ไอหยา!! เกษตรกรเมินปลูกพืชใช้น้ำน้อย..แห่ทำนาปรังเหมือนเดิม (คลิป)

  •  
  •  
  •  
  •  

ไอหยา!!เกษตรกรเมินปลูกพืชใช้น้ำน้อยในฤดูแล้ง ยังเหลือพื้นที่เพาะปลูกที่กระทรวงเกษตรฯส่งเสริมอีกกว่า 3 ล้านไร่ แต่กลับแหไปทำนาปรังเหมือนเดิม พบในเขตพื้นที่ชลประทานเกินโควต้าแล้ว 4 แสนไร่ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร “ดาเรศร์ กิตติโยภาส” วอนเกษตรกรหยุดปลูกข้าวไว้ก่อน หวั่นน้ำไม่เพียงพอ ขอให้ปลูกข้าวโพด-พืชผักสวนครัวดีกว่า ระบุประหยัดน้ำได้ถึง 3 เท่าตัว แนะหากมีปัญหาด้านการตลาดสามารถใช้แอปฯหรือประสานสำนักเกษตรในพื้นที่ได้

ดร.ดาเรศร์ กิตติโยภาส รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยกับ “เกษตรทำกิน” ว่า ช่วงนี้กำลังอยู่ในช่วงหน้าแล้ง จึงใครขอให้เกษตรกรปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยแทนการปลูกข้าวรอบสอง (นาปรัง)เนื่องจากพื้นที่การเพาะปลูกที่กระทรวงเกษตรฯได้จัดทำแผนการปลูกพืชฤดูแล้งเพื่อกำหนดทิศทางและดำเนินงานให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำที่มีเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการปลูกพืชของเกษตรกรที่อาจเกิดความเสียหายจากภาวะภัยแล้งในพื้นที่กำหนดไว้สำหรับการเพาะปลูก 16.08 ล้านไร่ ที่เริ่มจากวันที่ 1 พฤศจิกายน-30 เมษายน 2562 นั้น

ปรากฏว่า ปัจจุบันเกษตรกรทำการปลูกพืชไปแล้ว 13.4 ล้านไร่ ยังเหลือพื้นที่อีกกว่า 3 ล้านไร่ ในส่วนของพืชใช้น้ำน้อยนั้นยังไม่เข้าเป้า แต่การทำนาปรังกลับรวดเร็วมาก ปัจจุบันมีการปลูกข้าวถึง 11.02 ไร่จากโควต้าให้ปลูก11.2 ล้านไร่หรือปลูกแล้วกว่า 98 % ในขณะที่พืชอย่างอื่นที่ใช้น้ำน้อยยังมีพื้นที่เพาะปลูกอีกจำนวนมาก อย่างข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปลูกไปเพียง 7.4 แสนไร่เท่านั้น

ดังนั้นจึงขอความร่วมมือกับเกษตรกรให้ยุติการขยายพื้นที่ปลูกข้าวในช่วงนี้ ให้หันไปปลูกพืชอย่างอื่นที่ใช้น้ำน้อยกว่า และมีรายได้ดีกว่า ไม่ว่าจะเป็นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ หรือพืชผักอย่างอื่นที่ตลาดต้องการ เนื่องจากปัจจุบันทางกระทรวงเกษตรฯ ได้จัดระบบตลาดผ่านออนไลน์ที่สามารถเปิดดูได้ใน แอปพลิเคชั่น ที่สามารถหาแหล่งรวมข้อมูล ที่บอกถึงตลาดสินค้าเกษตร ราคาสินค้าเกษตร ณ ตลาดกลาง เป็นรายวัน ราคาสินค้าเกษตร ณ ไร่นา ปฏิทินสินค้าเกษตร การติดตามสถานการณ์การผลิตการตลาดเป็นต้น หรือสามารถสอบถามที่เกษตรอำเภอหรือจังหวัดที่ใกล้บ้านได้ (รายละเอียดในคลิป)

ด้านนายอาณัติ หุ่นหลา ผู้อำนวยการกลุ่มเกษตรชลปนประทาน กองส่งเสริมโครงการพระราชดำริการจัดการพื้นที่และวิศวกรรมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า  ถ้าดูตัวเลขการเพาะตามพื้นที่ที่กระทรวงเกษตรส่งเสริมการเพาะปลูกหน้าแล้งที่กำหนดพื้นไว้ 16.08 ล้านไร่ในฤดูกาลเพาะปลูกปี 2561/2562 ยังพื้นที่ยังไม่ได้เพาะปลูกราว 3 ล้านไร่ เพาะปลูกไปแล้ว 80.9 % ที่ยังขาดอยูเป็นในส่วนของที่ใช้น้ำน้อย ขณะที่พื้นที่ปลูกข้าวในเขตชลประทานเกินกำหนดไว้กว่า 4 แสนไร่

“พืชที่ใช้น้ำที่กรมส่งเสริมการเกษตร ส่งเสริมให้ปลูกนั้นแบ่งเป็น 2 กลุ่มพืชคือพืชไร่ในตระกูลข้าวโพดยังไม่เต็มโควต้า เพราะปลูกไป 7.4 แสนไร่โดยมีกลุ่มบริษัทเอกชนที่ดำเนินธุรกิจด้านอาหารสัตว์รับซื้อทั้งหมด อีกกลุ่มหนึ่งเป็นพืชผักกระกูลถั่ว ซึ่งพืชเหล่านี้ใช้น้ำน้อยกว่าการปลูกข้าวถึง 3 เท่าตัว” นายอาณัติ กล่าว