกใช้พันธุ์ข้าวสําหรับปลูกแต่ละนิเวศน์ของการปลูกข้าวในประเทศไทย สำหรับพันธุ์ข้าวยื่นขอรับรองพันธุ์ปี 2567 จํานวน 10 พันธุ์ ดังนี้

1.ข้าวหอมไทย กข99 (หอมคลองหลวง 72) โดย ศูนย์วิจัยข้าวหลองหลวง นางสาวประกอบกิจ ดังไธสง นักวิชาการเกษตรชํานาญการพิเศษ ซึ่งประวัติพันธุ์ ข้าวกข99 ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ IR841 (พันธุ์แม่) กับพันธุ์ชัยนาท 1 (พันธุ์พ่อ) ที่สถานีทดลองข้าวบางเขน (ศูนย์วิจัยข้าวฉะเชิงเทราในปัจจุบัน) ตั้งแต่ปี 2555 ถึง 2565 ปลูกคัดเลือกแบบสืบตระกูลที่ศูนย์วิจัยข้าวคลองหลวง จนได้สายพันธุ์ที่คงตัวทางพันธุกรรม

ลักษณะประจําพันธุ์ คือ ข้าวเจ้าหอมไม่ไวต่อช่วงแสง  อายุเก็บเกี่ยว 115 วัน  ความสูงประมาณ 113เซนติเมตร  มีกลิ่นหอมอ่อน (2AP = 1.69 ppm) มีลักษณะเด่น เป็นข้าวเจ้าหอมพื้นนุ่ม ไม่ไวต่อช่วงแสง ศักยภาพการให้ผลผลิต 957 กิโลกรัมต่อไร่  อายุเก็บเกี่ยวสั้นกว่าปทุมธานี 1 คุณภาพการสีดีมาก สามารถผลิตเป็นข้าวสาร 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 1 ได้  ข้าวสุกมีกลิ่นหอม เนื้อสัมผัสค่อนข้างเหนียวและนุ่ม สามารถแนะนําเป็นทางเลือกสําหรับเกษตรกรใช้ปลูก ในพื้นที่นาชลประทานภาคกลาง ภาคเหนือตอนล่าง และภาคเหนือตอนบนที่เป็นพื้นที่ส่งเสริมให้ปลูกข้าวหอมไทย ข้อควรระวัง หรือ ข้อจํากัด ค่อนข้างอ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ําตาล อ่อนแอต่อโรคไหม้และโรคขอบใบแห้ง

2.ข้าวหอมไทย กข103 (หอมชัยนาท 72) โดย ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท นายอนรรฆพล บุญช่วย นักวิชาการเกษตรชํานาญการพิเศษ ประวัติพันธุ์ กข103ได้จากการผสมสามทางระหว่าง สายพันธุ์ KLG88028-22-1-2-2กับ ลูกผสมชั่วที่ 1 ของสายพันธุ์SPR88096-17-3-2-2 และพันธุ์ IR60 ในปี 2540 โดยปลูกและคัดเลือกลูกผสมชั่วที่ 1 และ 2 ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ต่อมาในปี 2543-2547 ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท ได้นําลูกผสมชั่วที่ 3 มาปลูก และคัดเลือกแบบสืบประวัติ (pedigree) ตั้งแต่ชั่วที่ 3-6 จนได้สายพันธุ์ที่คงตัวทางพันธุกรรม

ลักษณะประจําพันธุ์ เป็นข้าวเจ้าหอมไวต่อช่วงแสง อายุเบา ออกดอกประมาณวันที่ 15 ตุลาคม ความสูง 139 เซนติเมตร ลําต้นค่อนข้างแข็ง ใบสีเขียว ทรงกอตั้ง ข้าวเปลือกสีฟาง ข้าวกล้องสีขาว รูปร่างเรียว อมิโลสต่ํา (17.3 เปอร์เซ็นต์) ข้าวสวยมีสีขาวนวล นุ่ม เหนียว และมีกลิ่นหอม ผลผลิตเฉลี่ย 596 กิโลกรัมต่อไร่

