ดลมนัส กาเจ
จากภาวะภัยแล้งกระหน่ำปีแล้วปีเล่ายาวนานหลายทศวรรษ ทำให้ผู้ใหญ่บ้านสาแพะ ต.บ้านสา อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง “คงบุญโชติ กลิ่นฟุ้ง” มองว่าหากจะรอโครงการช่วยจากภาครัฐ ชาวบ้านคงต้องอดอยากอีกต่อไป จึงตัดสินใจปรึกกำนัน เพื่อหาแนวทางช่วยตัวเอง ในที่สุดจากความตั้งใจจริงที่จะช่วยตัวเอง จึงได้รับการสนับสนุจาก เอสซีจี ภายใต้โครงการ “เอสซีจี รักษ์น้ำเพื่ออนาคต” เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบที่ทำให้ชุมชนพึ่งพาตนเองได้ ด้วยการขุด “สระพวง” ดักน้ำไหลหลากจากบนภูเขามาตั้งแต่ปี 2558 จนถึงวันนี้ แม้ปีนี้จะเป็นปีที่แล้งที่สุดในรอบ 40 ปี แต่ที่บ้านสาแพะ ต.บ้านสา อ.แจ้ห่มบ้าน มีน้ำเพื่อการเกษตรในชุมชนอย่างเพียงพอ
ผู้ใหญ่คงบุญโชติ บอกว่า บ้านสาแพะตั้งอยู่เหนือสันเขื่อนไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติ เวลาฝนตกน้ำก็ไหลผ่านไปสู่อ่างเก็บน้ำของเขื่อน พอฝนหยุดตกน้ำไม่มีเพื่อการเพาะปีแล้วปีเล่า ผ่านไปเป็นสิบๆปีชาวบ้านพากันลำบากเพราะไม่มีน้ำที่จะเพาะปลูกพืช มองว่าถ้าหวังจากโครงการของรัฐบาล ยังมองไม่เห็นว่าจะมีเมื่อไรและที่สำคัญที่ทำกินของชาวบ้านติดปัญหา พ.ร.บ.ป่าไม้ด้วย ถ้ายังรอชาวบ้านคงจะลำบากอีกนาน จึงหารือกับกำนันว่า ต้องช่วยตัวเองแล้ว ตอนแรกช่วยกันทำฝายชะลอน้ำ แต่ติดปัญหาในเรื่องอุปกรณ์ ทำให้เก็บน้ำได้ไม่นาน
เขา บอกอีกว่า ในปี 2558 ทราบมาว่า ทางเอสซีจี ทำโครงการสนับสนุนชุมชนที่ประสบภัยแล้งซ้ำซากให้บริหารจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริ ด้วยการพึ่งพาตนเอง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “เอสซีจี รักษ์น้ำเพื่ออนาคต” เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ ให้ชุมชนพึ่งพาตนเองได้ จึงทำเรื่องเสนอของร่วมโครงการ จนได้รับการช่วยเหลือ และแนะนำให้ขุดสระพวงดักน้ำไหลจากบนภูเขามาตั้งแต่ปี 2558 แต่เนื่องเป็นที่สูงน้ำซึมง่ายทางเอสซีจี สนับสนุนผ้าใบซิเมนต์ เพื่อไม่ให้น้ำซึมออกได้ นับตั้งนั้นเป็นต้นมาในชุมมีน้ำใช้เพื่อการเกษตรเพาะปลูกเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ทั้งมะระ บวบ และพริก ให้กับบริษัทแห่งหนึ่งรับซื้อเป็นประจำ ส่งผลให้วันนี้ชีวิตของชาวบ้านอยู่ดีกินดีขึ้นมาได้
ภาพจาก: สำนักข่าวอิศรา
สำหรับสระพวงนั้น ผู้ใหญ่คงบุญโชติ บอกว่า จะขุดสระใหญ่ดักบริเวณพื้นที่น้ำไหลหลาก เพื่อดึงน้ำเก็บไว้ในสระใหญ่ในพื้นที่ 2 ไร่ลึก 4 เมตร แล้วพ่วงไปยังสระย่อย รวมพื้นที่สระทั้งหมดที่ชาวบ้านเสียสละพื้นทที่ราว 12 ไร่ กระจัดกระจายสามารถทำการเกษตรได้ในพื้นที่ 500 ไร่
“พอเรามีแหล่งน้ำ ไม่ใช่ว่า เราจะทำเกษตรตามใจชอบ แต่ชาวบ้านต้องปรับเปลี่ยนวิถีการเกษตรด้วยเราหันมาปลูกพืชใช้น้ำน้อยอย่างมะระ ขายเมล็ดพันธุ์ส่งให้บริษัท ที่รับซื้อประจำ การใช้น้ำต้องใช้ระบบน้ำหยดทำให้ประหยัดน้ำมากขึ้นหลายเท่า ทุกวันนี้ถึงแม้จะมีน้ำใช้ตลอดในฤดูแล้ง แต่ชาวชุมชนบ้านสาแพะก็ยังคงร่วมมือร่วมใจใช้น้ำทุกหยดอย่างรู้คุณค่า” ผู้ใหญ่คงบุญโชติ กล่าว (รายละเอียดในคลิป)
