ฟังชัดๆคำต่อคำกับ”ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์” เกษตรกรได้อะไรจากโรงไฟฟ้าชุมชน

  •  
  •  
  •  
  •  

ดลมนัส กาเจ

       ใกล้ความจริงเข้ามาแล้ว สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าชุมชน 700 เมกะวัตต์ ของกระทรวงพลังงาน ซึ่งล่าสุด นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พูดชัดเจนว่า จะเปิดให้เอกชนที่สนใจยื่นข้อเสนอโรงไฟฟ้าชุมชน ให้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)  พิจารณาได้ ภายในเดือนมีนาคม  2563 เนื่องจากได้ผ่านความเห็นชอบเกี่ยวกับเงื่อนไขหลักเกณฑ์การจัดตั้งโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก จากที่ กพช.เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

      ล่าสุดเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา ทางคณะกรรมการบริหารการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก ที่มีนายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานได้มีการประชุมนัดแรกไปแล้ว โดยคณะกรรมการฯชุดนี้มี นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ซึ่งคลุกคลีอยู่กับเกษตรกรมายาวนาน ได้มีส่วนร่วมด้วยในฐานะเป็นผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการฯชุดนี้

สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์

      สำหรับโครงโรงไฟฟ้าชุมชน 700 เมกะวัตต์ ของกระทรวงพลังงานนั้น นายสนธิรัตน์ ให้ข้อคิดค่อนข้างชัดเจนว่า ผู้ที่จะยื่นเสนอเพื่อลงทุนในโครงการนี้ สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงคือ ในการพิจารณา ต้องยึดหลักชุมชนที่มีโรงไฟฟ้าชุมชนตั้งอยู่ ต้องได้รับผลประโยชน์ คนในชุมชนสามารถมีชีวิตที่ดีขึ้นได้จากการตั้งโรงไฟฟ้าในพื้นที่ของตัวเอง ดังนั้น การที่จะเขียนโครงการมานำเสนอจะต้องคำนึ่งถึงหลักเกณฑ์นี้เป็นหัวใจสำคัญที่สุด โดย โรงไฟฟ้าชุมชนที่ใช้ไบโอแมสเป็นวัตถุดิบป้อนโรงไฟฟ้าจะต้องนำเสนอว่า ชุมชนใกล้เคียงสามารถขายวัตถุดิบที่เป็นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เป็นต้น

       นอกจากนี้จะมีการพิจารณาอีกอันหนึ่ง คือโรงไฟฟ้าชุมชนกระทรวงพลังงานต้องการให้พี่น้องเกษตรกรมีความมั่นคง การเขียนโครงการเสนอต้องระบุด้วยว่า พืชพลังงานที่จะมาป้อนโรงไฟฟ้าชุมชนต้องสามารถสร้างรายได้ต่อไร่ต่อปี ให้ดีกว่าของเดิมที่เกษตรกรปลูกอยู่แล้ว อย่างเช่น การปลูกหญ้าเนเปียร์ สามารถสร้างรายได้ตั้งแต่ 2-3 หมื่นต่อไร่ต่อปี ซึ่งดีกว่าการปลูกข้าว มัน ข้าวโพด ที่มีรายได้หลักพันต่อไร่ต่อปี หมายถึงว่าการปลูกพืชพลังงานชนิดใหม่เพื่อป้อนโรงไฟฟ้านั้น ทำให้ชีวิตเกษตรกรอยู่ดีกินดีขึ้น และประการต่อมาสามารถสร้างความมั่นคงให้กับเกษตรกร เพราะมีการทำพันธสัญญาขายวัตถุดิบให้กับโรงไฟฟ้าเป็นเวลา 20 ปี ซึ่งจะเป็นครั้งแรกที่สินค้าเกษตรกรมีการรันตีความมั่นคงรายได้ที่ยาวนาน

      สอดคล้องแนวคิดของนายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ที่ยืนยันว่า โครงการโรงไฟฟ้าชุมชน 700 เมกะวัตต์ ของกระทรวงพลังงานจะสร้างความมั่นคงให้เกษตรกรอย่างแน่นอน ทางสภาเกษตรพร้อมพร้อมให้ความร่วมมือ และสร้างความเข้าใจและส่งเสริมเกษตรกรให้ปลูกพืชพลังงานเพื่อป้อนโครงการนี้โดยเฉพาะการปลูกไผ่ หรือไม้โตแร็วเป็นเป็นต้น (รายเอียดในคลิป)