ตื่นเกษตรยุคใหม่ร่วมงาน”Agri Forum 2019 เกษตรปลอดการเผา”นับพัน“ประภัทร”การันตี 3 ปีไร้เผาแน่นอน(มีคลิป)

  •  
  •  
  •  
  •  


“สยามคูโบต้า”จับมือ 3 องค์กรพันธมิตร “กระทรวงเกษตรฯ- กระทรวงอุตสาหกรรม-ธ.ก.ส.” เปิดเวทีสัมมนาใหญ่แห่งปี “Agri Forum 2019 เกษตรปลอดการเผา” ภายใต้แนวคิด “The World of Unburnt Farm” จัดเต็มวิทยากรจากทุกภาคส่วนร่วมถ่ายทอดความรู้ เพื่อกระตุ้นเกษตรกรไทยทำเกษตรแบบไม่เผา ผ่านเกษตรกรต้นแบบ ท่ามกลางผู้ในสนร่วมงานนับพันคน ณ ฮอลล์ 5 อิมแพค เมืองทองธานี รัฐมนตรีช่วยเกษตรฯ”ประภัทร โพธสุธน” มั่นใจนโยบายรัฐบาลอีก 3 ปีเกษตรปลอดการเผา 100% เป็นไปได้สูง

            วันที่ 31 กรกฎาคม 2562 บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ร่วมกับกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์   สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาฟหกรรมและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จัดงานสัมมนา หัวข้อม “Agri Forum 2019 เกษตรปลอดการเผา” ภายใต้แนวคิด “The World of Unburnt Farm” โดยมีนายประภัทร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาเป็นประธานเปิดงาน ซึ่งภายในงานมีการปาฐกถาพิเศษ กิจกรรมเสวนา และนิทรรศการเกี่ยวกับการทำเกษตรแบบปลอดการเผา โดยมีผู้รวมงานจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและเกษตรกรมาร่วมเสวนาในครั้งนี้กว่า 1,000 คน

           นายประภัทร กล่าวว่า ปัญหาการเผาในภาคการเกษตรที่พบเห็นมาที่สุดคือไร่อ้อยและนาข้าว ส่วนใหญ่จะมีการเผาก่อนที่จะตัดอ้อย เพื่อความสะดวกและรวดเร็วเนื่องไม่มีเทคโนยีอย่างมาช่วยประกอบกับปัญหาการขาดแรงงาน ส่วนนาข้าวนั้นจะเผาต่อซัง เนื่องง่ายต่อการที่จะไถ แต่ปัจจุบันมีเทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วย เช่นเครื่องสางใบอ้อยของคูโบต้า มาแนทนการเผา ทำให้เกษตรกรหันมาใช้สนใจในเครื่องจักรกลการเกษตรมากขึ้น ที่สำคัญปัจจุบันมีการอัดใบอ้อย สามารถขายได้ตันละ 1,000 บาท พอเกษตรกรเห็นเป็นตัวเงิน มีตลาดซื้ออย่างแน่นอน ประกอบกับการขายอ้อยที่ไม่เผาได้ราคาดีกว่า เกษตรกรแทบไม่การเผาใบอ้อยอีกต่อไป ส่วนฟางข้าวมีการรณรงค์ไถกลบ มีเครื่องจักรพร้อมเกษตรกรเห็นความสำคัญของฟางที่ไถกลบจะเป็นจุลิมนทรีย์บำรุงดินได้ ทำให้การเผาทั้งไร่อ้อยและนาข้าวน้อยลงเห็นได้ชัดเจน

           “นโยบายรัฐบาลภายใน 3 ปีการทำเกษตรปลอดการเผา 100 % เป็นไปได้สูงครับ พื้นที่ราบผมไม่ห่วง เพราะใบอ้อยอัดแล้วขายได้ เกษตรกรเพิ่มรายได้ ฟางอัดเป็นก้อนก็ขายได้ เกษตรเห็นว่ามีประโยชน์มีรายเพิ่ม คงไม่มีการเผา ที่น่าเป็นห่วงคือการทำไร่บนด้อย ซึ่งไม่มีเครื่องจักรการเกษตร ไม่มีที่ขายใบอ้อย เราควรที่จะสนับสนุนและส่งพื้นที่การเกษตรบนที่สูงด้วย” นายประภัทร กล่าว

