เกษตรกรสุดปลื้ม”บัลลังก์โมเดล”ปลูกข้าวโพดยั่งยืน ได้ผลผลิตสูง ตลาดแน่นอน..ซีพีเอฟ เดินหน้าสู่ปีที่ 4(มีคลิป)

  •  
  •  
  •  
  •  

วรพจน์ สุรัตวิศิษฏ์(คนแรก) และวิเชียร ใกล้สันเทียะ

หลังจากที่บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) ผู้จัดหาวัตถุดิบอาหารสัตว์ให้กับ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ได้ดำเนิน โครงการ “เกษตรกรพึ่งตน ข้าวโพดยั่งยืน” เนรมิต  “บัลลังก์โมเดล” ต้นแบบการปลูกอ้อยที่ยั่งยืน เพื่อยกระดับ และศักยภาพกลุ่มเกษตรกรรายย่อยปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ ต.บัลลังก์ อ.โนนไทย จ.นครราชสีมา ที่ได้นำความรู้และเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่มาใช้ เกษตรกรยอมรับว่า ได้ผลผลิตเพิ่ม และคุณภาพตรงตามความต้องการตลาด ลดต้นทุนที่ชัดเจน ที่สำคัญไม่ต้องกังวลในเรื่องของราคา เพราะถ้าถึงช่วงที่ราคาตกต่ำจริง มีการประกันราคาที่ชัดกเจน กก.ละ 2.90 บาท ส่งให้ช่วยสร้างรายได้ที่มั่นคงได้ ทว่า…กว่าเกษตรกรจะยอมรับนั้นช่วงแรกต้องพิสูจน์ให้เห็นมาถึงว่านี้ “บังลังก์โมเดล” ดำเนินมาแล้ว 4 ปี และจะมีการขยายสู่พื้นที่อื่นต่อไป และได้นำเทคโนโลยีสมัยใหม่ๆมาใช้โดยเฉพาะแอพพลิเคชั่น ในการบริหารจัดการเก็บเกี่ยวและขนส่งเป็นต้น

      ร้อยตรีฐนนท์ธรณ์ กวีกิจรัตนา นายกเทศบาลตำบลบัลลังก์ อ.โนนไทย จ.นครราชสีมา เล่าว่า ในพื้นที่ ต.บัลลังก์ เกษตรกรจะมีอาชีพหลักคือทำนา รองลงมาข้าวโพด ซึ่งที่ผ่านมาอาชีพปลูกข้าวโพดนั้นปลูกการตามชะตากรรมตามที่บรรพบุรุษเคยปลูกปลูกมา ขายให้กับพ่อค้าคนกลาง บางครั้งเกษตรกรถูกเอารัดเอาเปรียบ ทั้งความชื่น และตาชั่ง เมื่อ 4 ปีก่อน ทางทศบาลตำบลบัลลังก์ ได้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ และ บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) ผู้จัดหาวัตถุดิบอาหารสัตว์ให้กับ ซีพีเอฟ ดำเนินโครงการ “เกษตรกรพึ่งตน ข้าวโพดยั่งยืน” นำร่องที่ ต.บัลลังก์ ในรูปแบบ “บัลลังก์โมเดล” อย่างต่อเนื่องถึงปีนี้ เป็นปีที่ 4 มีเกษตรกรรายย่อยเข้าร่วมโครงการ 814 ครอบครัว ครอบคลุมพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รวม 18,000 ไร่

 

     อย่างไรก็ตามในช่วงแรกๆนั้นต้องยอมรับว่า เกษตรกรไม่มีความมั่นใจว่าบริษัทยักษืใหญ่จะเอาจริงเอาจัง ทำให้ครั้งแรกในปี  2559 ที่มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการนี้ เพียง 184 คน พื้นที่ปลูก 4,700 ไร่ แต่หลังจากที่เกษตรกรที่ร่วมโครงการผ่านฤดูการแรก และได้ผลจริง ซึ่งทาง ซีพี มีความจริงในจึงทะยอยร่วมโครงการเพิ่มขึ้น สะท้อนให้เห็นว่า ชาวบ้านมีความเชื่อมั่น ในโครงการ “บัลลังก์โมเดล” และมีเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงเข้ามาขอศึกษารูปแบบเพื่อนำไปขยายผลต่อเนื่อง จนวันนี้เกษตรกรได้พบกับตัวเองว่า ดีกว่าที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตามลำพังอย่างในอดีต เพราะทางซีพีได้ให้ความรู้ในการปลูกข้าวโพดอย่างถูกวิธี ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นชัดเจน และมีตลาดที่แน่นอน


     “ผลลัพธ์ที่ได้รับจาก บัลลังก์โมเดล มากกว่าช่วยเพิ่มผลผลิตต่อไร่และลดต้นทุนการผลิต เกษตรกรมีความรู้และมีเทคโนโลยีช่วยยกระดับผลผลิตให้มีคุณภาพสูงขึ้นช่วยให้ขายได้ราคา ขณะเดียวกันสามารถรับมือกับความเสี่ยง ทั้งภัยแล้งและโรคระบาดได้ สุขภาพของคนในชุมชนดีขึ้น และลดผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมลงได้จากการเลิกเผาตอซัง”นายกเทศบาลตำบลบัลลังก์ กล่าว

                                                              วรพจน์ สุรัตวิศิษฏ์ (ขวาสุด)

   ด้านนายวรพจน์ สุรัตวิศิษฏ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ตลอดระยะ 4 ปีของการดำเนินโครงการ “บัลลังก์โมเดล” บริษัทฯ ส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกร พร้อมกับสนับสนุน เครื่องจักรและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วยยกระดับการผลิตอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ บริษัทฯ ได้นำแอพพลิเคชั่น มาช่วยในการบริหารจัดการการเก็บเกี่ยวและขนส่งร่วมกันแก่เกษตรกรในพื้นที่ตำบลบัลลังก์และใกล้เคียง เน้นการใช้รถเกี่ยวและรถขนส่งในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการกระจายรายได้ระหว่างคนในชุมชน พร้อมส่งเสริมการใช้โดยบวกเงินรับซื้อผลผลิตเพิ่มอีก 10 สตางค์ต่อกิโลกรัมจากการใช้แอพพลิเคชั่นและนำผลผลิตมาขายให้โรงอาหารสัตว์ซีพีเอฟโดยตรง

    “การนำเทคโนโลยีมาใช้ จะช่วยให้บริษัทสามารถตรวจสอบย้อนกลับพื้นที่ปลูกของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้แม่นยำขึ้น ช่วยสนับสนุน เป้าหมายสูงสุดของโครงการ ที่ต้องการพัฒนามาตรฐานการปลูกข้าวโพดของเกษตรกรไทย สร้างรายได้ที่มั่นคง นำไปสู่การแก้ปัญหาความยากจนและวัฏจักรหนี้สิน รวมทั้งสนับสนุนนโยบายการไม่รับซื้อข้าวโพดจากพื้นที่ผิดกฎหมายหรือรุกป่า ตามแนวทางการจัดหาที่ยั่งยืนของซีพีเอฟ” นายวรพจน์ กล่าว

    “บัลลังก์โมเดล” นับเป็นแห่งแรกของประเทศไทย ที่มีการผนึกพลังภาครัฐ เกษตรกร และเอกชน ช่วยยกระดับการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรรายย่อยแบบครบวงจร ตั้งแต่การปลูกจนถึงมีตลาดรองรับ มีการบริหารจัดการแบบแปลงใหญ่ โดยเป็นโครงการที่ต่อยอดจาก โครงการ “เกษตรกรพึ่งตน ข้าวโพดยั่งยืน” ที่ริเริ่มตั้งแต่ปี 2557 เพื่อฝึกอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรปลูกข้าวโพด รู้จักการวิเคราะห์ดินด้วยตนเอง นำไปสู่การใช้ปุ๋ยและจัดการพื้นที่ปลูกที่ถูกต้อง ผลผลิตเพิ่ม ต้นทุนลด และ ไม่เผาตอซัง จนถึงปัจจุบัน มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ เข้ารับการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีแล้ว 9,449 คน รวมพื้นที่เพาะปลูก 239,921 ไร่ ใน 20 จังหวัดทั่วประเทศ

