ฝนถล่มมืดฟ้ามัวดิน  แต่…น้ำต้นทุนในอ่างฯทั่วไทยยังมีน้อย วอนอีกครั้ง…งด!! ทำนาปีต่อเนื่อง

  •  
  •  
  •  
  •  

    แม้ช่วงนี้จะมีฝนตกมืดฟ้ามัวดิน ไปหลายวัน และบางพื้นที่ที่ทำท่าน้ำจะท่วมบ้างแล้วก็ตาม แต่เป็นช่วงช่วงสั้นๆ หากมองตัวเลขของปริมาณน้ำที่ได้กักเก็บตามอ่างเก็บน้ำในเขื่อนต่างๆทั่วประเทศแล้ว ทาง กรมชลประทาน รายงานว่า สถานการณ์น้ำล่าสุด ( 9 ก.ย. 64) อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 41,674 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 54 ของความจุอ่างฯรวมกันแล้วเท่านั้น

    น้ำที่กักเก็บไว้เป็นน้ำต้นจำนวนนี้ เป็นน้ำใช้การได้ 17,628 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนต่างๆยังสามารถรับน้ำได้อีกรวม 34,685  ล้าน ลบ.ม.  โดยเฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา คือเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์  มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 8,965 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 36 ของความจุอ่างฯรวมกัน เป็นน้ำใช้การได้ 2,269 ล้าน ลบ.ม.

    ฉะนั้นจึงมีจำเป็นที่จะต้องปรับลดการระบายน้ำจากพื้นที่ตอนบนให้อยู่ในเกณฑ์น้อยที่สุด เพื่อเก็บกักน้ำไว้สำหรับการอุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศ จึงขอความร่วมมือไปยังเกษตรกรให้งดทำนาต่อเนื่อง เพื่อลดความเสี่ยงผลผลิตเสียหาย กระนั้นก็ตาม ตัวเลขทั้งประเทศพบว่า มีการทำนาปีไปแล้วรวม 14.87 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 88 ของแผนฯ เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา เพาะปลูกไปแล้ว 6.79 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 85 ของแผนฯ ที่วางไว้

    ด้วยเหตุนี้กรมชลประทานจึงขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนให้ใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อให้มีน้ำใช้ได้สำหรับอุปโภคบริโภคได้ตลอดทั้งปีนั่นเอง