บทสะท้อน ไทยเป็นสมาชิก CPTPP : เกษตรกรเก็บเมล็ดพันธุ์เพื่อไปปลูกเป็น “อาชญากร?”

  •  
  •  
  •  
  •  

ดลมนัส กาเจ

                  วงสัมมนา“CPTPP: เกษตรไทยเสียเปรียบจริงหรือ?”

      “พันธุ์พืชของไทย ทั้งพืชป่า พันธุ์พื้นเมือง พันธุ์พืชท้องถิ่น พืชดั้งเดิม รวมถึงพืชสมุนไพร ก็ยังเป็นของประเทศไทย เป็นสมบัติส่วนรวมของคนไทย ไม่มีใครจะไปจดลิขสิทธิ์ได้ เกษตรกรสามารถนำพันธุ์พืชเหล่านี้ไปขยายพันธุ์ได้ ไม่ผิดกฎหมายค่ะ”

      บทสะท้อนบนเวทีสัมมนา หัวข้อ “CPTPP: เกษตรไทยเสียเปรียบจริงหรือ?” จัดโดยสมาคมเมล็ดพันธุ์พืชภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิค (APSA) ซึ่งเป็นองค์กรที่มีเครือข่ายความร่วมมือนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก  ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น หลักสี่ กรุงเทพฯ ( 19 มิ.ย.63) พอสรุปได้ว่าการที่ประเทศไทย จะเข้าไปเป็นสมาชิกภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศ เพื่อการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ หรือ UPOV 1991 ภายใต้กรอบความร่วมมือความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ CPTPP ที่บางท่านให้คำนิยามจนน่ากลัวว่า จะทำให้เกษตรกรไทยที่ถือครองเมล็ดพันธุ์ที่ปรับปรุงพันธุ์โดยบริษัทเอกชน หรือต่างชาติกลายเป็นอาชญากร”นั้น

                                                    ธิดากุญ แสนอุดม

      มันเป็นเพียงการยิบประเด็นมาส่วนหนึ่งเท่านั้นขณะที่ความจริง UPOV 1991 มีส่วนคล้ายและเกษตรกรมีความคุ้นเคยกับ พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542 ที่มีอยู่แล้ว เพียงระเบียบของ UPOV 1991 อาจเข้มงวดกว่า เพราะเชื่อมโยงกับประเทศสมาชิกด้วย

      จาการสัมมนาในครั้งนี้ฟังตั้งแต่ต้นจนจบ ในบรรดาวิทยากรที่ร่วมสัมมนาและให้ความรู้ในครั้งนี้ มี นางสาวธิดากุญ แสนอุดม ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยการคุ้มครองพันธุ์พืช สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร ที่ให้ความรู้ตรงประเด็นมากที่สุดและรู้จริงเกี่ยวกับหัวข้อที่บอกว่า  “CPTPP: เกษตรไทยเสียเปรียบจริงหรือ?” ซึ่งพอสรุปได้ว่า UPOV 1991 มีส่วนคล้ายและเกษตรกรก็มีความคุ้นเคยพ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542 เพียง UPOV 1991 แต่จะเข้มงวดกว่า เพราะเชื่อโยงกับประเทศสมาชิกด้วย

      นางสาวธิดากุญ กล่าวว่า ที่คนไทยบางส่วนกังวลว่า หากไทยเป็นสมาชิก CPTPP ภาคการเกษตรไทยต้องต้องปฏิบัติภายใต้กรอบของ UPOV 1991 ทำให้เกษตรกรต้องประสบกับความเดือนร้อนอาจทำให้พันธุ์พืชไทยจะอยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของนายทุน หรือต่างชาติ และผู้ที่ถือครองเมล็ดพันธุ์ที่มีการปรับปรุงพันธุ์ใหม่เพื่อขยายเป็นเมล็ดพันธุ์กลายเป็นอาชญากรอย่างที่บางคนยังเข้าใจนั้นย เป็นการเข้าใจบางส่วน และไม่ทั้งหมด

