ดราม่าสุดๆ “หนูชื่อ วิวค่ะ”ขายพลับจูหลีบนดอยแม่สลองผ่านออนไลน์…ยอดสั่งพุ่งกระฉูด แต่…คลิกอ่าน

  •  
  •  
  •  
  •  

ดลมนัส กาเจ

        พลันที่ นางสาวพิณทิพย์ แดงไฝ เจ้าหน้าที่ (ลูกจ้าง) ภายใต้โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่สลอง จังหวัดเชียงราย ได้โพสต์ข้อความผ่านสื่อออนไลน์ ระบุว่า หนูชื่อ วิวค่ะ เป็นเจ้าหน้าที่โครงการหลวง ดอยเเม่สลอง จังหวัดเชียงราย

         หนูขอประสานเข้ามา เกี่ยวกับ ผลลูกพลัมจู่หลีสดขายเข้าโรงงานเเปรรูปไม่ได้ เนื่องจากสถานการณ์โควิท (โควิด-19) โรงงานหยุดดำเนินการ ผลผลิตกำลังออกสู่ตลาดช่วงเดือน พค- กลางเดือน มิย ประมาณว่า 90-100 ตัน ที่ต้องทิ้ง หากจำหน่ายไม่ได้

         ข้อความระบุอีกว่า ชาวบ้านกำลังหมดทางไป หนูจึงขอความกรุณาจากทุกๆท่าน ช่วยอุดหนุนผลสดลูกพลัมจู่หลีจากชาวบ้านด้วย คนละนิดคนละหน่อยก็ประคับประคองกันไป นะค่ะ

      ราคาเป็นกล่อง

     1 กล่องขาย 250 บาท ( 5กก )   ค่าขนส่ง  50 บาทต่อกล่อง รวม 300 บาทต่อกล่อง ส่งทั่วไทย

     หนูใคร่ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เมตตาต่อชาวบ้านในครั้งนี้ด้วยค่ะ

ท่านใดสนใจ ติดต่อมาที่ ไลน์ ,, Ad line ( 095-4474717 ) ,ฮกหลง วิว ปฏิญานคุนากร เบอร์โทร 095-4474717

            การชำระเงิน ท่านสามารถชำระเงินในเลข บช กรุงไทย เลขที่ 497-039277-3 น.ส.พิณทิพย์ แดงไฝ

            หนูขอขอบพระคุณทุกท่านอีกครั้ง ค่ะ

           หนูวิว ค่ะ

          7 พค 64

            หลังจากข้อความนี้สู่สาธารณะชนแล้ว มีการแชร์ต่อๆกันอย่างกว้างขวางทั้งในเฟสบุ๊คและกลุ่มไลน์ หลายปรากฏว่า ยอดจองลูกพลัมจู่หลี ที่เกษตรกรปลูกบนดอยแม่สลองนั้นมียอสั่งจำนวนมาก จนจัดส่งแทบไม่ทัน จึงขออนุญาตนำมาเผยแพร่ทั้งข้อความและภาพถ่ายที่ส่งต่อๆามาครับ 

      แต่กระนั้นมีคอมเมนต์ออกมาทั้งสนับสนุนและให้ข้อมูลอีกด้าน อาทิ ผู้ที่อ้างว่า เจ้าหน้าที่โครงการหลวงท่านหนึ่ง โพสต์ และมีการส่งผ่านไลน์ต่อๆกันว่า “ขออนุญาต ชี้แจง เกี่ยวกับเรื่อง ข้อเขียนอันนี้ครับ ในฐานะ ที่ผมยังช่วยงานโครงการหลวงอยู่”

      อันดับแรก ขอชี้แจงว่า โครงการหลวง ไม่มีเจ้าหน้าที่ และไม่มีการส่งเสริม ที่ดอยแม่สลอง คนชื่อวิว ไม่ใช่เจ้าหน้าที่โครงการหลวง                   

     ข้อที่ 2 โรงงานโครงการหลวง ไม่เคยหยุดรับซื้อผลผลิต และจำหน่ายผลผลิต  แต่การรับซื้อผลผลิต และจำหน่าย ส่วนใหญ่ จะมาจาก เขตส่งเสริม ที่โครงการหลวงรับผิดชอบ ใน39 ศูนย์เป็นหลัก บทความนี้ทำให้โครงการหลวงเสียหาย ก็ขอชี้แจงให้ทราบทั่วกันครับ

      ลงชื่อว่า คำชี้แจงจากเจ้าหน้าที่โครงการหลวง

       ต่อมามีโพสต์ตามมาอีกระบุว่า สอบถามข้อมูลที่น้องวิว และได้ข้อมูล ดร.อัญชัน ชมพูพวง ผช.ผอ.สนง.มูลนิธิโครงการหลวง และหัวหน้ากลุ่มงานวิจัย โทร 081……………….

