ม.รังสิตประกาศเดินหน้างานวิจัยกัญชารักษามะเร็ง เป้าปอด-ถุงน้ำดี (คลิป)

  •  
  •  
  •  
  •  

มหาวิทยาลัยรังสิต ประกาศเดินหน้างานวิจัยกัญชารักษามะเร็ง เป้าหมายมะเร็งปอด ถุงน้ำดี  หลังจากก่อนหน้านี้ได้วิจัยสาร THC และ CBN ในกัญชา พบว่ามีฤทธิ์ลดการเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็งปอดของมนุษย์ในหลอดทดลองมาแล้ว

      นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า ที่ผ่านมาวิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้วิจัยการศึกสารจากกัญชาหลายหัวข้อ หัวข้อแรกเมื่อ 8 ก่อนคือวิจัยษาสาร THC (trahydrocannabinol)ในกัญชามาสามารถฆ่าเซลมะเร็งปอดในหลอดทดลองและสัตว์ทดลองรวมถึงการสาร CBN (cannabinol) ด้วย ซึ่งพบว่าฤทธิ์เหล่านี้ต้านมะเร็งมะเร็งปอดได้ แต่เป็นการวิจัยในหลอดทดลองเท่านั้น

      ดังนั้นมหาวิทยาลัยรังสิตต้องเดินหน้างานวิจัยสารกัญชาต่อไป เพื่อให้เกิดประโยชน์ในวงการแพทย์อย่างแท้จริง โดยเฉพาะเกียวกับมะเร็งปอด มะเร็งในถุงน้ำดี เป็นต้น แต่กระนั้น ยอมรับว่า ลำพังมหาวิทยาลัยรังสิตมีวัตถุัดิบกัญชาไม่เพียงต่องานวิจัย ที่ต้องใช้ปริมาณมาก การที่ร่วมมือกับสภาพเกษตรกรแห่งชาติ ที่กำลังขับเคลื่อน “โครงการขับเคลื่อนการปลูกกัญชานำร่องเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์”ในนามของวิสาหกิจชุมชน และนำร่อง 4 จังหวัดคือ ลำปาง บุรีรัมย์ กาญจนบุรี และสุราษฎร์ และได้เริ่มแล้ว ในนามวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์เพชรลานนา ต.แม่สุก อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง ถือเป็นนิมิตหมายที่ดี ที่จะวัตถุดิบกัญชาเพิ่ม แต่ก็ยังไม่เพียงพออยู่ดี เพราะทางสภาเกษตรกรต้องมอบให้กับหลายหน่วยงาน (รายละอะเดียดในคลิป)

                                                                                 ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์

     อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต ระบุว่า มหาวิทยาลัยรังสิต ถือเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทยที่ขออนุญาตทำงานวิจัยกัญชาทางการแพทย์อย่างถูกต้อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 และได้รับอนุญาตเป็นรายแรกในปี 2560 เป็นต้นมา โดยมีเป้าหมายเพื่อวิจัยและพัฒนายาและตำรับยาที่พัฒนาจากกัญชาให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัยและมีประสิทธิผล

      ก่อนหน้านี้การศึกษาวิจัยสารจากกัญชาของมหาวิทยาลับรังสิตนั้น พบว่า สารบริสุทธิ์ที่แยกได้จากกัญชา คือ THC และ CBN มีฤทธิ์ลดการเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็งปอดของมนุษย์ในหลอดทดลองได้ดี ดังนั้นจึงได้ทำการศึกษาผลของ THC และ CBN จากกัญชาต่อเซลล์มะเร็งปอดของมนุษย์ในหนูทดลอง พบว่าการฉีด THC และ CBN ในหนูทดลองที่เหนี่ยวนำให้เกิดเป็นมะเร็งด้วยเซลล์มะเร็งปอดของมนุษย์ ทุกวันเป็นเวลา 3 สัปดาห์ หนูทดลองที่ได้รับสาร THC และ CBN มีขนาดของก้อนมะเร็งเล็กกว่าหนูกลุ่มที่ไม่ได้รับสารอย่างมีนัยสำคัญ  จึงสรุปได้ว่าสาร THC และ CBN จากกัญชามีฤทธิ์ต้านมะเร็งปอดของมนุษย์ได้ทั้งในหลอดทดลองและสัตว์ทดลอง

       นอกจากนี้ ยังมีผลิตภัณฑ์นวัตกรรมต้นแบบจากสารสกัดกัญชาอีก 4 ผลงาน ได้แก่ ยาเม็ดเวเฟอร์จากสารสกัดกัญชา ยาประสะกัญชา น้ำมันกัญชา และแคนนาบินอลสเปรย์ฉีดพ่นในช่องปาก เป็นต้น