โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
แม้ว่ารัฐสภาของยูกันดาได้ผ่านกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2561 แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจนว่า กฎหมายดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ที่ต้องการเข้าถึงพืชดัดแปลงพันธุกรรมหรือไม่
นักวิทยาศาสตร์บางคนของยูกันดา ได้กล่าวว่า กฎหมายดังกล่าวมีมาตรการด้านความรับผิดที่เข้มงวด ซึ่งจะมีผลทำให้การวิจัยและการปลดปล่อยพืชดัดแปลงพันธุกรรม ที่นักวิจัยของรัฐบาลได้ดำเนินการ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงของประเทศ ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างสะดวก ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน เกษตรกรที่ต้องพยายามหาเลี้ยงชีพจากภาคเกษตร กับต้องเผชิญกับโรคร้ายแรงที่ทำให้ผลผลิตมันสำปะหลังลดลง
เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังเป็นสมาชิกของสมาคมหนุ่มสาวชาวเกษตร ซึ่งอยู่ภายใต้สหพันธ์เกษตรกรแห่งชาติยูกันดา พวกเขาเป็นตัวแทนที่มาจาก10 อำเภอที่อยู่ทางภาคกลางของประเทศยูกันดาซึ่งมันสำปะหลังได้รับความเสียหายอย่างมากจาก โรคไวรัสใบด่างมันสำปะหลัง
Semwanga เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังบนที่ดิน 10 เอเคอร์ ในเขต Nakasongola บอกว่า “ในกรณีของมันสำปะหลังของผมสามารถยืนยันได้ว่า มันสำปะหลังเป็นจุดเปลี่ยนชีวิตผม” และเขากล่าวต่ออีกว่า “แต่ผมไม่พอใจในการปลูกพันธุ์ลูกผสมที่อ่อนแอต่อโรคไวรัสใบด่างมันสำปะหลัง ผมจำเป็นต้องร่วมมือกับเกษตรกรคนอื่น ๆ เพื่อปลูกพันธุ์มันสำปะหลังดัดแปลงพันธุกรรม ที่ต้านทานต่อโรค”
Semwanga บอกด้วยว่า “คำสวดอ้อนวอนของผม คือ ขอให้นักการเมืองเลิกการระงับโครงการวิจัยพันธุ์มันสำปะหลังดัดแปลงพันธุกรรม เพื่อให้เกษตรกรมีโอกาสใช้ประโยชน์”
ครับ น่าจะมีเนื้อหาเหมือนกับการกำกับดูแลด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ ที่จะไปอยู่ภายใต้ ร่าง พ.ร.บ.ความหลากหลายทางชีวภาพ ที่ไม่เอื้อต่องานวิจัยและพัฒนาด้วย
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://allianceforscience.cornell.edu/blog/2018/12/young-ugandan-farmers-push-homegrown-gmo-crops/