            ดร.อัญชัน ขอเรียนว่าจากข้อมูลเบื้องต้นเป็นเจตนาดีของน้องวิว เพื่อช่วยชาวบ้าน และน้องวิวเป็นเด็กที่มาอบรมกับทางโครงการฯ แต่ทางโครงการมีนโยบายทำแค่ต้นน้ำ ไม่ได้ทำการตลาดกับปลายน้ำ

ดร.อัญชัน ขอเรียนว่าน้องวิวมีเจตนาดีจะช่วยขายผลผลิตให้ชาวบ้าน แต่ขาดประสบการณ์ในการใช้ข้อมูลต่อสาธารณะและไม่ได้ปรึกษาผู้ใหญ่ก่อนโพสต์

        เพื่อความถูกต้องเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งว่าเราควรตรวจสอบข้อมูลก่อนโพสต์ค่ะ

            อย่างไรก็ตาม มีการแชร์ว่า ทางเจ้าหน้าที่ สวพส.(สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) )แจ้งว่า คุณวิวโพสต์ช่วยเกษตรกร แต่อาจเขียนทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อน

       นางสาวพิณทิพย์ แดงไฝ ได้โพสต์อีกึรั้งว่า “สวัสดีค่ะ หนูต้องขอโทษด้วยที่สื่อสารและทำให้เกิดความเข้าใจผิด”

       หนูชื่อ นางสาวพิณทิพย์ แดงไฝ ชื่อเล่น วิว เป็น เจ้าหน้าที่ (ลูกจ้าง) ภายใต้โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่สลอง ซึ่งเป็นโครงการในความรับผิดชอบของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนงานของมูลนิธิโครงการหลวง และขยายผลสำเร็จของโครงการหลวงไปยังพื้นที่สูงอื่น (สามารถตรวจสอบได้ทางเวปไซด์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง www.hrdi.or.th )

      หนูต้องขอกราบขอบคุณสำหรับการอุดหนุนผลิตผลพลัมของเกษตรกรค่ะ และเนื่องจากมี order เข้ามาจำนวนมากหลังจากที่ได้โพสไปในหลายช่องทาง จึงอาจทำให้รับโทรศัพท์ของลูกค้าหลายท่านไม่ทัน ตอนนี้หนูและกลุ่มเกษตรกรกำลังจัดการเคลียร์ order ทั้งหมด และจะขอปรับเปลี่ยนไปให้เกษตรกรเป็นผู้จัดการทั้งหมด โดยท่านสามารถอุดหนุนผลิตผลพลัมของเกษตรกรภายใต้โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่สลอง โดยติดต่อ ผ่านกลุ่มเกษตรกร …ระบุชื่อ และเอบร์โทรศัพท์… หรือ ผ่านทางกลุ่มงานตลาดและสถาบันเกษตรกร ของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง โดยติดต่อและประสานงาน กับ

  1. คุณวรุมดี ภาคสินธ์ เบอร์โทรติดต่อ 081-8845780
  2. คุณไฉไล กรองทอง เบอร์โทรติดต่อ 084-616255

 

     แล้วยังโพสต์เสริมว่า ต้องขออภัยทุกท่านด้วย..น้องเค้า งานเยอะ ต้องจัดการหลายอย่าง เพื่อให้ผลิตเกษตรกร ออกจากสวน โดยเร็วครับ

       ล่าสุดเฟสบุ๊คโครงการหลวง ได้โพสต์ข้อความว่า “เรื่องนี้เป็นความจริง!”

..จากความตั้งใจของนักส่งเสริมเกษตร เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในวิกฤตของชาติ..

     “วิว” เป็นเจ้าหน้าที่ของ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง ทำงานในพื้นที่ที่เรียกว่า “โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่สลอง” อยู่ในสังกัดของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (สวพส.)

       “สวพส.” เป็นหน่วยงานที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนงานของมูลนิธิโครงการหลวง โดยใช้รูปแบบ Royal Project Model หรือ “การพัฒนาทางเลือกบนพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง” ที่ได้รับพระราชทานจากในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าเกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรม สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตคนบนพื้นที่สูงให้ดีขึ้นได้อย่างยั่งยืน

      พื้นที่รับผิดชอบของ สวพส. เรียกว่า “โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง” เป็นพื้นที่ที่ตั้งอยู่บนพื้นที่สูงอื่น นอกเหนือจากพื้นที่รับผิดชอบของมูลนิธิโครงการหลวง (พื้นที่ของมูลนิธิโครงการหลวง มีชื่อเรียกว่า “สถานีวิจัย/เกษตรหลวง” และ “ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง” มีทั้งหมด 39 แห่ง ใน 6 จังหวัดภาคเหนือ คือ เชียงใหม่ เชียงรายลำพูน แม่ฮ่องสอน พะเยา และตาก) เพื่อขยายความช่วยเหลือออกไปให้ครอบคลุมพื้นที่สูงทั่วประเทศ

