ต่อยอด “เกษตรกร Happy” สู่เฟส  2 ช่วยเหลือชาวสวนเงาะ ลองกอง ลำไย

  •  
  •  
  •  
  •  

กระทรวงเกษตรฯ ต่อยอด “เกษตรกร Happy” เป็นเฟส  2 คราวนี้หวังช่วยเกษตรกรชาวสวนลำไย เงาะลองกอง ให้ขายผลผลิตสดๆจากต้น มีคุณภาพดี ส่งตรงจากสวนถึงมือผู้บริโภคในบ้าน หลังประสบผลสำเฟสแก้ปัญหามังคุดภาคใต้ในเฟสแรก

     ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ Live สดผ่าน facebook : คณะอนุกรรมการขับเคลื่อน Ecommerce กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดตัวโครงการ “เกษตรกร Happy” phase 2 เพื่อช่วยเกษตรกรชาวสวนลำไย เงาะ ลองกอง ในการขายผลไม้คุณภาพดีสดจากสวนถึงมือผู้บริโภคโดยตรง

     โครงการดังกล่าวเป็นแผนการดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) ที่ต้องการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนผลไม้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ที่ทวีความรุนแรงและเข้าขั้นวิกฤต ส่งผลกระทบต่อผลผลิตที่ออกมาเป้นอย่างมากทั้งตลาดภายในและการส่งออก ขณะที่ผลไม้อยู่ในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวพร้อมๆกันทั้งมังคุด เงาะ ลำไย และลองกอง

     ดังนั้นโครงการนี้จึงเกิดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาเร่งด่วนโดนมีวัตถุประสงค์คือ 1) รณรงค์ส่งเสริมการบริโภคผลไม้ไทยภายในประเทศ 2) เพิ่มกิจกรรมการค้าทั้งออฟไลน์และออนไลน์เพื่อระบบการค้าที่เป็นธรรมและ 3) ยกระดับราคาเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรภายใต้แนวคิด “คนกินยิ้มได้เกษตรกรไทยแฮปปี้” และ “คนไทยไม่ทิ้งกัน”

      อย่างไรก็ตาม จากการดำเนินโครงการ “เกษตรกร Happy” phase 1 ในการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนมังคุดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้รับกระแสตอบรับเป็นอย่างดีซึ่งได้รับความรวมมือจากทุกภาคส่วนได้เป็นอย่างดี ทำให้ราคาผลผลิตอยู่ในระดับที่น่าพอใจ

      ด้านนายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ประเทศไทยมีผลไม้ที่ได้รับความนิยมอย่างมากทั้งในตลาดโลกและตลาดภูมิภาคเช่นมีพื้นที่เพาะปลูกถึง 7 ล้านไร่สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศจากการส่งออกถึง 1 แสนล้านบาทต่อปีทั้งผลไม้สดผลไม้แช่แข็งและผลไม้แปรรูป

      ในปี 2564 ได้ประมาณการว่าจะมีผลผลิตเพิ่มขึ้น 23% จากปีที่ผ่านมาจาก 4.4 ล้านตันเป็น 5.4 ล้านตันและถึงแม้ว่าเราจะเผชิญกับสถานการณ์การโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2563 กระทรวงเกษตรฯได้บริหารจัดการเชิงรุกโดยได้เร่งพัฒนาการบริหารผลไม้จัดการทั้งระบบตั้งแต่การผลิตการสร้างมาตรฐาน GAP/GMP การแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มการสร้างแบรนด์ผลไม้การบริหารโลจิสติกส์ตลอดจนการตลาดสมัยใหม่ทั้งออนไลน์และออฟไลน์

      ทำให้ในเดือนมิ.ย. ที่ผ่านมาผลไม้สามารถครองแชมป์การส่งออกด้วยอัตราการเติบโตสูงถึง 185% ทุเรียนส่งออกขยายตัว 172% และมังคุดเติบโตถึง 488% ส่งผลให้การส่งออกสินค้าเกษตรโดยรวมมีมูลค่า 71,473 ล้านบาทโดยมีอัตราการขยายตัวสูงสุดถึง 59.8% นับเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบ 10 ปีและเป็นการขยายตัว 9 เดือนต่อเนื่องกัน