กรมวิชาการเกษตร ประกาศแผนคุมคุณภาพทุเรียนส่ งออกไปจีนตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่ในสวน โรงคัดบรรจุ การส่งออก การขนส่ง การตลาด การแปรรูป และการเสริมสภาพคล่องทางการเงิ นให้กับเกษตรกรรวมถึงผู้ประกอบการ พร้อมจัดชุดปฏิบัติการกว่า 180 คน อำนวยความสะดวกจนสิ้นสุดฤดู กาลส่งออก
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ได้เชิญผู้แทนกรมส่งเสริ มการเกษตร สำนักงานมาตรฐานสินค้ าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) สมาคมผู้ค้าและส่งออกผลไม้ไทย สมาคมผู้ประกอบการพืชผักผลไม้ ไทย สมาพันธ์ชาวสวนทุเรี ยนไทยภาคตะวันออก สมาคมการค้าธุรกิจเกษตรไทย-จีน สมาคมทุเรียนไทย รองประธานคณะกรรมการเพิ่มมูลค่ าพืชเกษตร และผู้ส่งออก ประชุมหารือเตรียมความพร้ อมการส่งออกทุเรียนไปจี นของภาคตะวันออกฤดูกาลส่งออกปี พ.ศ. 2567 ภายใต้นโยบายของ ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่ าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ต้องการเพิ่มรายได้เกษตรกร 3 เท่าภายใน 4 ปี โดยทุเรียนเป็นหนึ่งในพื ชเศรษฐกิจสำคัญที่จะขับเคลื่ อนนโยบายดังกล่าวได้
ระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์
การประชุมในครั้งนี้เพื่อสร้ างแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ควบคุมคุณภาพทุเรียนส่งออกไปจี นตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ตั้งแต่การกำหนดนโยบาย สวน โรงคัดบรรจุ การส่งออก การขนส่ง การตลาด การแปรรูป และการเสริมสภาพคล่องทางการเงิ นให้กับเกษตรกร และผู้ประกอบการ ที่มีการบูรณาการของทุกภาคส่ วนทั้งภาครัฐและภาคเอกชน มีแผนปฏิบัติการที่ชัดเจนในแต่ ละขั้นตอนเชื่อมโยงกัน ภายใต้ “จันทบุรีโมเดล” พร้อมขยายผลไปทุกภูมิภาคที่ผลิ ตทุเรียนส่งออกทั่วประเทศ ทำให้มั่นใจได้ว่าการส่งออกทุ เรียนไทยไปจีนในปี พ.ศ. 2567 จะยังคงสดใส ถึงแม้ว่าจะต้องเผชิญกับการแข่ งขันจากประเทศคู่แข่งในตลาดจี นก็ตาม
นายระพีภัทร์ กล่าวอีกว่า แผนปฏิบัติการนี้จะมีประโยชน์ อย่างมากต่อการกำหนดทิ ศทางในการทำงาน การควบคุมคุณภาพทุเรียนส่ งออกไปจีนตลอดทั้ง Supply chain กรมวิชาการเกษตร ซึ่งเป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลทั้ งการขึ้นทะเบียนสวน GAP การขึ้นทะเบียน โรงคัดบรรจุ GMP-DOA การตรวจวิเคราะห์น้ำหนักเนื้ อแห้งของทุเรียนตาม มกษ.3-2557 การตรวจสอบศัตรูพืชและการปฏิบั ติตามพิธีสารไทย-จีน ณ โรงคัดบรรจุ การออกใบรับรองสุขอนามัยพืช (PC) โดยด่านตรวจพืช รวมถึงประสานแก้ไขปัญหาในการส่ งออกต่างๆ
โดยในฤดูกาลส่งออกทุเรี ยนภาคตะวันออกปี 2567 นี้ กรมวิชาการเกษตรได้เตรี ยมความพร้อมเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบั ติการพิเศษ สวพ.6 และศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรีกว่ า 180 คน สลับเปลี่ยนหมุนเวียนทำหน้าที่ ตั้งแต่เดือนมีนาคมจนสิ้นสุดฤดู กาลส่งออก และได้ให้ด่านตรวจพืชเพิ่มผู้จั ดการเขตพื้นที่ทุเรียนจากเดิม 6 คน เป็น 9 คน เพื่อให้ครอบคลุมไปยังพื้นที่ ผลิตทุเรียนในจังหวัดอุตรดิตถ์ ศรีสะเกษ กาญจนบุรี และยะลา และเพิ่มกำลังนายตรวจพืชจากเดิม 44 คน เป็น 60 คน พร้อมให้บริการ อำนวยความสะดวกในการส่งออกแก่ผู้ ประกอบการ
ขณะนี้สำนักงานศุลกากรของจีน (GACC) ขึ้นทะเบียนสวนทุเรียน GAP จำนวน 76,948 สวน (ข้อมูล ณ วันที่ 9 ก.พ.67) ในจำนวนนี้อยู่ในภาคตะวันออก จำนวน 30,809 สวน และโรงคัดบรรจุ GMP-DOA จำนวน 1,926 แห่ง อยู่ในภาคตะวันออกจำนวน 875 แห่ง เฉพาะในจังหวัดจันทบุรี จำนวน 801 แห่ง จึงมั่นใจได้ว่าจำนวนใบรับรอง GAP ทุเรียนมีอย่างเพียงพอแน่นอน และกรมวิชาการเกษตรจะดำเนิ นการอย่างเด็ดขาดหากพบการสวมสิ ทธิ์ใบรับรอง GAP หรือการให้เช่าโรงคัดบรรจุพร้ อมกับใบรับรอง GMP-DOA” สำหรับสถิติการส่งออกทุเรียนส่ งออกไปจีนในปี 2566 ที่ผ่านมา ไทยส่งออกทุเรียนไปจีนทั้งหมด 57,000 ตู้/ชิปเม้นท์ ปริมาณสูงถึง 945,900 ตัน มูลค่า 120,469.34 ล้านบาท โดยส่งออกทางรถยนต์มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 63.90 รองลงมาคือทางเรือ ร้อยละ 31.72 ทางอากาศ ร้อยละ 3.21 และทางรถไฟ ร้อยละ 1.17 ส่งออกจากประเทศไทยจากด่ านนครพนมมากที่สุด รองลงมา คือ ด่านเชียงของ และด่านท่าเรือแหลมฉบัง
“ในการประชุมครั้งนี้ยังได้มี การหารือถึงแผนรองรับเมื่อมี การประกาศใช้มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ.9070-2566 เรื่อง “กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร: หลักปฏิบัติในการตรวจ และรับผลทุเรียนสำหรั บโรงรวบรวมและโรงคัดบรรจุ” โดย มกอช. และ สวพ.6 มีแผนที่จะจัดประชุมทำความเข้ าใจกับผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุ ปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้ ขณะที่กรมวิชาการเกษตรและกรมส่ งเสริมการเกษตรยังเห็นชอบร่วมกั นที่จะให้เชื่อมโยงข้อมูลทะเบี ยนเกษตรกรกับฐานข้อมูล GAP เพื่อเพิ่มประสิทธิ ภาพในการตรวจสอบย้อนกลับ รวมทั้งจัดตั้งกองทุนทุเรียนเพื่ อนำรายได้จากการส่งออกมาสนับสนุ นการควบคุมคุณภาพทุเรียนทั้ งระบบ” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว