ระวัง!! วายร้าย”หนอนใยผัก”บุกพืชตระกูลกะหล่ำช่วงอากาศร้อนต้อง มีวิธีกำกัดที่ได้ผล ….คลิกอ่าน

  •  
  •  
  •  
  •  

     กรมวิชาการเกษตร แจ้งมาว่า ช่วงนี้มีสภาพอากาศร้อน จึงแนะเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลกะหล่ำอาทิกะหล่ำปลี กะหล่ำดอก กวางตุ้ง คะน้า ผักกาดขาว และบรอกโคลี ให้เตรียมรับมือการเข้าทำลายของหนอนใยผัก สามารถพบได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของพืช จะพบตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เป็นฟองเดี่ยวหรือกลุ่มเล็กๆบนใบ และใต้ใบพื

                                                              ภาพนี้: กรมส่งเสริมการเกษตร

     หนอนชนิดนี้มีลักษณะเรียวยาว หัวแหลม ท้ายแหลม และส่วนท้ายมีปุ่มยื่นออกมาเป็น 2 แฉก เมื่อสัมผัสถูกตัวหนอนจะดิ้นอย่างแรงและสร้างใยพาตัวขึ้นลงระหว่างพื้นดินกับใบพืชได้ตัวหนอนจะกัดกินผิวใบจนทำให้ใบผักเป็นรูพรุนคล้ายร่างแหจากนั้นตัวหนอนจะชักใยบางๆปกคลุมเพื่อเข้าดักแด้ติดบริเวณใบพืช

    แนวทางในการกำจัดหนอนใยผักให้เกษตรกรใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลืองที่เป็นทรงกระบอกหรือใช้กระป๋องน้ำมันเครื่องสีเหลืองทาด้วยกาวเหนียวทุก 7-10 วันครั้งจะสามารถจับผีเสื้อหนอนใยผักได้เฉลี่ย 16 ตัวต่อวันต่อกับดักโดยจับผีเสื้อเพศเมีย: เพศผู้ได้ 0.79 : 1หากติดตั้งกับดักกาวเหนียวสีเหลือง80 กับดักต่อไร่จะสามารถช่วยลดการใช้สารฆ่าแมลงได้มากกว่า50%

      ส่วนการใช้กับดักแสงไฟให้ใช้หลอดสีน้ำเงิน 20 วัตต์เป็นหลอดเรืองแสงที่เหมาะสมใช้จับผีเสื้อหนอนใยผักมากที่สุดมีราคาถูกกว่าหลอด blacklight-blue 20 วัตต์และปลอดภัยจากอันตรายของแสงอุลตร้าไวโอเล็ตโดยให้ติดตั้งกับดักแสงไฟไว้รอบนอกแปลงผักพร้อมกันในพื้นที่

      การใช้ศัตรูธรรมชาติในการกำจัดให้เกษตรกรใช้เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัสทูริงเยนซิสในอัตรา 100-200 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตรและไม่ควรใช้ในแหล่งปลูกผักภาคกลางกรณีที่ระบาดมากให้พิจารณาการใช้อัตราที่สูงขึ้นและช่วงเวลาพ่นถี่ขึ้นหรือพ่นสลับกับสารฆ่าแมลงสำหรับการใช้วิธีเขตกรรมจะสามารถลดการแพร่ระบาดของหนอนใยผักได้โดยให้ไถพรวนดินตากแดดหรือการทำลายซากพืชอาหารหรือการปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อขัดขวางการขยายพันธุ์ต่อเนื่องของหนอนใยผัก

      หากพบหนอนใยผักระบาดมากให้เกษตรกรพ่นด้วยสไปนีโทแรม 12%เอสซีอัตรา 40-60 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตรหรือสารคลอร์ฟีนาเพอร์ 10% เอสซีอัตรา 40-60 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตรหรือสารอินดอกซาคาร์บ 15% อีซีอัตรา 40-60 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตรหรือสารโทรเฟนไพแร็ด 16% อีซีอัตรา 40-60 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตรหรือสารฟิโพรนิล5% เอสซีอัตรา 60-80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตรโดยใช้พ่นสลับกลุ่มสารและใช้ไม่เกิน 2-3 ครั้งต่อฤดูกรณีการระบาดลดลงให้สลับใช้เชื้อแบคทีเรียเพื่อหลีกเลี่ยงหนอนใยผักสร้างความต้านทาน