ดลมนัส กาเจ
“ ถือเป็นปฐมฤกษ์ ของการปลูกกัญชา ต้นแรกลงสู่ดินโดยเกษตรกรอย่างแท้จริง จากวันนี้ไปเราจะทำแปลงปลูกให้ดีที่สุดทั้งนอกโรงเรือน จำนวน 1,200 ต้น และในโรงเรือน 800 ต้น รวม 2,000 ต้น ให้ได้กัญชาแบบเกษตรอินทรีย์ที่มีคุณภาพทางยาสูงที่สุด จนสังคมไทยและแพทย์ได้เชื่อมั่นในความรู้ของเกษตรกรไทย”
ในที่สุดความพยายามของสภสเกษตรแห่งชาติ ที่พยายามพลักดันให้มีให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษและกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษอื่นๆโดยเฉพาะเน้นที่จะนำพืชสมุนมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์โดยเฉพาะพืชกัญชง-กัญชา และกระท่อม เพื่อเกษตรกรได้มีโอกาสปลูกกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร
จนกระทั่งการประชุมระหว่างสภาเกษตรกรแห่งชาติ ร่วมกับกรมการแพทย์แผนไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) รวมทั้งตัวแทนจากโรงพยาบาล 4 ภูมิภาค จนนำไปสู่การลงนามบันทึกข้อตกลงกับกรมการแพทย์แผนไทย โดยสภาเกษตรกรแห่งชาติจะปลูกกัญชาแบบเกษตรอินทรีย์เท่านั้น ส่งให้กรมการแพทย์แผนไทย เน้นต้องปลอดภัย จึงเสนอการปลูกกัญชาแบบเกษตรอินทรีย์แบบลงทุนให้ฟรี เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์อย่างแท้จริง นำร่อง 4 จังหวัดคือ ลำปาง บุรีรัมย์ กาญจนบุรี และสุราษฎร์ธานี ด้วยพื้นที่ 2 X 2 เมตร 400 ต้น/ไร่ จังหวัดละ 5 ไร่ ปลูกทั้งแบบในโรงเรือนและนอกโรงเรือน ภายใต้ “โครงการขับเคลื่อนการปลูกกัญชานำร่องเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์” มายาวนาน
ล่าสุดโครงการนี้เป็นรูปธรรมธรรมเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2562 กัญชาต้นแรกของประเทศที่ปลูกอย่างถูกต้องในนามวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์เพชรลานนา ต.แม่สุก อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง โดยมี นายก่อพงษ์ โกมลรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นประธานเปิดงานและปลูกต้น “กัญชา” ปฐมฤกษ์ ใน “โครงการขับเคลื่อนการปลูกกัญชานำร่องเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์” งานนี้มีนายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ พร้อมว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ ให้การต้อนรับ และมีผู้แทนจาก กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เกษตรกร ผู้เกี่ยวข้อง ผู้สนใจ เข้าร่วมงานกว่า 300 คนอย่างคึกคัก
รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง กล่าวว่า ดีใจที่ได้เป็นเปิด “โครงการขับเคลื่อนการปลูกกัญชานำร่องเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์” ซึ่งความยอมรับว่าไม่ตค่อยมีความรู้ด้านนี้ แต่มาในครั้งนี้ทำให้ความรู้มากมายเรื่องของกัญชาที่สามารถนำมาใช้ทางการแพทย์อันจะเป็นประโยชน์ต่อคนไทยเป็นอย่างยิ่ง กระนั้นในปปัจจุบัน ยังไม่มีการอนุญาตให้เกษตรกรปลูกเองได้อย่างเสรี เพราะยังมีโทษทางอาญากับผู้เสพและผู้ครอบครอง ต้องรออีกนิด คิดว่าต่อไปจะสามารถกัญชามาใช้ประโดยชน์ต่อวงการแพทย์และตัวเอง แต่ต้องรอสักระหนึ่งก่อน
ด้าน นายประพัฒน์ กล่าวภายหลังพิธีเปิดโครงการฯ ว่า จากการพยายามผลักดันของสภาเกษตรกรแห่งชาติให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษและกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนำไปสู่การแก้ไขพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 ยังผลให้หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการทางเกษตรกรรมเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์หรือเภสัชกรรมเข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษาวิจัยพืชสมุนไพร “กัญชา” เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ได้ ดังนั้น กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข จึงขอความร่วมมือให้สภาเกษตรกรแห่งชาติผลิตพืชสมุนไพร “กัญชา” เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตตำรับยาแผนไทยที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ โดยสภาเกษตรกรแห่งชาติพิจารณาและมีมติเห็นชอบให้สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติกำหนดพื้นที่นำร่อง 4 จังหวัด จังหวัดลำปาง เป็น 1 ใน 4 จังหวัดกลุ่มเป้าหมาย สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลำปางจึงได้พิจารณาและกำหนดให้ “วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์เพชรลานนา” ต.แม่สุก อ.แจ้ห่ม เป็นผู้ผลิตพืชสมุนไพร “กัญชา” ให้กับกรมการแพทย์แผนไทยฯ
เนื่องจากเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และได้จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนหรือกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์เรียบร้อยแล้ว จึงดำเนินการทำการบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการปลูกกัญชาภายใต้โครงการศึกษาวิจัยและนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ระหว่างสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลำปางและวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์เพชรลานนาขึ้น เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เพื่อผลิตพืชสมุนไพร กัญชา ให้กับกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 2,000 กิโลกรัมสด
สำหรับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์เพชรลานนา ได้ดำเนินการขออนุญาตผลิตและครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษ หรือในประเภทที่ 5 จากคณะกรรมการอาหารและยา โดยได้รับใบอนุญาตครอบครองตามหนังสือที่ 36/ 2562 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2562 และใบอนุญาตผลิตหรือปลูกตามหนังสือที่ 12/ 2562 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2562 โดยได้มีการเตรียมความพร้อมด้านโรงเรือนเพาะปลูก แปลงปลูกในพื้นที่ทั้งหมด 4 ไร่ 1 งาน 95 ตารางวา ตามมาตรฐานภายใต้ระเบียบ ข้อบังคับ และกรอบกฎหมายที่ถูกต้อง
“ ถือเป็นปฐมฤกษ์ ของการปลูกกัญชา ต้นแรกลงสู่ดินโดยเกษตรกรอย่างแท้จริง จากวันนี้ไปเราจะทำแปลงปลูกให้ดีที่สุดทั้งนอกโรงเรือน จำนวน 1,200 ต้น และในโรงเรือน 800 ต้น รวม 2,000 ต้น ให้ได้กัญชาแบบเกษตรอินทรีย์ที่มีคุณภาพทางยาสูงที่สุดจนสังคมไทยและแพทย์ได้เชื่อมั่นในความรู้ของเกษตรกรไทย” นายประพัฒน์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม การปลูกครั้งนี้จะเป็นการปลูกเชิงวิจัยที่ประเทศไทยไม่เคยมีมาก่อน เพราะนอกจากจะปลูกในเชิงวิจัยทางการแพทย์แล้ว ยังวิจัยในเชิงพันธุกรรม สายพันธุ์ต้นทุนการผลิตและระบบการปลูกแบบเกษตรอินทรีย์โดยคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะร่วมทำการวิจัยไปจนถึงการใช้พืชสมุนไพร“กัญชา” เพื่อเป็นสารบำรุงสุขภาพให้กับภาคปศุสัตว์ เช่น สุกร ไก่ เป็นต้น จนนำไปสู่เอกสารที่ผ่านการปฏิบัติจริงเพื่อเผยแพร่สู่สาธารณะภายในปี 2563 ต่อไป
สำหรับ กัญชามีสารที่จะนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ 2 ชนิดหลัก ได้แก่ 1. สาร CBD (Cannabidiol) ซึ่งมีฤทธิ์ลดอาการคลื่นไส้อาเจียนและการบวมอักเสบของแผล และ สาร THC (Tetrahydrocannabinol) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยให้ความรู้สึกผ่อนคลายและลดอาการปวด
นับเป็นฤกงามยามดี ที่บ่งบอกถึงอนาคตอันใกล้นี้กัญชามีโอกาสสูงที่เกษตรกรจะได้ปลูกอย่างเสรีภายใต้เงื่อนไขของรัฐ ที่คงไม่เพียงแต่จะมีประโยชน์ต่อวงการแพทย์เท่านั้น หากแต่โครงการถ้าบรรลุตามเป้าหมายตามที่สภาเกษตรกรแห่งชาติกำลังขับเคลื่อนนั้น จะนำไปสู่การสร้างรายได้ให้กับเกษตรอย่างยั่งยืนอีกด้วย