วิเชียร ใกล้สันเทียะ

นายวิเชียร ใกล้สันเทียะ หนึ่งในเกษตรกรที่ร่วมโครงการเกษตรกรพึ่งตน ข้าวโพดยั่งยืน ที่ ต.บัลลังก์ อ.โนนไทย ในยุคแรกๆ บอกว่า ยึดอาชีพปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มากว่า 30  ปีแล้ว มีพื้นที่ปลูกข้าวโพด 150 ไร่เป็นที่ทำกินของตัวเอง 60 ไร่ที่เหลือเช่าคนอื่น เดิมทีปลูกแบบเดิมๆมีผลผลิตค่อนข้างต่ำ ผลผลิตที่ได้มาขายให้พ่อค้าคนกลาง ซึ่งบางครั้งถูกกดราคาโดยอ้างว่าความชื้นสูง บางทีตาชั่งไม่ตรงกับที่ช่างกันเอง แต่ต้องยอมเพราะปลูกแล้วถึงอย่างไรก็ต้องขาย พอเห็น บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) ซึ่งทราบว่า เป็นของซีพีเอฟ เข้ามาส่งเสริมโครงการเกษตรกรพึ่งตน ข้าวโพดยั่งยืน ซึ่งเป็นบริษัทใหญ่ที่มีความพร้อมเลยตัดสินใจร่วมโครงการทันที

       “ผมอยู่ที่บ้านเมืองเก่า หมู่ 12 ต.บัลลังก์ ตอนแรกๆมีเพื่อนบ้านเข้าร่วมโครงการกว่า 10 รายเพราะบางคนไม่มั่นใจ ผมเห็นว่า ไม่น่าจะมีอะไรเสียหาย เพราะเราไม่จำเป็นต้องขายให้ซีพี เพราะเขาไม่บังคับ พอลองดูเกินความคาดหมาย เพราะซีพีสอนเราทุกขั้นตอนที่เรามองข้าม เริ่มจากให้วิเคราะห์ดินก่อนว่าเหมาะสมอย่างไร ขาดอะไร เกินอะไร จากนั้นให้ไถ่กลบตอซัง เน้นเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ การดูแล การให้ปุ๋ย ปีแรกผลผลิตเพิ่มชัดเจนครับได้ไร่ละเกือบตัน พอปีต่อมาได้ไร่ละ 1,200-1,300  กก.ถ้าราคาตกต่ำซีพีประกันให้ กก.ละ 7.90 บาท แต่ทุกวันนี้ราคาสูงกว่าอยู่แล้ว พอเราทำตามหลักวิชาการที่ซีพีแนะนำ พบว่า นอกจากผลผลิตเพิ่มขึ้นแล้ว ต้นทุนลดลง ทำให้ตอนนี้ในหมู่บ้านผมร่วมโครงการทั้งหมู่บ้านแล้ว” นายวิเชียร กล่าว (รายละเอียดในคลิป)

      สอดคล้องกับ นายสุริยันต์ ทองนาค ที่ร่วมโครงการขยายผลที่บ้านหัวทำนบ  ต.พังเทียม อ.กิ่งพระทองคำ จ.นครราชสีมา บอกว่า หลังจากที่ได้ร่วมโครงการเกษตรกรพึ่งตน ข้าวโพดยั่งยืนแล้ว ทำให้มีความรู้ด้านเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้ในการเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่เขายึดอาชีพนี้มากว่า 20 ปีแล้วในพื้นที่ 170 ไร่ เป็นพื้นที่เช่า 150 ไร่ และผลที่ตามมาคือได้ผลผลิตที่สูงขึ้นกว่า 1 ตันต่อไร่ ต้นทุนลดลง ตลาดมีแน่นอน และคงจะร่วมอยู่กับโครงการต่อไป

     “โครงการเกษตรกรพึ่งตน ข้าวโพดยั่ง” ที่ดำเนินการโดย บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน)นั้น นับเป็นอีกหนึ่งโครงการที่ไม่เพียงแต่จะมีการประกันราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในยามที่ผลผลิตตกต่ำ ที่การันตีรายได้ให้กับเกษตรกรที่ชัดเจน หากแต่โครงการนี้ยังเป็นการพัฒนาทักษะในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆที่เข้าถึงเกษตรกรอีกด้วย ซึ่งจะเป็นหนทางในการพัฒนาภาคการต้นที่ต้นน้ำที่ตุณภาพและยั่งยืนต่อไป