ลักษณะเด่น ศักยภาพการให้ผลผลิต 875 กิโลกรัมต่อไร่ อายุเบา ใกล้เคียงกับพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง ค่อนข้างต้านทานต่อโรคไหม้ และโรคขอบใบแห้งในเขตภาคกลาง ปริมาณอมิโลสต่ํา คุณภาพการหุงต้มและรับประทานดี เมื่อหุงสุกได้ข้าวสวยนุ่ม เหนียวและมีกลิ่นหอม เมล็ดเรียวยาว สามารถผลิตเป็นข้าวสาร 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 1 ได้  เหมาะสําหรับปลูกในพื้นที่นาอาศัยน้ําฝนในเขตภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง ทั้งในพื้นที่ลุ่มและที่ดอน แต่ข้อควรระวังค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคไหม้และอ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้งในเขตภาคเหนือตอนล่าง โดยเฉพาะจังหวัดพิษณุโลก รวมถึงค่อนข้างอ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ําตาลและเพลี้ยกระโดดหลังขาว

3.ข้าวขาวพื้นแข็ง กข105 (เจ้าพระยา 72)โดย ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก นางสาวชวนชม ดีรัศมี ผู้อํานวยการศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ซึ่งประวัติพันธุ์ กข105 ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่าง PSL09082-CNT-140-2-3-1-1-2-1 ซึ่งให้ผลผลิตสูงเป็นพันธุ์แม่ กับ PSL14190-MAS(6)-CNT-15-5 ซึ่งต้านทานโรคขอบใบแห้งเป็นพันธุ์พ่อ ตั้งแต่ปี 2559 ถึง 2566 ปลูกคัดเลือกแบบสืบตระกูลที่ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท จนได้สายพันธุ์ข้าวที่คงตัวทางพันธุกรรม

ลักษณะประจําพันธุ์ ข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง  อายุเก็บเกี่ยว 100-110 วัน (หว่านน้ําตม) และ 110-116 วัน (ปักดํา) ต้นสูงประมาณ 112-122 เซนติเมตร มีลักษณะเด่น ศักยภาพให้ผลผลิต 1,176 กิโลกรัมต่อไร่ ค่อนข้างต้านทานโรคขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดสีน้ําตาล คุณภาพเมล็ดทางกายภาพดีเป็นข้าวเจ้าเมล็ดยาวเรียว ท้องไข่น้อย คุณภาพการสีดีมาก สามารถผลิตข้าวสาร 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 1 ได้ พื้นที่แนะนําปลูก คือพื้นที่นาชลประทานภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง และข้อควรระวัง หรือ ข้อจํากัด ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคไหม้

4.ข้าวขาวพื้นแข็ง กข107 (พิษณุโลก 72) โดย ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก นางสาวเบญจวรรณ พลโคต นักวิชาการเกษตรชํานาญการพิเศษ มีประวัติพันธุ์ กข107 ได้จากการผสมพันธุ์เดี่ยวระหว่าง PSL15082-MAS-12-362 ซึ่งเป็นข้าวที่มียีนต้านทานโรคขอบใบแห้ง (xa5) และ PSL15456-MAS-1 เป็นข้าวที่มียีนต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ําตาล (Bph3) ยีนความหอม (badh2) และยีนทนน้ําท่วมฉับพลัน (Sub1) ปลูกคัดเลือกแบบสืบตระกูลที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ปี 2559-2562 จนได้สายพันธุ์ข้าวที่คงตัวทางพันธุกรรม

ลักษณะประจําพันธุ์ ข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว 107 วัน (ฤดูนาป) และ 108 วัน (ฤดูนาปรัง) เมื่อปลูกโดยวิธีปกดํา ความสูงประมาณ 102 เซนติเมตร ตานทานเพลี้ยกระโดดสีน้ําตาล  ทนน้ําทวมฉับพลันปานกลาง

ลักษณะเด่น  ศักยภาพให้ผลผลิต 1,070 กิโลกรัมต่อไร่  อายุเก็บเกี่ยวสั้นกว่า กข41 เป็นข้าวเจ้าพื้นแข็งหอม ให้สาร 2AP เท่ากับ 0.61 ppm คุณภาพเมล็ดทางกายภาพดี ท้องไข่น้อย คุณภาพการสีดี สามารถสีเป็นข้าวสาร 100 เปอร์เซ็นต์ชั้น 1 ได้ ทนน้ําทวมฉับพลันปานกลาง พื้นที่แนะนํา พื้นที่นาชลประทานในเขตภาคเหนือตอนลางและภาคกลาง แต่ข้อควรระวัง หรือ ข้อจํากัด อ่อนแอต่อโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดหลังขาว

