“เฉลิมชัย”เล็งสานต่อ “ตู้เย็นข้างบ้าน-บ้านพอเพียงเลี้ยงชีวิตสู้โควิด-19” 

  •  
  •  
  •  
  •  

เฉลิมชัย ศรีอ่อน (กลาง)

กระทรวงเกษตรฯ สานต่อ โครงการตู้เย็นข้างบ้าน” และ “บ้านพอเพียงเลี้ยงชีวิตสู้โควิด-19 หวังบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนและเกษตรกรจากโรคโควิด-19 ให้มีพืชอาหารบริโภค สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาตนเอง และช่วยลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนด้วย

           นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ภายในประเทศได้ทวีความรุนแรงขึ้น มีผู้ติดเชื้อกระจายไปหลายจังหวัดซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อความเป็นอยู่ของประชาชน ภาคอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว และภาคการเกษตรของประเทศแล้ว ยังกระทบไปถึงภาคธุรกิจและแรงงานที่เกี่ยวข้องในวงกว้าง และจากมาตรการเร่งด่วนในการควบคุมและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรค ส่งผลให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไปไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ เกิดภาวะการว่างงาน และทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว รวมทั้งเกิดปัญหาการกระจายสินค้าและเกิดการขาดแคลนพืชอาหารเพื่อการบริโภค

        ดังนั้นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการป้องกัน ควบคุม แก้ไขปัญหา และบรรเทาผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อไปดำเนินการที่ก่อให้เกิด การจัดซื้อจัดจ้างจากผู้ประกอบการหรือผู้ผลิตรายย่อย รวมถึงการจ้างแรงงาน ทางกระทรวงเกษตรฯ โดยกรมส่งเสริมการเกษตรจึงได้ร่วมกับ บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด (ศรแดง) จัดทำ “โครงการตู้เย็นข้างบ้านต้านโควิด-19″ แจกฟรีเมล็ดพันธุ์ผักสวนครัวแก่เกษตรกรและประชาชนทั่วไป ชุด เป้าหมาย 10,000 ราย ประกอบด้วยเมล็ดพันธุ์ ผักบุ้ง แตงกวา โหระพา พริกขี้หนู มะเขือพวง เป็นต้น ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐ และภาคเอกชน โดยไม่ได้ใช้งบประมาณแผ่นดินแม้แต่บาทเดียว เปิดให้ประชาชนลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ของกรมส่งเสริมการเกษตร เมื่อวันที่ พฤษภาคม ที่ผ่านมา ปรากฏว่าได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมากในเวลาอันรวดเร็ว

          นายเฉลิมชัย กล่าวอีกว่า กระทรวงเกษตรฯตั้งใจจะสานต่อโครงการดังกล่าวในระยะที่ 2 โดยจะเปิดให้ภาคเอกชนที่สนใจเข้าร่วม และจะขยายผลโครงการไปทั่วประเทศด้วย นอกจากนี้ ทางกรมส่งเสริมการเกษตรยังได้จัดทำโครงการบ้านพอเพียงเลี้ยงชีวิต สู้โควิด-19 เพื่อเป็นมาตรการเสริมในการบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19

       โดยมีวัตถุประสงค์ให้เกษตรกรและผู้ได้รับผลกระทบมีพืชอาหารบริโภคสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาตนเอง ช่วยลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน สร้างความมั่นคงทางอาหาร เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรและชุมชน ตลอดจนการแก้ปัญหาการขาดแคลนพันธุ์พืชพันธุ์ดีในท้องถิ่น ส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มเพื่อดำเนินการตามระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยดำเนินการผลิตต้นพันธุ์พืชผักสมุนไพร  รวมทั้งสิ้น 3,634,464 ต้น โดยศูนย์ปฏิบัติการของกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 34 หน่วยงาน เพื่อเตรียมแจกจ่ายและกระจายต้นพันธุ์พืชผักสมุนไพรให้กับเกษตรกรและผู้ได้รับผลกระทบ จำนวน 3 ครัวเรือน/หมู่บ้าน ซึ่งจะส่งมอบผ่านสำนักงานเกษตรอำเภอไปยังอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) และส่งมอบต่อไปยังเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ
เป้าหมายรวมทั้งสิ้น 882 อำเภอ 225,390 ครัวเรือน