           ด้านนายสมศักดิ์ มาอุทธรณ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า สยามคูโบต้าจัดงานสัมมนา Agri Forum ขึ้น ซึ่งเป็นงานสัมมนาครั้งใหญ่ประจำปีที่สยามคูโบต้าได้จัดมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนด้านองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ในด้านต่างๆให้แก่เกษตรกรไทย ได้พัฒนาการทำเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างสูงที่สุด

         โดยในปีนี้ งานสัมมนา Agri Forum 2019 เกษตรปลอดการเผา ได้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด The World of Unburnt Farm โดยได้จับมือกับ 3 พันธมิตรหน่วยงานภาครัฐในเรื่องข้าว อ้อย และสินเชื่อเพื่อเกษตรกร รวมถึงหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยผลักดันเชิงนโยบายและการจัดกิจกรรมในพื้นที่จริงให้เป็นไปตามเป้าหมายของโครงการเกษตรปลอดการเผา Zero Burn ลดปัญหามลพิษที่เกิดจากการเผาในที่โล่งของภาคการเกษตร ซึ่งตั้งเป้าพื้นที่ภาคการเกษตรของไทยกว่า 140 ล้านไร่ ให้ปลอดการเผา 100% ภายในระยะเวลา 3 ปี

        ในงานสัมมนา Agri Forum 2019 เกษตรปลอดเผา มีการปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ แนวทางการขับเคลื่อนภาคการเกษตรไทยอย่างยั่งยืน ซึ่งในงานสัมมนาแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 Showcase Best Practice: หัวข้อ ถ้าวันนั้น…ไม่หยุดเผา การสัมภาษณ์เกษตรกรต้นแบบในการปลูกข้าวและอ้อยแบบปลอดการเผา ที่เปลี่ยนจากการทำการเกษตรแบบเดิมมาเป็นแบบรักษ์โลก ช่วงที่ 2 Government Policy: Lecture of Pollution Problem and Policy ปาฐกถาพิเศษจากผู้แทนภาครัฐด้านนโยบายและโครงการสนับสนุนเกษตรปลอดการเผาเพื่อเกษตรกร โดย กรมการข้าว หัวข้อ ข้าวไทย..ไปต่อไม่รอแล้วนะ สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย หัวข้อ ชาวไร่อ้อย 4.0 ของ มัน ต้อง เป็น และสยามคูโบต้า หัวข้อ Zero Burn Solution: เทคโนโลยีเกษตรปลอดการเผาเพื่ออนาคต

       ช่วงสุดท้ายเป็นช่วงที่ 3 Panel Discussion: หัวข้อ Agri Circular Economy คิดก่อน…(เผา)…ทิ้ง เสวนาที่ช่วยสร้างความยั่งยืนทั้งด้านสิ่งแวดล้อม (ดิน,อากาศ) และสุขภาพ เพื่อเพิ่มรายได้จากการนำสิ่งเหลือใช้มาสร้างประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม โดยกรมควบคุมมลพิษ กรมพัฒนาที่ดิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และสยามคูโบต้า

          นอกจากนี้ยังมีนิทรรศการเกี่ยวกับการทำการเกษตรแบบปลอดการเผา การสร้างรายได้จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหลังการเก็บเกี่ยว เช่น ฟางข้าว ตอซังข้าว ใบอ้อย และใบข้าวโพด โดยแบ่งออกเป็น 2 โซน ได้แก่ โซน Zero Burn Solution ด้วยวิธี KUBOTA (Agri) Solutions พืชข้าวและอ้อย ด้วยการนำเอานวัตกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร Machinery Solutions และองค์ความรู้ด้านการเกษตร Knowledge Solutions มาปรับใช้ และโซนZero Burn Benefits นิทรรศการให้ความรู้และประโยชน์ของการทำเกษตรแบบปลอดการเผา จากหน่วยงานภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อรณรงค์ให้เกษตรกรทั่วประเทศเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการทำเกษตรที่ไม่เผา ตลอดจนการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่วัสดุเหลือใช้หลังการเก็บเกี่ยว