5.ข้าวหอมไทย 5. กข109 (หอมพัทลุง 72) โดย ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง นายกันต์ธณวิชญ์ ใจสงฆ์นักวิชาการเกษตรชํานาญการ

ประวัติพันธุ์กข109 ได้จากการผสม ระหว่าง KKN1041-23-2-1-2/UBN03005-6-3-26-10-49-10 ที่ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง พ.ศ. 2557 ต่อมาได้คัดเลือกข้าวพันธุ์ผสม ตั้งแต่ชั่วที่ 2 ถึง 6 จนได้สายพันธุ์ที่คงตัวทางพันธุกรรม

ลักษณะประจําพันธุ์ ข้าวเจ้าหอมไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยว (102 วัน, วิธีหว่านน้ําตม และ 112 วัน, วิธีปักดํา) ลําต้นแข็งมาก ใบสีเขียว ทรงกอตั้ง ใบธงตั้งตรง ปริมาณอมิโลส 15.06 เปอร์เซ็นต์ ข้าวสวยมีสีขาว นุ่ม เหนียว และมีกลิ่นหอม มีลักษณะเด่น ศักยภาพการให้ผลผลิตสูงสุด 1,086 กิโลกรัมต่อไร่ อายุเก็บเกี่ยว สั้นกว่า ข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1  ปริมาณอมิโลส 15.06 เปอร์เซ็นต์ คุณภาพการหุงต้มและรับประทานดี เมื่อหุงสุกแล้วข้าวสวยนุ่มเหนียว และมีกลิ่นหอม คุณภาพการขัดสีดีมาก ได้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าว 51.8 เปอร์เซ็นต์และเป็นท้องไข่น้อย

พื้นที่แนะนําปลูกพื้นที่นาชลประทานภาคใต้ แต่ข้อควรระวัง หรือ ข้อจํากัดอ่อนแอต่อโรคไหม้ ขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดสีน้ําตาล ควรหลีกเลี่ยงการปลูกพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไหม้ ขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดสีน้ําตาลเป็นประจํา

6. ข้าวเหนียว กข24 (สกลนคร 72) โดย ศูนย์วิจัยข้าวสกลนคร นายสมใจ สาลีโท ผู้อํานวยการศูนย์วิจัยข้าวสกลนคร ประวัติพันธุ์กข24เป็นผลงานวิจัยร่วมกันระหว่างกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างข้าวเหนียวสายพันธุ์RGDU07585-7-MAS35-4 ซึ่งลําต้นเตี้ยเป็นพันธุ์แม่ กับข้าวเหนียวสายพันธุ์ RGDU07123-12-22-5 ซึ่งลําต้นสูง ที่หน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว (Rice Gene Discovery Unit; RGDU) ปลูกคัดลือกแบบสืบตระกูลที่หน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว และศูนย์วิจัยข้าวหนองคายศูนย์วิจัยข้าวหนองคาย จนได้สายพันธุ์ที่คงตัวทางพันธุกรรม

ลักษณะประจําพันธุ์ เป็นข้าวเหนียวไวต่อช่วงแสง ปลูกได้เฉพาะฤดูนาปี ออกดอก 50 เปอร์เซ็นต์ ประมาณวันที่ 21 ตุลาคม เก็บเกี่ยวประมาณวันที่ 23 พฤศจิกายน ผลผลิตเฉลี่ย 663 กิโลกรัมต่อไร่ ศักยภาพการให้ผลผลิตสูงสุด 1,002 กิโลกรัมต่อไร่ ทรงกอตั้ง ความสูงประมาณ 96 เซนติเมตร ลําต้นแข็งมาก เมล็ดยาว รูปร่างเรียว คุณภาพการสีดี เมื่อนึ่งสุกเนื้อสัมผัสนุ่ม

ลักษณะเด่น ศักยภาพการให้ผลผลิต 1,002 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นข้าวเหนียวไวต่อช่วงแสงที่มีลําต้นเตี้ย ต้านทานการหักล้มดีกว่าพันธุ์ กข6 และ กข18 ต้านทานต่อโรคไหม้ในระยะกล้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  พื้นที่แนะนําปลูกแนะนําให้ปลูกในพื้นที่นาน้ําฝนภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีการระบาดของโรคไหม้ ข้อควรระวังคืออ่อนแอต่อโรคไหม้คอรวง ขอบใบแห้ง แมลงบั่ว และเพลี้ยกระโดดสีน้ําตาล เช่นเดียวกับพันธุ์ กข6 และ กข18

