ชี้จัดโซนนิ่งยางพาราต้องร่วมกับพืชเศรษฐกิจอื่น

  •  
  •  
  •  
  •  

ประธานคณะกรรมการด้านยางพารา สภาเกษตรกรฯ ชี้การจัดโซนนิ่งยางพาราต้องทำอย่างจริงจัง และร่วมกับพืชเศรษฐกิจอื่นด้วย ระบุถ้าประกาศแล้วพื้นที่ยังเหมือนเดิม ไม่มีการปรับเปลี่ยนอะไรก็เปล่าประโยชน์

นายธีรพงศ์ ตันติเพชราภรณ์ ประธานคณะกรรมการด้านยางพารา สภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า สถานการร์สวนยางพาราในขณะนี้ ทางคณะกรรมการด้านยางพารา สภาเกษตรกรแห่งชาติได้มีการนำเสนอโครงการลดการกรีดยางเพื่อเป็นการลดซัพพลายออกจากสวนยาง       นโยบายนี้รัฐบาลนำไปปฏิบัติได้ก็จะเกิดประโยชน์ในเรื่องวัตถุดิบหรือซัพพลายออกมาน้อยจะทำให้เกิดการขาดแคลน ระบบราคา / ตลาด เพื่อหาซื้อวัตถุดิบจะเขยิบขึ้นเกิดประโยชน์กับเกษตรกรและรัฐบาลก็จะสามารถเขยิบราคายางภายในประเทศได้

[adrotate banner=”3″]

ส่วนกรณีที่ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะใช้อำนาจตามพ.ร.บ.เศรษฐกิจการเกษตร พ.ศ.2522 มาตรา 5 โดยคณะกรรมการสามารถพิจารณากำหนดเขตพืชเศรษฐกิจได้ซึ่งจะนำมาใช้กับยางพาราเป็นชนิดแรก เกษตรกรและสภาเกษตรกรฯมีการหารือกันว่า จำเป็นต้องใช้หรือไม่ ด้วยที่ผ่านมาปล่อยให้เกษตรกรปลูกได้ตามใจผลผลิตจึงได้บ้างไม่ได้บ้าง คุณภาพมีบ้างไม่มีบ้าง ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ทางภาครัฐต้องใช้ข้อมูลเชิงวิชาการให้ความรู้กับเกษตรกรแล้วกำหนดพื้นที่ที่สามารถปลูกได้อย่างเหมาะสมเพื่อการผลิตที่มีต้นทุนที่ต่ำได้ผลผลิตสูง แต่มองว่าจะใช้กับยางพาราอย่างเดียวไม่น่าจะเกิดประโยชน์ อยากให้ครอบคลุมไปถึงพืชชนิดอื่น เช่น ปาล์มน้ำมัน ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าเกษตรกรมีทั้งบุกรุกป่าและป่าบุกรุกพื้นที่เกษตรกรซึ่งต้องมีแนวทางในการช่วยเหลือเยียวยา ทั้งจากกรณีมีเอกสารสิทธิ์ไม่บุกรุกป่าและบุกรุกป่า กับไม่มีเอกสารสิทธิ์บุกรุกป่าและไม่บุกรุกป่า ส่วนที่เกษตรกรบุกรุกป่าจริงมาตรการเยียวยาอาจไม่ครอบคลุมและทั่วถึงซึ่งต้องเข้าไปแก้ปัญหาในเรื่องของสิทธิทำกินก่อน

“ การประกาศโซนนิ่งจะทำให้เกษตรกรมีการจัดการอย่างมีคุณภาพ ผลผลิตมีปริมาณมากขึ้น ต้นทุนต่ำ คุณภาพสูงเพราะเป็นการปลูกในพื้นที่ที่เหมาะสม  ภาคเหนือ ภาคอีสานถ้าเป็นพื้นที่ไม่เหมาะสมรัฐควรจะต้องมีนโยบายในเรื่องของการปรับเปลี่ยนถ้ายังไม่สามารถควบคุมได้ก็ต้องลดการช่วยเหลือ การจัดโซนนิ่งจึงจะเกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพ แต่ถ้าประกาศแล้วพื้นที่ยังเหมือนเดิมไม่มีการปรับเปลี่ยนอะไรก็เปล่าประโยชน์ แต่ถ้าพื้นที่นั้นไม่เหมาะสมทางการยางแห่งประเทศไทย .ก็จะมีทางเลือกให้ เช่น ปลูกปาล์มน้ำมัน ไม้เศรษฐกิจ เศรษฐกิจพอเพียงได้ หากเกษตรกรจะโค่นยางเก่าแล้วขอปลูกยางใหม่ถ้าพื้นที่มีความเหมาะสมทางการยางแห่งประเทศไทย ก็สามารถอนุมัติให้ปลูกใหม่ได้ ” นายธีรพงศ์ กล่าว