กก.บริหารการขับเคลื่อนงานนโยบายสำคัญและการแก้ไขปัญหาภาคเกษตร เคาะแล้ว แผนการบริหารจัดการน้ำฤดูแล้ง และการเตรียมพร้อมรับมือปี 2564/65 เน้นให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่ รวม 32,879 ล้าน ลบ.ม. จัดสรรน้ำในช่วงฤดูแล้ง จนถึงเดือนเมษายน 25645 21,804 ล้าน ใช้ใน 4 กิจกรรม “อุปโภคบริโภค-รักษาระบบนิเวศน์- อุตสาหกรรม -เกษตรฤดูแล้ง” ที่เหลือสำรองน้ำต้นฤดูฝนปีหน้า 11,075 ล้าน ลบ.ม. ขณะที่แผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งกำหนดไว้ทั้งประเทศ 11.65 ล้านไร่ เป็นข้าวนาปรัง 9.02 ล้านไร่ และพืชไร่-พืชผัก 2.63 ล้านไร่
วันที่ 28 ตุลาคม 2564 ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารการขับเคลื่อนงานนโยบายสำคัญและการแก้ไขปัญหาภาคเกษตร ผ่านระบบการประชุมทางไกลออนไลน์ โดยที่ประชุมได้เห็นชอบแผนการบริหารจัดการน้ำฤดูแล้ง และการเตรียมพร้อมรับมือปี 2564/65 ให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน ตามลำดับความสำคัญของกิจกรรมการใช้น้ำ ได้แก่ 1) จัดสรรน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคในช่วงฤดูแล้ง 2) จัดสรรน้ำเพื่อการรักษาระบบนิเวศ ในช่วงฤดูแล้ง 3) สำรองน้ำไว้สำหรับการใช้น้ำในช่วงต้นฤดูฝน เพื่ออุปโภค-บริโภคและรักษาระบบนิเวศ เดือนพฤษภาคม -กรกฎาคม 4) จัดสรรน้ำเพื่อการเกษตรกรรม และ 5) จัดสรรน้ำเพื่อการอุตสาหกรรม โดยที่ประชุมได้เห็นชอบ แผนการจัดสรรน้ำในฤดูแล้งปี 2564/65
สำหรับ แผนการจัดสรรน้ำในฤดูแล้งปี 2564/65 (ทั้งประเทศ) ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 24 ต.ค. 64) มีปริมาณน้ำต้นทุนฤดูแล้งปี 2564/65 รวม 32,879 ล้าน ลบ.ม. แบ่งเป็น จัดสรรน้ำในช่วงฤดูแล้ง ปี 64/65 ช่วงเดือน พ.ย. 64 – เม.ย. 65 จำนวน 21,804 ล้าน ลบ.ม. (คิดเป็นร้อยละ 66 ของปริมาณน้ำต้นทุน) เพื่อใช้ใน 4 กิจกรรม ได้แก่ อุปโภค-บริโภค 2,532 ล้าน ลบ.ม. รักษาระบบนิเวศน์และอื่น ๆ 8,930 ล้าน ลบ.ม. อุตสาหกรรม 518 ล้าน ลบ.ม. และเกษตรฤดูแล้ง 9,824 ล้าน ลบ.ม. และสำรองน้ำต้นฤดูฝนปี 2565 (พ.ค. – ก.ค. 65) จำนวน 11,075 ล้าน ลบ.ม. (คิดเป็นร้อยละ 34 ของปริมาณน้ำต้นทุน)
ส่วนแผนการบริหารจัดการน้ำในฤดูแล้งปี 2564/65 ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ในช่วงวันที่ 1 พ.ย. 64 ถึง 30 เม.ย. 65 มีการคาดการณ์น้ำใช้การได้ 1 พ.ย. 64 (ข้อมูล ณ วันที่ 20 ต.ค. 64) ใน 4 เขื่อนหลัก คือ เขื่อนภูมิพล 3,536 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนสิริกิติ์ 1,709 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนแควน้อยฯ 896 ล้าน ลบ.ม. และเขื่อนป่าสักฯ 957 ล้าน ลบ.ม. กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมชลประทาน วางแผนจัดสรรน้ำฤดูแล้งปี 2564/65 รวม 7,098 ล้าน ลบ.ม. แบ่งเป็น แผนจัดสรรน้ำฤดูแล้งปี 2564/65 (พ.ย. 64 – เม.ย.65) รวม 5,300 ล้าน ลบ.ม. (คิดเป็นร้อยละ 61 ของปริมาณน้ำต้นทุน) และสำรองน้ำต้นฤดูฝนปี 2565 (พ.ค. – ก.ค. 65) รวม 2,798 ล้าน ลบ.ม. (คิดเป็นร้อยละ 39 ของปริมาณน้ำต้นทุน)
ขณะที่แผนการจัดสรรน้ำในฤดูแล้งปี 2564/65 ลุ่มน้ำแม่กลอง มีแผนจัดสรรน้ำ รวม 9,630 ล้าน ลบ.ม. แบ่งเป็น ช่วงเดือน ม.ค. – มิ.ย. 65 รวม 5,500 ล้าน ลบ.ม. (คิดเป็นร้อยละ 57 ของปริมาณน้ำต้นทุน) และแผนจัดสรรน้ำฤดูฝนปี 2565 (ก.ค. – ก.ย. 65) รวม 4,130 ล้าน ลบ.ม. (คิดเป็นร้อยละ 43 ของปริมาณน้ำต้นทุน) พร้อมทั้ง กำหนดมาตรการในการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้งลุ่มน้ำแม่กลองและลุ่มน้ำชี ถึงแม้จากสภาพน้ำต้นทุนที่มีอย่างเพียงพอ แต่ยังคงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และปฏิบัติตามแผนอย่างเคร่งครัดเพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมาตรการในการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้งลุ่มน้ำอื่น ๆ โดยให้วางแผนจัดสรรน้ำสอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน ยกเว้นเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่ และเขื่อนน้ำอูน จังหวัดสกลนคร สนับสนุนน้ำเฉพาะเพื่อการเพาะปลูกพืชไร่ -พืชผัก และอื่น ๆ
