เหยื่อโรคใบด่างมันสำปะหลังเหลือกว่า 2.9 หม่นไร่ แต่..ต้องเฝ้าระวังอีก 39 จังหวัด

  •  
  •  
  •  
  •  

อลงกรณ์ พลบุตร

กรมส่งเสริมการเกษตร รุก 4 แนวทางสกัดโรคใบด่างมันสำปะหลัง เผยยังมีพื้นที่เฝ้าระวังอีก 39 จังหวัด หลังที่สกัด จำกัด ทำลายไร่มันสำปะหลัง จนเหลือกเหลืออีก 2.9 หมื่นไร่ในพื้นที่ 11 จังหวัด จากพื้นที่ปลูก 8 ล้านไร่ สั่งให้กำชับ รณรงค์ให้เกษตรกรใช้ท่อนพันธุ์มันสะอาด รวมถึงให้กองขยายพันธุ์พืช จัดทำแปลงผลิตพันธุ์ ณ ศูนย์ขยายพันธุ์พืช  5 แห่ง

       นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมายกรมส่งเสริมการเกษตร ขับเคลื่อนโครงการป้องกันและกำจัดโรคใบด่างมันสำปะหลังที่มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส Cassava mosaic virus โดยกำหนดให้เป็นมาตรการติดตาม เฝ้าระวัง เพื่อป้องกันรวมทั้งสร้างการรับรู้ให้กับเจ้าหน้าที่ เกษตรกร และกระตุ้นให้ตื่นตัวตระหนักรู้ถึงความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น พร้อมกำชับให้มีการสำรวจติดตามการระบาดในแปลงปลูกมันสำปะหลังของตนเองอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

       นายอลงกรณ์ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการดำเนินงานโครงการป้องกันและกำจัดโรคใบด่างมันสำปะหลัง เพื่อตัดวงจรการระบาดของโรคฯ เรียบร้อยแล้ว โดยกำหนดให้ภาครัฐเข้าไปทำลายตามเงื่อนไขโครงการฯ และจ่ายเงินชดเชยให้กับเกษตรกรที่ทำลายแปลงมันสำปะหลังที่พบโรค ไร่ละ 3,000 บาท ตามพื้นที่ทำลายซึ่งทั้งหมดเป็นไปตามนโยบายของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนโยบายรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีฯ

ทวี มาสขาว

      ด้าน นายทวี มาสขาว รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันพบการระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลังคงเหลือ 29,151.915 ไร่ ใน 11 จังหวัด คิดเป็นร้อยละ 0.35 ของพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังทั้งประเทศ 8.43 ล้านไร่ (53 จังหวัด) จึงได้อนุมัติการทำลายแปลงมันสำปะหลังที่พบการระบาดของโรคแล้ว จำนวน 25,663.225 ไร่ ใช้งบประมาณ 55,432,566 บาท (คิดเป็นร้อยละ 95.63 ของพื้นที่เข้าเกณฑ์อนุมัติทำลาย)
และอนุมัติการชดเชยให้กับเกษตรกรแล้ว จำนวน 662.347 ไร่ ใช้งบประมาณ 1,987,041 บาท ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรได้ส่งเรื่องให้สำนักงบประมาณจัดสรรเงินให้กับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อโอนให้สำนักงานเกษ ตรจังหวัดและเกษตรกร โดยโอนผ่านบัญชีธ.ก.ส. ที่เกษตรกรได้ลงทะเบียนไว้เรียบร้อยแล้ว

    สำหรับแผนการขับเคลื่อนตามโครงการฯ ได้วางแนวทางไว้ 4 แนวทาง คือ 1) สำรวจแปลงสม่ำเสมอ 2)ทำลายต้นมันสำปะหลังที่เป็นโรคและแมลงพาหะ 3) ชดเชยรายได้ให้กับเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งจะต้องทำโดยรัดกุม พร้อมทั้งปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการอย่างเคร่งครัด และ 4)ส่งเสริมการใช้ท่อนพันธุ์สะอาด

      นอกจากการทำลายพื้นที่พบโรคใบด่างมันสำปะหลังแล้ว ยังมีพื้นที่เฝ้าระวัง 39 จังหวัด จึงได้กำชับและรณรงค์ให้เกษตรกรใช้ท่อนพันธุ์มันสะอาด รวมถึงให้กองขยายพันธุ์พืช จัดทำแปลงผลิตพันธุ์ ณ ศูนย์ขยายพันธุ์พืช จำนวน 5 ศูนย์ ได้แก่ ชลบุรี พิษณุโลก มหาสารคาม สุพรรณบุรี อุดรธานี ตั้งแต่ปี 2562 รวมกว่า118,000 ลำ ซึ่งสามารถใช้เป็นท่อนพันธุ์ได้กว่า 400,000 ท่อน เพื่อเตรียมรองรับการขาดแคลนท่อนพันธุ์เนื่องจากต้นมันสำปะหลังที่พบโรคต้องทำลายทิ้งทั้งหมด ไม่เหลือท่อนพันธุ์ เก็บได้เฉพาะหัวมันไว้จำหน่ายเท่านั้น โดยได้รับพันธุ์ที่ผ่านการรับรองมาจากกรมวิชาการเกษตรและมูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย”
รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าว