ดลมนัส กาเจ
จากการที่กรมกเจรจาการค้าระหว่างประเทศร่วมกับสภาเกษตรกรแห่งชาติ ดำเนิน โครงการ “การเพิ่มศักยภาพเกษตรกรในยุคการค้าเสรี” ลงพื้นที่ครั้งล่าสุด (ครั้งที่ 6) เพื่อพบปะหารือกลุ่มเกษตรกรภาคใต้ พร้อมแนะนำให้เกษตรได้พัฒนาคุณภาพ มาตรฐานสินค้า และแปรรูปสินค้าเกษตรโดยหวังที่อาศัยข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับ 18 ประเทศส่งสินค้าเกษตรจากชุมชนไปยังตลาดโลก ระหว่างวันที่ 22-24 กรกฎาคม 2562 ที่ผ่านมา และได้มีการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ช่องทางรวยของสินค้าเกษตรจากเอฟทีเอ” และ “ทำอย่างไรให้สินค้าเกษตรสู่ตลาดเอฟทีเอ” ณ โรงแรม บีพี สมิหลา บีซ แอนด์ รีสอร์ท อำเภอเมืองสงขลา
การลงพื้นที่ในครั้งนี้พบว่าผลิตทางเกษตรอย่างที่น่าสนใจ คือ “ส้มจุกจะนะ” เป็นไม้ผลเศรษฐกิจมาแต่โบราณแต่ปัจจุบันกลายเป็นไม้ที่หาได้มาก ส่วนที่เรียกว่าส้มจุกนั้นเป็นเพราะผลส้มมีลักษณะกลมมน บางผลเป็นหยุดน้ำนิดๆ ด้านบนของผลเป็นจุกขึ้นไป ขนาดของผลอยู่ที่ 3-6 ผลต่อ/กก.
สายฝน สอระมัน นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรอำเภอจะนะ จ.สงขลา บอกว่า ปัจจุบันในพื้นที่ อ.จะนะ ทั้งอำเภอ มีการปลูกส้มจุกจะนะเพียงกว่า 300 ไร่เท่านั้น ส่วนใหญ่จะอยู่ใน ต.บ้านนา และกระจายไปที่ ต.ป่าฉิงด้วย ในแต่ละปีมีผลผลิตไม่มากนักจึงเป็นที่ต้องการของเกษตรตลาดและผู้ที่จะซื้อต้องซื้อผ่านออนไลน์เท่านั้น เกษตรกรขายกันในราคา กก.ละ 200 บาท ต้องรอคิวจัดส่งให้ด้วย (รายละเอียดในคลิป)
จากการสอบถามเกษตรกรบ้านแค ต.บ้านนา อ.จะนะ บอกว่าที่ส้มจุกจะนะลดน้อยลงเกิดจากในอดีตราคาไม่ชัดเจน พอไม้ผลอย่างอื่นมาแรง อาทิเงาะโรงเรียน ทุเรียนหมอนทอง ราคาดี เกษตรหันหันไปปลูกไม้ผลอย่างอื่นตาม ปัจจุบันได้เริ่มปลูกมาใหม่ แต่ยังมีปริมาณที่น้อยมีเพียง 300 กว่าไร่เท่านั้น แปลงใหญ่ที่สุดอยู่ราวรายละ 12-14 ไร่ ปลูกขนาดตั้งแต่ 8×8 เมตรจะได้ 24 ต้น บางรายปลูกขนาด 6×6 เมตร และ 5×6 เมตร และบางรายปลูกขนาด 5×5 เมตร จะได้ไร่ละกว่า 40 ต้น แต่ละต้นจะให้ผลผลิต ถ้าอายุ 5 ปีขึ้นไปจะให้ผลผลิตเฉลี่ยว 30-40 กก.แต่ถ้า 7 ปีไปแล้วจะได้เพิ่มขึ้นอีก หากผลผลิตดีเกษตรกรจะมีรายได้ไร่ละกว่า 2 แสนบาท
“ถามว่าปลูกส้มจุกจะนะปลูกยากหรือไม่ มันก็ไม่ยาก แต่ต้องดูแลที่สำคัญการปลูกแต่ละที่รสชาติต่างกัน รสชาตที่ดีที่สุดคือหวานอมเปรี้ยว เนื้อกรอบ เปลือกหอมมาก เวลาปลูกต้องทำดินเป็นเนิน อย่าให้โคนต้นแฉะน้ำเพราะรากจะเน่า ถือเป็นต้นไม้ที่ชอบน้ำ แต่ไม่ชอบแฉะจึงต้องตั้งระบบน้ำด้วยสปริงเกอร์ พอเวลาออกผลต้องใช้โฟร์มตะข่ายห่อมิฉะนั้นแมลงวันทองจะเจาะเกิดความเสียหายได้ ส่วนการใส่ปุ๋ยนิยมปุ๋ยคอกปีละ 3 ครั้งเสริมด้วยปุ๋ยชีวภาพ” เกษตรกรชาวสวนส้มจุกจะเล่าให้ฟัง
ด้าน บุณิกา แจ่มใส่ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาความพร้อมทางการค้า กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าว ตามที่กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศร่วมกับสภาเกษตรกรแห่งชาติลงพื้นที่ อ.จะนะไปพบเกษตรกรชาวสวนส้มจุกจะนะ ทราบว่า ตอนนี้ทางสำนักงานเกษตรอำเภอ ร่วมกับจังหวัดยื่นขอขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications หรือ GI) กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณา (รายละเอียดในคลิป)