ดลมนัส กาเจ
“งานวิจัยพบว่าเห็ดเสม็ดมีคาร์โบไฮเดรตต่ำกว่าเห็ดชนิดอื่น ไขมันต่ำ แต่มีโปรตีน และไฟเบอร์สูง จะช่วยลดอาการท้องผูกช่วยระบบขับถ่ายดีขึ้น ที่สำคัญช่วยลดคอเลสเทอรอล และลดน้ำตาลในเลือดเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องควบคุมน้ำหนักเป็นอย่างดี”
นานที่ปีละหนกว่าจะได้กิน “เห็ดเสม็ด” ซึ่งเป็นเห็ดที่เกิดตามธรรมชาติตามพื้นดินที่มีใบไม้ปกคลุมในป่าเสม็ดขาว หรือตามป่าพรุในพื้นที่ภาคใต้ และยังพบตามพื้นที่ในป่ากระทินเทพา และยูคาลิปตัสด้วย แต่เนื่องจากเดิมทีพบชนิดนี้จะพบในป่าเสม็ดขาว หรือป่าพรุที่เต็มไปด้วยต้นเสม็ด ชาวบ้านจึงเรียกว่า “ เห็ดเสม็ด” ตอนหลังมีการปลูกป่ายูคาลิปตัส ในภาคอีสาน ทางภาคอีสานบางพื้นที่เรียกว่า “เห็ดยูคา” ทางภาคใต้เรียกว่า “เห็ดเหม็ด” บ้างก็ว่า “เก็ดคม” เพราะรสชาติออกคมนิดๆนั่นเอง และจะขึ้นปีละครั้งช่วงต้นต้นฝน หรือราวๆเดือนพฤษภาคมของทุกปี
เห็ดเสม็ด (Melaleuca forest) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Boletus griseipurpureus Corner มีลักษณะเป็นดอกเดี่ยวทรงกระทะคว่ำ นูนแล้วแบน สีม่วงอมเทา ขนาด 4-10 ซม.มีก้านสีม่วง เรียวใหญ่ไปที่โคน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาวชงราว 1-1.5 ซม.ยาว 4-8 ซม. ถ้าเปลือกน้ำจะหนืดมือ ใต้ดอกเป็นรู สีม่วงอมชมพูอ่อน เวลาต้นมะมีเมือกนิดๆและลื่น นิยมบริโภคด้วยการนำไปต้มจิ้มน้ำพริก ยำ ลาบ และแกงกะทิใส่กุ้งเป็นต้น (รายละเอียดในคลิป)
งานวิจัยพบว่าเห็ดเสม็ดมีคาร์โบไฮเดรตต่ำกว่าเห็ดชนิดอื่นที่ใช้รับประทาน อยู่ที่ประมาณ 6-11% มีไขมันต่ำมีโปรตีน และไฟเบอร์สูง จะช่วยลดอาการท้องผูกด้วย ทำให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น ที่สำคัญช่วยลดคอเลสเทอรอล และลดน้ำตาลในเลือด และบ้างก็ว่าจะช่วยลดความดันด้วย จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องควบคุมน้ำหนักเป็นอย่างดี บ้างก็ว่าละความดันได้ด้วย แต่เนื่องจากเห็ดเสม็ดจะออกมาปีละครั้ง จึงหากินได้ยากและราคาค่อนสูง กก.ละ 150-200 บาท