กับดักเพชรฆาตพิชิตด้วงแรด ใช้ “ฟีโรโมน” เป็นตัวล่อ แค่คืนแรกวายร้ายตกเป็นเหยื่อแล้วเสียแล้ว!!

  •  
  •  
  •  
  •  

ดลมนัส กาเจ

 

      หลังจากที่มะพร้าวน้ำหอมที่นำมาจากบ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร นำไปปลูกที่สวนแสวงหา บ้านดอนกระเบื้อง ต.สีบัวทอง อ.แสวงหา จ.อ่างทอง เมื่อเกือบ 3  ปีก่อน ตอนนี้หลายต้นออกผลผลิตแล้ว แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาต้องระวัง “ด้วงแรด” ซึ่งถือเป็นแมลงศัตรูของชาวสวนมะพร้าว ปาล์ม และอินทผาลัม ที่เข้าไปทำลายอดอ่อนด้วยการเจาะที่โคนยอดอ่อน เพื่อเข้าไปดูดกินน้ำหวาน ทำให้มะพร้าวหลายต้นตายไป

     ล่าสุดได้ทดลองนำ “ฟีโรโมน” ติดไว้กับดักที่ทำเอง เพื่อเป็นตัวล่อให้แมลงหรือด้วง ปรากฏว่าคืนแรก มีด้วงแรดตกเป็นเหยื่อแล้วเป็นตัวแรก คิดว่าตัวต่อไปคงตกเป็นเหยื่ออีกน่าจะหลายตัว เพราะคิดว่าน่าจะมีหลายตัว ซึ่งเมื่อก่อนใช้วิธีสำรวจบางวันเคยพบถึง 10 ตัว  (รายละเอียดในคลิป)

                                                                    ฟีโรโมน

      ฟีโรโมน ที่ใช้สำหรับล่อแมลงด้วงนั้น เป็นฮอร์โมนเพศ จะส่งกลิ่นเฉพาะออกมาดึงดูดด้วงแรดที่เป็นตัวเต็มวัยทั้งเพศผู้และเพศเมียเพื่อมาผสมพันธุ์กัน เมื่อด้วงแรดได้กลิ่นฟีโรโมนจะบินเข้าหาต้นกำเนิดกลิ่น เมื่อมาถึงกับดักก็จะชนแผ่นเรียบเหนือถัง และตกลงในถัง สามารถเก็บไปทำลายได้ โดย 1 กับดักสามารถใช้ได้กับพื้นที่ 10-12 ไร่

     พูดถึง  “ด้วงแรด” เป็นแมลงศัตรูอันสำคัญของมะพร้าว และปาล์มน้ำมัน ยิ่งเป็นมะพร้าวนำหอมด้วงแรดยิ่งชอบ ซึ่งข้อมูลจากกรมวิชาการเกษตรระบุว่า มี 2 ชนิด คือ ด้วงแรดชนิดเล็ก ที่อาละวาดในสวนอ่างทอง และด้วงแรดชนิดใหญ่

      ด้วงแรดชนิดเล็ก พบทั่วทุกภาคของประเทศไทยและพบบ่อยที่สุด สำหรับด้วงแรดชนิดใหญ่ มักพบไม่บ่อยนัก พบได้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปทางภาคใต้ของประเทศ ที่น่ากลัวคือหลังจากที่ด้วงแรด เจาะเข้าไปดูดกินน้ำหวานที่โคนยอดอ่อนแล้วเมื่ออิ่มก็จะออกไป

       แล้วมีด้วงอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า  “ด้วงงวง”หรือ ”ดวงสาคู”  เมื่อด้วงแรดจะบินต้นมะพร้าวช่วงยอดอ่อนจะเป็นรูโพรงลึก  ด้วงงวงหรือด้วงสาคูเห็นรูจึงเข้าไปวางไข่ และเจาะกินยอดอ่อนของมะพร้าว อินทผลัม ปาล์มน้ำมัน จนกลายเป็นมะพร้าวยอดกุด ไม่ออกผลผลิต และตายในที่สุด