ยกระดับฟาร์มตัวอย่างอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯที่บ้านธารโต ยะลาด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่หวังเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช-สร้างรายได้ให้ชุมชน

  •  
  •  
  •  
  •  

กรมวิชาการเกษตร เดินหน้าพัฒนาและส่งเสริมอาชีพเกษตร ภายในโครงการฟาร์มตัวอย่างอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ บ้านธารโต จังหวัดยะลา ด้วยพัฒนาการเกษตรแบบผสมผสาถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร หวังให้การผลิตพืชที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน หวังสร้างรายได้ให้กับชุมชน 

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า กรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินงาน โครงการฟาร์มตัวอย่างอันเนื่องมาจากพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงเพื่อเป็นแหล่งอาหารของชุมชน แหล่งรายได้ ศูนย์การเรียนรู้ และเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในพื้นที่ บริเวณบ้านธารโต หมู่ที่ 1 ตำบลธารโต อำเภอธารโต จังหวัดยะลา ซึ่งมีเนื้อที่ทั้งหมด 128 ไร่ ซึ่งปัญหาในพื้นที่ ตำบลธาร โตอำเภอธารโต จังหวัดยะลานั้นพบว่า เกษตรกรในพื้นที่ไม่มีการเข้าถึงเทคโนโลยีการผลิตพืชที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ส่งผลให้ปริมาณคุณภาพของผลผลิตพืช ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดและประสบปัญหาการเข้าทำลายของโรคและแมลงศัตรูพืช

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรยะลา  กรมวิชาการเกษตร  ได้นำเทคโนโลยีการผลิตพืชการอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี และการจัดทำแปลงเรียนรู้การถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตรเทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยหมัก-ปุ๋ยชีวภาพในการผลิตพืชเช่น ปุ๋ยหมักเติมอากาศ ที่ช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินและเพิ่มธาตุอาหารกับพืชปุ๋ยชีวภาพอาร์บัสคูล่า ไมคอร์ไรซา ช่วยการดูดธาตุอาหารของรากพืช เพิ่มประสิทธิภาพการส่งธาตุอาหารไปให้กับพืชป้องกันการเกิดโรคทางรากปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟต เป็นจุลินทรีย์ที่สามารถทำหน้าที่ละลายฟอสเฟตในดินได้ดี และยังสามารถป้องกันโรคพืช ทำให้พืชแข็งแรง และแหนแดงที่สามารถเพิ่มธาตุไนโตเจนในดินแทนการใช้ปุ๋ยเคมี

รวมถึงเทคโนโลยีการสารชีวภัณฑ์ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช Bt1-DOA (Bacillus thuringiensis : Bt) สารชีวภัณฑ์กำจัดแมลง ควบคุมหนอนใยผักBs-DOA 24 (Bacillus Subtilis : Bs) ควบคุมโรคเหี่ยวจากเชื้อแบคทีเรีย ไส้เดือนฝอยกำจัดแมลงสายพันธุ์ไทยสารชีวภัณฑ์กำจัดแมลง ควบคุมหนอนใยผัก และด้วงหมัดผัก

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร  กล่าวอีกว่า  การพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพผลิตพืช ในโครงการฟาร์มตัวอย่างอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลธารโต อำเภอธารโต จังหวัดยะลา ตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตรนี้ ทำให้ผลผลิตของโครงการฟาร์มตัวอย่างฯ ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP พืชแล้วหลายชนิด ได้แก่ เห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม ไผ่หวาน ผักกวางตุ้งฮ่องเต้ ผักกวางตุ้งดอก กรีนโอ๊ค ผักกาดขาว ผักกาดหอม ถั่วฝักยาว ถั่วพู แตงกวา ผักกวางตุ้งใบ ผักบุ้ง และดอกแคสมาชิกโครงการฟาร์มตัวอย่างฯ เกษตรกรในพื้นที่ สามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ สามารถสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัวได้อีกด้วยและเป็นอาชีพที่มั่นคงให้แก่เกษตรกรด้วย