7. ข้าวเหนียว กข26 (เชียงราย 72) โดย ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย นายพายัพภูเบศวร์ มากกูล นักวิชาการเกษตรชํานาญการพิเศษประวัติพันธุ์ กข26 ได้จากการผสมระหว่างข้าวเหนียวสายพันธุ์ PRE98002-PAN-B-12-1-1 เป็นพันธุ์แม่กับข้าว เหนียวพันธุ์สันป่าตอง 1 ซึ่งให้ผลผลิตสูง มีความต้านทานต่อโรคไหม้ คุณภาพการหุงต้มและรับประทานดีเป็นพันธุ์พ่อ ปลูกคัดเลือกแบบสืบตระกูลที่ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย ปี 2561-2566จนได้สายพันธุ์ข้าวที่คงตัวทางพันธุกรรม

ลักษณะประจําพันธุ์ ข้าวเหนียวไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 130 วัน ศักยภาพการให้ผลผลิต 1,152 กิโลกรัมต่อไร่ ความสูงประมาณ 111 เซนติเมตร ลําต้นแข็ง มีลักษณะเด่น  ศักยภาพการให้ผลผลิต 1,152 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์สันป่าตอง อายุเก็บเกี่ยวสั้นกว่าพันธุ์สันป่าตอง 1 และ กข14 ประมาณ 5-6 วัน ต้านทานต่อโรคไหม้ระยะกล้าในภาคเหนือตอนบน พื้นที่แนะนําพื้นที่นาชลประทานภาคเหนือตอนบน มีข้อควรระวัง หรือข้อจํากัดคืออ่อนแอต่อโรคไหม้คอรวง ขอบใบแห้ง แมลงบั่ว เพลี้ยกระโดดสีน้ําตาลและเพลี้ยกระโดดหลังขาวเช่นเดียวกับพันธุ์สันป่าตอง 1 และกข14

8. ข้าวญี่ปุ่น กขจ1 (วังทอง 72)โดย ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก นางสาวเบญจวรรณ พลโคต นักวิชาการเกษตรชํานาญการพิเศษ ประวัติพันธุ์ของข้าว กขจ1 ได้จากการผสมเดี่ยวระหว่างสายพันธุ์ข้าว PSL95037-25-1-2-PAN-1 กับพันธุ์ Shubu ฤดูนาปี2555 ที่ศูนย์วิจัยเชียงราย ฤดูนาปี 2556-ฤดูนาปี 2557 ปลูกคัดลือกแบบสืบตระกูลที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก จนได้สายพันที่คงตัวทางพันธุกรรม

ลักษณะประจําพันธุ์ เป็นข้าวเจ้าจาปอนิกาไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยว 98-113 วัน (ฤดูนาปี) และ 105-123 วัน (ฤดูนาปรัง) เมื่อปลูกโดยวิธีปักดํา ลักษณะทรงกอตั้ง สูงประมาณ 93 เซนติเมตร ลําต้นค่อนข้างแข็ง ใบสีเขียวเข้ม  เมล็ดร่วงยาก ข้าวเปลือกสีฟาง มีหาง ปริมาณอมิโลสต่ํา (17.31 เปอร์เซ็นต์) ข้าวเมื่อหุงสุก มีลักษณะนุ่มเหนียว สีขาวนวล เลื่อมมันเล็กน้อย

ลักษณะเด่น มีศักยภาพการให้ผลผลิต 953 กิโลกรัมต่อไร่ ต้านทานต่อโรคไหม้ได้ดีกว่าพันธุ์ พันธุ์ ก.วก.1 และ ก.วก.2  คุณภาพเมล็ดทางกายภาพดี ท้องไข่น้อยกว่าพันธุ์ ก.วก.1 และ ก.วก.2 คุณภาพการสีดีมาก คุณภาพการหุงต้มและรับประทานดี เนื้อสัมผัสข้าวสุกนุ่มกว่าพันธุ์ ก.วก.1 และ ก.วก.2 สำหรับพื้นที่แนะนําปลูกพื้นที่นาชลประทานในเขตภาคเหนือตอนบน และภาคเหนือตอนล่าง มีข้อควรระวังคืออ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ําตาล และเพลี้ยกระโดดหลังขาว

9.ข้าวสาลี กขส1 (สะเมิง 72) โดย ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง นายสิปปวิชญ์ ปัญญาตุ้ย นักวิชาการเกษตรชํานาญการ ประวัติพันธุ์ กขส1 เป็นสายพันธุ์ข้าวสาลีที่ได้มีการนําเข้าแหล่งพันธุกรรมจากศูนย์วิจัยการปรับปรุงข้าวโพดและข้าวสาลีนานาชาติ (CIMMYT) ประเทศเม็กซิโก ในปี 2531 ร่วมกับสายพันธุ์อื่นจํานวนหลายสายพันธุ์จากนั้นระหว่างปี 2532-2559 ได้ปลูกศึกษาพันธุ์ คัดเลือกพันธุ์ ขยายพันธุ์และอนุรักษ์เชื้อพันธุ์ไว้ใน พื้นที่ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง จนกระทั่งปี 2560 จึงได้เริ่มกิจกรรมศึกษาพันธุ์ข้าวสาลีอีกครั้งตามขั้นตอนของกระบวนการปรับปรุงพันธุ์ และคัดเลือกได้สายพันธ์ที่คงตัว

ลักษณะประจําพันธุ์ เป็นข้าวสาลีขนมปัง อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 89 วัน เมื่อปลูกโดยวิธีโรยเป็นแถว ลักษณะทรงกอตั้ง ต้นสูงประมาณ 90 เซนติเมตร ใบสีเขียว เมล็ดสีขาว เมล็ดมีรูปร่างวงรี เมล็ดยาว  ผลผลิตเฉลี่ย 441 กิโลกรัมต่อไร่ มีลักษณะเด่น ศักยภาพให้ผลผลิตสูงถึง 569 กิโลกรัมต่อไร่ คุณภาพของโปรตีนเหมาะสมสําหรับทําแป้งขนมปัง โปรตีนสูงมีค่าเท่ากับ 12.5 เปอร์เซ็นต์ ค่าการตกตะกอน มีค่า 33.5 มิลลิลิตร กลูเตนเปียก มีค่า 40.8 เปอร์เซ็นต์ และกลูเตนแห้งมีค่า 15.4 เปอร์เซ็นต์  คุณภาพของแป้งเหมาะสมสําหรับทําขนมปัง มีค่าความหนืดสูงสุด (Peak Viscosity) เท่ากับ 248 RVU ค่าความหนืดสุดท้าย (Final Viscosity) เท่ากับ 235 RVU และค่าเซตแบค (Setback) 89 RVU ส่วนพื้นที่แนะนําปลูกคือภาคเหนือตอนบน มีข้อควรระวัง การปลูกล่าช้าอาจทําให้เกิดโรคใบจุดสีน้ําตาล

10. ข้าวไร่หอมหัวบอน 35 (กระบี่ 72) โดย ศูนย์วิจัยข้าวกระบี่ นางสาวอริณย์ทพัช สงไกรรัตน์นักวิชาการเกษตรชํานาญการพิเศษประวัติพันธุ์ของข้าวเจ้าหอมหัวบอน 35 ศูนย์วิจัยข้าวกระบี่ได้จากการเก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวหอมหัวบอนจาก อําเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ในปี 2559 นํามาปลูกศึกษาวิจัยและพัฒนาพันธุ์เพื่ออนุรักษ์พันธุ์ข้าว พื้นเมืองในจังหวัดกระบี่ โดยการปลูกคัดเลือกพันธุ์บริสุทธิ์ (pure-line selection) ในฤดูนาปี 2560 จนได้สายพันธุ์ที่ดี

ลักษณะประจําพันธุ์ ข้าวไวต่อช่วงแสง  อายุวันออกดอก ระหว่าง 21 กันยายน-17 ตุลาคม ความสูงประมาณ 147 เซนติเมตร ปริมาณอมิโลสปานกลาง (21.58%) มีลักษณะเด่น เยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง ข้าวหุงสุกมีกลิ่นหอมเหมือนเผือก มีคุณภาพการหุงต้มและรับประทานดีมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย คือ Gamma Oryzanol และ Total antioxidant ค่อนข้างสูง  ค่อนข้างต้านทานโรคไหม้ในระยะกล้า พื้นที่แนะนําปลูกในสภาพไร่แซมยางพาราและปาล์มน้ํามัน ที่ปลูกใหม่ อายุ 1-3 ปี ในภาคใต้ สิ่งที่ข้อระวังและข้อจํากัด อ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้งและเพลี้ยกระโดดสีน้ําตาล