พิษกระแสใช้ลิงขึ้นมะพร้าวราคาลดฮวบ กระทบเกษตรกรแล้ว

  •  
  •  
  •  
  •  
“มนัญญา” ล่องใต้หนุนเกษตรกรปลูกมะพร้าวเป็ฺนเกษตรแปลงใหญ่ผลิตมะพร้าวอินทรีย์ที่สุราษฎร์ธานี ให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ยอมรับกระแสการการใช้ลิงเก็บมะพร้าว เริ่มระทบราคามะพร้าวที่ดลงแล้ว ชี้ความจริงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตชาวบ้าน ที่เป็นส่วนเล็กน้อยเท่านั้น 
      นางสาวมนัญญา  ไทยเศรษฐ์  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย คณะที่ปรึกษา และนางสาวอิงอร ปัญญากิจ รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตรรวมทั้งข้าราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตรวจเยี่ยมการดำเนินงาน ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชสุราษฎร์ธานี และศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชสุราษฎร์ธานี เขตที่7 ตำบลคันธุลี อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
    นางสาวมนัญญา กล่าวว่า ปัจจุบัน มะพร้าวมีหลากหลายพันธุ์ซึ่งการนำไปใช้หรือแปรรูปก็มีความแตกต่างกัน ซึ่งกรมวิชาการเกษตรได้มีการพัฒนาปรับปรุงลักษณะเด่นต่างๆเพื่อเพิ่มศักยภาพทางการค้า แต่ตอนนี้เมื่อมีกระแสของการไม่เข้าใจมองว่า การใช้ลิงเก็บมะพร้าวเป็นการใช้แรงงานที่ทรมานสัตว์ ตรงนี้ต้องอธิบายว่า เป็นเพียงส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตชาวบ้าน เป็นส่วนเล็กน้อยเท่านั้น อยากให้เข้าใจและให้ความเป็นธรรมกับเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าว เพราะในตอนนี้ได้รับผลกระทบราคามะพร้าวปรับลดราคาลงแล้ว
      อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร และการทำเกษตรแปลงใหญ่ โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชสุราษฎร์ธานี เขตที่7 ได้วิจัยและพัฒนาด้านการเกษตร ภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนาระบบการผลิตมะพร้าวเกาะพงันอินทรีย์ โดยมีการป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าวโดยใช้แตนเบียน และสนับสนุนการผลิตสินค้าคุณภาพโดยมีการตรวจรับรอง GAP, GMP ,ORGANIC เพื่อรองรับความต้องการของตลาด ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ และส่งออกสินค้าคุณภาพ  
    ” ปัจจุบันผลผลิตมะพร้าวของไทยสวนทางกับความต้องการคือ ปริมาณผลผลิตภายในประเทศผลิตได้น้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการ ในช่วง 3 ปี ที่ผ่านมา ซึ่งความต้องการในการบริโภคทั้งตลาดต่างประเทศ และภายในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สังเกตได้จากปริมาณ และมูลค่าการส่งออกในปี 2560 ปริมาณ 1,057,107 ตัน มูลค่า 16,155 ล้านบาท ในขณะที่ ปี 2562 มีปริมาณเพิ่มขึ้นถึง 1,167,176 ตัน มูลค่า 16,477 ล้านบาท ดังนั้นจึงต้องสนับสนุนการผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการ ลดการนำเข้า และขยายตลาดส่งออกโดยเน้นสินค้าที่มีคุณภาพเพื่อความมั่นคงยั่งยืนของเกษตรกรไทยต่อไป”  นางสาวมนัญญา กล่าว