       “ตามกฎของ UPOV 1991  พันธุ์พืชของไทย ทั้งพืชป่า พันธุ์พื้นเมือง พันธุ์พืชท้องถิ่น พืชดั้งเดิม รวมถึงพืชสมุนไพร ก็ยังเป็นของประเทศไทย เป็นสมบัติส่วนรวมของคนไทย ไม่มีใครจะไปจดลิขสิทธิ์ได้ เกษตรกรสามารถนำพันธุ์พืชเหล่านี้ไปขยายพันธุ์ได้ ไม่ผิดกฎหมายค่ะ  แต่ถ้าเราเอาพืชเหล่าไปขายตามท้องตลาด หรือส่งออก มีนักปรับปรุงพันธุ์ไปนำไปขยายพันธุ์ และทำการปรับปรุงพันธุ์ใหม่ ที่มีคุณสมบัติที่แตกต่างกับพันธุ์เดิมถือว่า เป็นสายพันธุ์ใหม่ ตรงนั้นเขาจดลิขสิทธิ์ได้ เป็นของเรา แต่ของเรายังอยู่เหมือนเดิม เรานำไปเพาะปลูก หรือขยายพันธุ์เพื่อกินเอง หรือเพื่อการค้าได้ปกติ”นางสาวธิดากุญ กล่าว

       ในส่วนของการนำเมล็ดพันธุ์ที่มีลิขสิทธิ์ ตามกฏของ UPOV 1991นางสาวธิดากุญ บอกว่า เกษตรกรซื้อเมล็ดพันธุ์ไปเพาะปลูกกินเอง นำไปต่อยอดเพื่อผลิตเม็ดพันธุ์เก็บเพื่อปลูกกินในครัวเรือนไม่มีความผิด ไม่เป็นอาชญากร แต่ถ้าซื้อเมล็ดพันธุ์นำไปปลูกเพื่อการค้าสามารถนำผลผลิตไปขายได้ แต่ไม่สามารถจะไปผลิตเมล็ดพันธุ์เพื่อไปขายได้ แต่ถ้าผลิตเมล็ดพันธุ์เพื่อปลูกเอง ไม่มีปัญหา สามารถทำได้แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศจะออกกฏระเบียบและคุ้มครองปลีกย่อยอย่างไรเท่านั้น

      “ที่จริง UPOV 1991 ก็คล้าย พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542 ซึ่งคุ้มครองนักปรับปรุงพันธุ์อยู่ เราไม่สามารถจะนำเมล็ดพันธุ์ที่มีลิขสิทธิ์นำไปขยายเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์อยู่แล้ว แต่พอไปเชื่อมระดับโลกทำให้คนไทยเราวิตกกังวล ที่กลัวว่าเกษตรกรไทยจะเสียเปรียบ และพันธุ์พืชดั้งเดิมของไทยเราจะถูกขโมยโดยต่างชาติไปแอบบลิขสิทธิ์ขึ้นมา ซึ่งความจริงทำไม่ได้ เพราะที่จะจดลิขสิทธิ์ใหม่ต้องเป็นพืชที่มีการปรับปรุงพันธุ์ใหม่เท่านั้น จะเอาพืชเศรษฐกิจที่เกษตรกรปลูกอยู่แล้วอย่างข้าวหอมมะลิไปจดลิขสิทธิ์ไม่ได้” เธอ ย้ำ

       อย่างไรก็ตาม ไทยเราต้องศึกษาอย่างละเอียดตามกรอบ CPTPP ให้รอบคอบ เพราะหลายส่วนก็มีข้อดี ข้อเสีย ทั้งได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ คละกันไป โดยภาคการเกษตร ไทยก็มีประโยชน์อยู่บ้างพอสมควร อาทิ การส่งออกสินค้าเกษตรไปยังประเทศสมาชิกที่ไทยยังไม่ลงนามว่าด้วยการค้าเสรี อย่าง แคนาดา และเปรู

       นอกจากนี้ยังจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านการตลาดของสินค้าเกษตรไทยได้ด้วย แม้ว่าประเทศไทยจะมีศักยภาพในการผลิตสินค้าเกษตร อาหารที่เหนือกว่า ประเทศอื่นในกลุ่มอาเซียนด้วยกันก็ตาม แต่อย่าลืมว่า ในกลุ่มประเทศอาเซียนนั้นมีเวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร และบรูไน เข้าไปเป็นสมาชิกแล้ว อาจทำให้กลุ่มประเทศที่เป็นสมาชิก CPTPP อาจเลือกซื้อขายสินค้าจากประเทศสมาชิกด้วยกันเอง และอาจทำให้ไทยเสียโอกาสก็เป็นได้เช่นกัน