สำหรับโครงการ “เอสซีจี รักษ์น้ำเพื่ออนาคต”นั้น ทางเอสซีจีได้ดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2550 เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาน้ำขาด น้ำเกิน และน้ำเสีย ช่วยสร้างสมดุลให้กับระบบนิเวศและคืนคุณภาพชีวิตที่ดีและความสุขสู่สังคมในระยะยาว เน้นเสริมสร้างความรู้และจิตสำนึกให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรน้ำ สนับสนุนการมีส่วนร่วมอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรน้ำอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นให้ชุมชนมีน้ำกินน้ำใช้ พึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน และเป็นชุมชนที่เข้มแข็งในอนาคต เนื่องจาก เอสซีจี ได้ตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรน้ำที่มีคุณค่าต่อการดำรงชีวิต อย่างสระพวงรวมใจสู้ภัยแล้ง เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่จะช่วยส่งเสริมให้ชุมชนบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน
สระพวง คือ แนวทางการบริหารจัดการน้ำที่เหมาะกับพื้นที่สูง โดยเริ่มจากสระใหญ่คือสระแม่ และเชื่อมต่อส่งน้ำไปยังสระย่อย เหมาะกับพื้นที่เกษตรที่ไม่มีการชลประทาน การเพิ่มความจุเก็บกักน้ำ ทำได้โดยการปูพื้นด้วยใยสังเคราะห์ บ่อซีเมนต์ หรือผ้าใบซิเมนต์ เพื่อลดการซึมของน้ำนั่นเอง
ทั้งนี้ การบริหารจัดการน้ำที่เอสซีจีดำเนินงานนั้นมีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิศาสตร์ของพื้นที่ชุมชนที่ดำเนินงาน อาทิ ชุมชนที่อยู่ติดแม่น้ำ เอสซีจี ร่วมกับมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สนับสนุนให้ชุมชนวางแผนบริหารจัดการน้ำด้วยตนเอง
ต่อมาในปี 2558 เอสซีจีร่วมกับมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) (สสน.) เพื่อสนับสนุนชุมชนที่ประสบภัยแล้งซ้ำซากให้บริหารจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริ ด้วยการพึ่งพาตนเอง ใน 9 พื้นที่ทั่วประเทศ ช่วยให้มีน้ำสำรองกว่า 16 ล้าน ลบ.ม. ประชาชนกว่า 6,700 ครัวเรือน มีน้ำเพียงพอต่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร
ล่าสุดอสซีจี ร่วมกับมูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ สสน. และสยามคูโบต้า เปิดตัวโครงการ “เอสซีจีร้อยใจ 108 ชุมชน รอดภัยแล้ง” เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสเอสซีจีครบรอบ 108 ปี ในปี 2564 สนับสนุนให้ชุมชนลุกขึ้นแก้ปัญหาภัยแล้งด้วยตนเองตามแนวพระราชดำริ ที่ใช้ “ความรู้คู่คุณธรรม” ทั้ง “ความรู้” ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อตรวจสอบแหล่งน้ำ วางแผนจัดทำผังน้ำ และการใช้น้ำที่เหมาะสมกับความต้องการของชุมชน ตลอดจนส่งเสริม “คุณธรรม” ให้คนในชุมชน ‘รู้ รัก สามัคคี มีส่วนร่วม และพึ่งพาตนเอง” จัดสรรแบ่งปันน้ำอย่างเป็นธรรม โดยมีชุมชนแกนนำของอุทกพัฒน์ฯ และเอสซีจี ร่วมเป็นพี่เลี้ยง ตั้งเป้าพัฒนา 108 ชุมชน แบ่งปันความรู้สู่ชุมชนอื่นต่อไป