       “โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่สลอง” จังหวัดเชียงราย จึงเป็นหนึ่งใน 44 โครงการที่นำรูปแบบโครงการหลวงไปขยายผล โดย สวพส. เป็นผู้ดำเนินการ ด้วยการประยุกต์ใช้แนวทางการส่งเสริมอาชีพ มุ่งเน้นการสร้างความเข้มแข็ง และการพึ่งพาตนเองของคนในพื้นที่ ..และด้วย สวพส. ยังไม่มีระบบการตลาดที่กว้างขวาง จึงมีการบริหารจัดการผลผลิตที่ส่งเสริมแก่เกษตรกรโดย ช่วยจัดหาแหล่งจำหน่าย ส่งเสริมและสนับสนุนตลาดชุมชน และส่งเสริมให้เกษตรกรจำหน่ายผลผลิตเอง

       ในด้านการตลาด มูลนิธิโครงการหลวง และ สวพส. มีระบบการจัดการที่แยกจากกัน โรงงานแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของมูลนิธิโครงการหลวงเน้นการผลิตผลิตภัณฑ์ โดยพิจารณาจากความต้องการในตลาด ศักยภาพการผลิตของโรงงาน ปริมาณผลผลิต และความคุ้มค่าในการลงทุน การขนส่ง และรายได้ที่จะเกิดแก่เกษตรกร โดยเคร่งครัดในการควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยตั้งแต่กระบวนการผลิตในแปลงจนถึงโรงงาน ดังนั้น… วัตถุดิบในการแปรรูปจึงต้องมาจากแปลงผลิตที่ควบคุมในระบบ GAP

     โดยที่ “พลัมจูหลี” เป็นพันธุ์ที่มีรสชาติอมเปรี้ยว เหมาะแก่การนำไปแปรรูปมากกว่ารับประทานสด โดยปริมาณผลผลิตจากเกษตรกรในพื้นที่ มูลนิธิโครงการหลวงใช้ระบบจำหน่ายผลสด สำหรับโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่สลองนี้ได้นำพันธุ์จากการวิจัยของมูลนิธิโครงการหลวงไปส่งเสริมแก่เกษตรกร เมื่อมีผลผลิตแล้วได้เน้นการส่งเข้าโรงงานแปรรูปที่จังหวัดเชียงราย และที่ผ่านมาชาวบ้านจะขายให้แก่นักท่องเที่ยวไปด้วย

     แต่จากปริมาณการซื้อลดลงในสถานการณ์โควิด โรงงานในพื้นที่งดรับวัตถุดิบ เจ้าหน้าที่จึงพยายามหาทางช่วยเหลือเกษตรกร โดยประกาศขายผ่านช่องออนไลน์ที่สื่อสารที่ง่ายและรวดเร็ว ซึ่งได้ผลจริง… ข้อความนี้กระจายไปทั่วอย่างรวดเร็วด้วยการบอกต่อ

     การประกาศขายออนไลน์ ที่ วิว สวพส. ทำนี้ เป็นวิธีการส่วนตัว ที่เกิดจากความหวังดี และความตั้งใจจะช่วยเกษตรกรในภาวะวิกฤตของโควิด แต่… จากกระแสข่าวที่ขยายไปอย่างกว้างขวาง สวพส. จึงเข้าไปดำเนินการปรับวิธีการสั่งซื้อ เพื่อสร้างความเชื่อมั่น แก่ผู้ร่วมสนับสนุนผลผลิตของเกษตรกรภายใต้โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่สลอง โดยสามารถติดต่อผ่าน

กลุ่มเกษตรกร:กลุ่มแม่สลองพืชผล

–>คุณอาผ่า โทร 093-3164089 หรือ คุณมี 091-1387489

กลุ่มงานตลาดและสถาบันเกษตรกร ของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (สวพส.)

–> คุณวรุมดี ภาคสินธ์ โทร 081-8845780 และ คุณไฉไล กรองทอง โทร 084-6162552

รายละเอียด https://www.facebook.com/royalproject.pr/videos/264421922032475

            ชัดเจนครับ! “เกษตรทำกิน” ขอสนับสนุนและให้กำลังใจในความตั้งใจจริงของ “หนูชื่อวิว” ที่จะช่วยเกษตรกรมีที่ระบายผลผลิต และเห็นผลที่ได้มาจากความตั้งใจนี้ชัดเจน แม้การดำเนินการอาจลัดขั้นตอนของระเบียบอยู่บ้างแต่สามารถที่จะปรับปรุงได้