โดย…มนตรี บุญจรัส
“ความหวานของพืชในช่วงฤดูกาลนี้ ดึงดูดให้กลุ่มแมลงปากดูดเข้ามาสร้างอาณาจักรในเรือกสวนไร่นามากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเพลี้ยอ่อน ซึ่งสามารถออกไข่ขยายพันธุ์ได้คราวละ 200-300 ฟอง เมื่อตัวอ่อนฟักออกจากไข่และเกาะกลุ่มรวมตัวทับซ้อนกันอย่างหนาแน่น เกษตรกรที่ใช้สารเคมีฉีดพ่นแล้วไม่ได้ผล”
ย่างเข้าสู่ปลายเดือนพฤศจิกายนแล้ว หลายจังหวัดของไทยอยู่ช่วงปลายฝนต้นหนาว แต่บางจังหวัดก้าวสู่หน้าหนาวอย่างเต็มตัว และจะหนาวยาวนานเหมือนกับที่มีการพยากรณ์กันไว้หรือไม่ เนื่องด้วยปีนี้น้ำดี ฝนดี จึงคาดการณ์ว่าความหนาวเย็นก็น่าจะดีและยาวนานตามไปด้วย
คนเก่าคนแก่มักจะพูดเสมอว่า ถ้าปีไหนหนาวนาน ปีนั้นผลหมากรากไม้จะติดดอกออกผลดี ทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก (Supply) ถ้าผู้บริโภคมีความต้องการน้อย (Demand) ราคาก็จะถูก แต่ถ้าความต้องการในการบริโภคมีสูงกว่าผลผลิต ราคาผลิตผลทางภาคการเกษตรในปีนั้นก็จะแพง และส่วนใหญ่แล้วอะไรก็ตามที่ถูกผลิตออกมามากๆ ราคามักจะตกต่ำ โดยเฉพาะผลิตผลภาคการเกษตร
ทว่า..เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวและแล้ง ผืนดินรอบโคนต้นไม้และทรงพุ่มของแมกไม้มักจะแห้ง เพราะได้รับไนโตรเจนน้อยและเปลี่ยนแปลงไปสะสมแป้งและน้ำตาลแทน กระบวนการนี้ถ้าไนโตรเจนน้อยกว่าคาร์บอน พืชก็จะเจริญและพัฒนาไปเป็นตาดอกได้ง่าย เกษตรกรจึงมักนิยมใช้ฮอร์โมนไข่ น้ำตาลทราย ปุ๋ยโมโนโพแทสเซียมไนเตรท ปุ๋ยโพแทสเซียมเข้ามาช่วยกระตุ้นให้พืชออกดอกได้ง่ายขึ้นในช่วงนี้
ความหวานของพืชในช่วงฤดูกาลนี้ ดึงดูดให้กลุ่มแมลงปากดูดเข้ามาสร้างอาณาจักรในเรือกสวนไร่นามากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเพลี้ยอ่อน ซึ่งสามารถออกไข่ขยายพันธุ์ได้คราวละ 200-300 ฟอง เมื่อตัวอ่อนฟักออกจากไข่และเกาะกลุ่มรวมตัวทับซ้อนกันอย่างหนาแน่น เกษตรกรที่ใช้สารเคมีฉีดพ่นแล้วไม่ได้ผล
จากสาเหตุนี้ด้วยเช่นกัน คือยาเคมีทำลายได้แต่ตัวพ่อแม่ที่อยู่ด้านบน แต่ไม่สามารถซึมซาบลงมาฆ่าตัวอ่อนที่อยู่ด้านล่างได้ ยิ่งจ้างคนงานที่ฉีดพ่นสารเคมีด้วยความฉาบฉวย ทำแบบขอไปที เดินเร็วเกินไป ยิ่งทำให้ผลลัพธ์ก็ยิ่งแย่ลงไปอีก
การแก้ปัญหาเรื่องนี้สามารถทำได้ง่ายๆ เพียงเปลี่ยนจากอาวุธธรรมดา มาเป็นอาวุธชีวภาพ ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตสามารถแพร่กระจายขยายพันธุ์ส่งผลทำให้เพลี้ยอ่อนนั้นตายแบบยกรังได้เช่นเดียวกัน ด้วยการใช้จุลินทรีย์บิวเวอร์เรีย ที่มีชื่อการค้าว่า “คัทออฟ (cut off”) โดยเสริมด้วยตัวทำลายคราบไขมันของเพลี้ยเสียก่อน โดยการใส่สารจับใบ (ชื่อการค้า “ม้อยเจอร์แพล้นท์”) หรือ “ไบโอฟิล์ม 200” หรือบางคนอาจจะชอบน้ำยาล้างจานก็ได้ (แต่ปัจจุบันสารจับใบคุณภาพดีราคาเหมาะสมก็มีให้เลือกมากมาย) ลงไปเสียก่อน แล้วจึงเติมเชื้อสำเร็จรูป “บิวเวอร์เรีย (Beauveria Bassiana spp.)” ลงไปในอัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ 3 – 7 วัน สปอร์ของ “บิวเวอร์เรีย”
เมื่อผสมกับสารจับใบจึงมีประสิทธิภาพในการเกาะยึดกับตัวเพลี้ยอ่อนและความชื้นที่ซึมซาบเข้าสปอร์ได้ง่าย จึงทำให้เกิดการเจริญเติบโตงอกเป็นเส้นไยทะลุทะลวงทำลายกลุ่มก้อนของประชากรเพลี้ยอ่อนลงไปได้โดยง่าย โดยคุณสมบัติที่เขาเป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถแพร่กระจายได้นั่นเอง
สำหรับผู้ที่มีข้อสงสัยหรือต้องการคำปรึกษา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทร. 02 986 1680 – 2