ทั้งนี้ คณะทำงานวางแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 2564/65 ได้กำหนดแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 2564/65 ทั้งประเทศ จำนวน 11.65 ล้านไร่ แบ่งเป็น ข้าวรอบที่ 2 จำนวน 9.02 ล้านไร่ และพืชไร่-พืชผัก จำนวน 2.63 ล้านไร่ ดังนี้
เขตพื้นที่ | แผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งปี 2564/65 (ล้านไร่) | ||
ข้าว (รอบที่ 2) |
พืชไร่-พืชผัก |
รวมทั้งหมด |
|
ทั้งประเทศ (77 จังหวัด) |
9.02 |
2.63 |
11.65 |
ลุ่มน้ำเจ้าพระยา (22 จังหวัด) |
4.26 |
0.72 |
4.98 |
ลุ่มน้ำแม่กลอง |
0.86 |
0.24 |
1.10 |
นอกจากนี้ ได้เห็นชอบมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำเพื่อการเกษตรในช่วงฤดูแล้งปี 2564/65 โดยศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ประมวลมาตรการในปีที่ผ่านมา เพื่อเตรียมกำหนดเป็นมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำเพื่อการเกษตรในช่วงฤดูแล้งปี 2564/65 ให้เกษตรกรในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาเตรียมปรับการผลิตให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุนและเพื่อไม่ให้กระทบต่อกิจกรรมการใช้น้ำด้านอื่น ๆ โดยเฉพาะน้ำอุปโภคบริโภคและการผลักดันน้ำเค็ม ดังนี้ 1) โครงการบริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตรตามแผนที่เกษตร เพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri–Map)
2) โครงการส่งเสริมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 3) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลายในฤดูนาปรัง 4) โครงการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำในระดับไร่นา เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ในระบบการให้น้ำแก่พืชที่ถูกต้อง และมีการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ 5) โครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรของชุมชน สำหรับแก้ไขปัญหาที่เกษตรกรประสบในแต่ละช่วงเวลา นำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ ในการดูแลรักษาผลิตผลทางการเกษตร ภายใต้ระบบการผลิตที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม เพื่อให้เกษตรกรพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน 6) รณรงค์ไถกลบตอซังเพื่อป้องกันและบรรเทาปัญหาภัยแล้งด้านการเกษตร
7) สนับสนุนการปลูกพืชใช้น้ำน้อย (พืชปุ๋ยสด) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและปรับปรุงบำรุงดิน โดยการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ปอเทืองให้แก่เกษตรกร เพื่อปรับปรุงและฟื้นฟูคุณภาพดิน 125 ไร่ต่อตัน และ 8) การสร้างรายได้ ทั้งนี้ ได้มอบหมายศูนย์ติดตามฯ จัดประชุมหารือการเสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบกลางปี 2565 ดำเนินการโครงการเสริมสร้างรายได้หรือลดรายจ่ายให้แก่เกษตรกรในช่วงฤดูแล้ง และขอให้หน่วยงานบรรจุเป็นงบปกติตั้งแต่ปีงบประมาณ 2566 เพื่อขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องต่อไป