แนวทางพิชิต”หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด”มหันตภัยร้ายของเกษตรกร

  •  
  •  
  •  
  •  

ดลมนัส กาเจ

 

        การแพร่ระบาดของหนอนข้าวโพดลายจุดเป็นศัตรูสำคัญของข้าวโพด นอกจากนี้ยังมีพืชอาหารมากกว่า 80 ชนิดอีกด้วย เช่น ข้าว อ้อย ข้าวฟ่าง พืชตระกูลถั่ว มะเขือเทศ มันฝรั่ง ยาสูบ ฝ้าย ทานตะวัน กล้วย กระเทียม ขิง มันเทศ พริก พืชตระกูลกะหล่ำ พืชตระกูลแตง และพืชผักเป็นต้น”

            ตอนนี้การระบาดของ “หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด” (Fall armyworm ; Spodoptera frugiperda JE Smith) ทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ และเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง เพราะมีการระบาดอย่างรวดเร็วกินพื้นเพาะปลูกข้าวโพดเกินครึ่งหนึ่งแล้ว ที่ปัญหาการกำจัดยากมาก แม้แต่ในข้าวโพดบีทีก็ระบาดเช่นกัน

         ล่าสุดทางสมาคมฯ นวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย จับมือภาครัฐ ได้ติดอาวุธเกษตรกรในฤดูปลูกข้าวโพดด้วยการให้ข้อมูลเกี่ยว“หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด”  เพื่อให้เกษตรกรได้เตรียมตัวในการป้องกัน โดยมีข้อมูลระบุถึงเกี่ยวกับหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด (Fall armyworm ; Spodoptera frugiperda JE Smith)ถึงที่มาและวิธรป้องกันและการกำจัดด้วย

        การแพร่ระบาดของหนอนข้าวโพดลายจุดเป็นศัตรูสำคัญของข้าวโพด นอกจากนี้ยังมีพืชอาหารมากกว่า 80 ชนิดอีกด้วย เช่น ข้าว อ้อย ข้าวฟ่าง พืชตระกูลถั่ว มะเขือเทศ มันฝรั่ง ยาสูบ ฝ้าย ทานตะวัน กล้วย กระเทียม ขิง มันเทศ พริก พืชตระกูลกะหล่ำ พืชตระกูลแตง และพืชผักระบาดทั่วไปในทวีปอเมริกา ระบาดสู่แอฟริกาในปี 2559 และเมื่อปี 2561 มีรายงานการระบาดในอินเดีย

        วงจรชีวิตของหนอนกระทู้(Fall armyworm) มีระยะเวลา 30-40 วัน เมื่อผสมพันธุ์แล้ว ผีเสื้อเพศเมียจะวางไข่ในเวลากลางคืน โดยวางไข่เป็นกลุ่ม ประมาณ 100-200 ฟอง มีขนปกคลุมไข่ ผีเสื้อเพศเมียหนึ่งตัววางไข่ได้ประมาณ 1,500-2,000 ฟอง ระยะไข่ 2-3 วัน  หนอนมี 6 วัย ระยะหนอน 14-22 วัน หนอนที่โตเต็มที่มีขนาดลำตัวยาว 3.2-4.0 เซนติเมตร จะทิ้งตัวลงดินเพื่อเข้าดักแด้  ระยะดักแด้ 7-13 วัน จึงเป็นตัวเต็มวัย มีชีวิต 10-21 วัน  ตัวเต็มวัยบินได้ไกล เฉลี่ย 100 กิโลเมตร ต่อคืน

          ผีเสื้อหนอนกระทู้ (Fall Armyworm) เริ่มวางไข่บนต้นข้าวโพด ตั้งแต่ข้าวโพดงอก อายุประมาณ 3-4 วัน โดยพบกลุ่มไข่ทั้งด้านบนใบ ใต้ใบ และที่ต้น  หลังจากฟักจากไข่ หนอนขนาดเล็กจะรวมกลุ่มกัดกินผิวใบ เห็นเป็นรอยทำลายสีขาวที่ผิวใบเมื่อข้าวโพดอายุ 6-7 วัน (10-11 วันหลังปลูก) ลักษณะเป็นจุดหรือเป็นแถบสีขาว หนอนตัวเล็กที่เพิ่งฟักสามารถกระจายไปยังต้นข้างเคียงโดยปลิวไปกับลม หนอนเข้าไปกัดกินอยู่ในส่วนยอดของข้าวโพด

          ในสภาพที่อากาศร้อนจัด ก่อนเข้าสู่ฤดูฝน (เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน)  อุณหภูมิ 36-41 องศา หนอนที่อายุประมาณ 5 วัน จะลงมาอยู่ใต้ดินบริเวณโคนต้น และกัดกินเนื้อเยื่อเจริญส่วนโคนต้น ทำให้ยอดข้าวโพดแสดงอาการเหี่ยว ต้นตาย ต้นที่ยอดตายบางต้นมักจะมีการแตกหน่อข้าง แต่ถ้าสภาพดินเปียกหรือแฉะ หรือช่วงอากาศเย็นในการผลิตข้าวโพดฤดูแล้งหลังนา หนอนจะไม่ลงมาทำลายใต้ดินบริเวณโคนต้น มักไม่พบอาการยอดเหี่ยว

         

         การปลูกข้าวโพดในฤดูฝน หากมีการกระจายของฝนดี ต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ ความรุนแรงในการระบาดของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดจะลดลง ฝนที่ตกหนักจะชะกลุ่มไข่ หรือ หนอนขนาดเล็กที่เพิ่งฟัก หรือทำให้หนอนที่อยู่ในดินซึ่งกำลังจะเข้าดักแด้ รวมทั้งดักแด้ที่อยู่ในดินมีชีวิตรอดน้อยลง ทำให้สามารถเว้นระยะห่างในการพ่นสารและลดจำนวนครั้งในการพ่นสารลงได้  อย่างไรก็ตามยังต้องมีการติดตามสำรวจแปลงอย่างอย่างสม่ำเสมอ

        หนอนวัย 3-6 เป็นระยะที่ทำความเสียหายมาก โดยกัดกินอยู่ในยอดข้าวโพด  ระยะก่อนที่ดอกตัวผู้จะโผล่หนอนจะกัดกินเกสรตัวผู้ หลังจากใบยอดคลี่ทั้งหมด ดอกตัวผู้โผล่ หนอนจะย้ายไปกัดกินไหม และเจาะเปลือกหุ้มฝักเข้าไปกัดกินภายในฝัก ดังนั้นจึงควรป้องกันกำจัดก่อนระยะติดดอก ออกฝัก (ช่วงหลังงอก – 45 วัน )  เพื่อลดปริมาณหนอนให้ได้มากที่สุด การพ่นสารในระยะออกฝัก หรือระยะสะสมน้ำหนักเมล็ด เนื่องจากหนอนได้เข้าไปอยู่ในฝัก การพ่นสารจึงไม่มีประสิทธิภาพในการกำจัดหนอน

        ในข้าวโพด พบว่าผีเสื้อหนอนกระทู้ (Fall Armyworm)มาวางไข่บนใบข้าวโพดอย่างต่อเนื่อง โดยจะวางไข่มากในช่วง 3 สัปดาห์แรกหลังข้าวโพดงอก  ดังนั้นจึงต้องมีการสำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นข้อมูลในการป้องกันกำจัดได้ทันสถานการณ์

        เกษตรกรที่ปลูกข้าวโพด จึงควรหมั่นสำรวจแปลงหลังจากข้าวโพดงอก สังเกตกลุ่มไข่ และรอยทำลายสีขาวที่ผิวใบ  เมื่อพบต้นถูกทำลาย  ป้องกันกำจัดตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร

วิธีการป้องกันและกำจัด

      1.เก็บกลุ่มไข่ หรือ ตัวหนอนทำลายทิ้ง ทำลาย 1 กลุ่มไข่ เท่ากับทำลายหนอน 100-200 ตัว

      2.คลุกเมล็ดด้วยสารไซแอนทรานิลิโพรล 20% เอสซี (กลุ่ม 28) อัตรา 20 ซีซี/เมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัมแล้วค่อยพ่นสารทางใบต่อเมื่อพบหนอนหรือการระบาด

      3.เมื่อพบหนอนขนาดเล็กที่เพิ่งฟักจากไข่ พ่นด้วยสารชีวภัณฑ์ ได้แก่ เชื้อบีที สายพันธุ์ไอซาไว หรือสายพันธุ์ เคอร์สตาร์กี้ อัตรา 80 กรัม/น้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 4-7 วัน

  1. ในแปลงที่ไม่ใช้สารเคมี ใช้แมลงตัวห้ำ เช่น แมลงหางหนีบ หรือ มวนเพชฌฆาต หรือ มวนพิฆาต
  2. ใช้สารป้องกันกำจัดแมลง พ่นทางใบ

ข้อมูลจาก : กรมวิชาการเกษตร  สายด่วนเฝ้าระวังหนอนกระทู้ Fall Armyworm กรมวิชาการเกษตร โทร. 061 4152517