                                 (จากขวา) อภิรมย์ สุขประเสริฐ-สมศักดิ์ มาอุทธรณ์-วรวรรณ ชิตอรุณ-ขจร เราประเสริฐ

       ส่วนนางวรวรรณ ชิตอรุณ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) กล่าวว่า ในฐานะหน่วยงานหลักในการกำหนดนโยบาย กำกับ ดูแล ส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยน้ำตาลทราย อุตสาหกรรมต่อเนื่องและอุตสาหกรรมชีวภาพ จึงได้นำเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ต่อคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีมติรับทราบและเห็นชอบเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2562 โดยจะดำเนินการใน 3 เรื่องหลัก ได้แก่ 1.มาตรการทางกฎหมาย 2.การสนับสนุนทางการเงินจากภาครัฐ และ 3.มาตรการภาคสมัครใจ นอกจากนี้ยังได้ลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกับสยามคูโบต้า องค์กรชาวไร่อ้อย สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย เพื่อกำหนดแนวทางจัดการเกษตรแบบปลอดการเผาในอ้อย เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2562 ที่ผ่านมาอีกด้วย สำหรับงานสัมมนา Agri Forum 2019 ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นให้เกษตรกรได้เห็นอุปกรณ์ เทคนิคและนวัตกรรมให้นำไปปรับใช้ ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการเงิน ที่จะนำไปสู่การเกษตรแบบปลอดการเผาอย่างยั่งยืน

            นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 4 และ 10 กรกฎาคม 2562 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงร่วมกับสยาม คูโบต้า เพื่อกำหนดแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรในการปล่อยสินเชื่อซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร ในโครงการเกษตรปลอดการเผา นอกจากนี้ธนาคารยังมีผลิตภัณฑ์สนับสนุนโครงการดังกล่าวเพิ่มเติม ได้แก่ สินเชื่อสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Green Credit) สินเชื่อเพื่อปรับโครงสร้างการผลิตการเกษตรสู่ความยั่งยืน

     “ในงานสัมมนา Agri Forum 2019 ธนาคารพร้อมที่จะสนับสนุนและดูแลเกษตรกร โดยเฉพาะเกษตรกรปลูกข้าวโพดที่ยังไม่มีเจ้าภาพในขณะนี้ เพราะถือว่าเป็นโอกาสที่ดีในการสร้างการรับรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมภาคการเกษตรที่ทันสมัย เพื่อตอบโจทย์แนวโน้มการตลาดของสินค้าเกษตรในปัจจุบันที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้นควบคู่ไปกับการช่วยลดปัญหามลพิษ” นายอภิรมย์ กล่าว

      ขณะที่ นายขจร เราประเสริฐ รองอธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า กรมการข้าวได้ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) กับสยาม คูโบต้าเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2562 เพื่อให้ความรู้ ส่งเสริม และทำกิจกรรมร่วมกันในการสนับสนุนชาวนาทำเกษตรแบบปลอดการเผา โดยกรมการข้าวได้วางมาตรการหลักไว้ 3 เรื่อง ได้แก่ 1.ส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้ให้ชาวนา

       2.การสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน และ 3.มาตรการทางกฎหมาย โดยในปี 2562 นี้มีเป้าหมายนำร่องใน 6 จังหวัด ได้แก่ สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี ชัยนาท และปทุมธานี ก่อนจะขยายไปทั่วประเทศ ซึ่งในงานสัมมนา Agri Forum 2019 กรมการข้าวได้ร่วมนำเสนอด้านนโยบายและโครงการสนับสนุนเกษตรปลอดการเผาเพื่อเกษตรกร

            สำหรับท่านที่สนใจ สามารถติดตามถ่ายทอดสดสัมมนา Agri Forum 2019 เกษตรปลอดการเผา ย้อนหลังได้ที่เฟซบุ๊ค Siam Kubota Club