เทคนิคทำลำไยนอกฤดู คุณภาพส่งออก ให้ได้เกรด A-AA

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…หนึ่งฤทัย  รักษ์เกษตร

ถึงคราวที่ตะลุยสวนลำไยไปไกลเกือบถึงจุดเหนือสุดของแดนสยามที่ อ.แม่สรวย จ.เชียงราย แหล่งผลิตลำไยคุณภาพแห่งหนึ่งของเมืองไทยที่สร้างรายได้ ยกฐานะ พลิกชีวิตของชาวบ้านให้มีความเป็นอยู่ที่ดี ขึ้น เพราะที่นี่คือลำไยคุณภาพในระดับส่งออกไปยังประเทศจีน

การสัมผัสวิถีชีวิตของเกษตรกรชาวสวยลำไยในครั้ง เป็นช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตจะมีการซื้อขายลำไยกันอย่างคึกคัก มีล้งรับซื้อลำไยเพื่อรวบรวมผลผลิตลำไยเพื่อส่งขายให้กับจีนเป็นจำนวนมาก บ่งบอกถึงความเชื่อมั่นที่มีผลผลิตลำไยของที่นี่

[adrotate banner=”3″]

เทคนิคการผลิตลำไยคุณภาพระดับส่งออกกันว่าเขามีวิธีการอย่างไร และทำอย่างไรให้มีผลผลิตลำไยเก็บเกี่ยวในช่วงนอกฤดูกาลเพื่อให้สามารถจำหน่ายผลผลิตได้ในราคาสูง แม่เลี้ยงสวนลำไยคนสวย “ศศินกานต์ ราตรี” แห่งบ้านป่าถ่อน ต.ท่าก๊อ อ.แม่สรวย จ.เชียงรายที่ดูแลสวนลำไยให้กับชาวสวนที่นี่มากกว่า 30 สวน พื้นที่กว่า 500 ไร่ บอกว่า เธอก็มีสวนลำไยอยู่กว่า 30 ไร่ ติดผลดกมากทุกต้น ขณะที่หลายสวนในพื้นที่นี้กลับติดผลน้อย

“ปีนี้ส่วนใหญ่ลำไยจะติดน้อย เนื่องจากฝนค่อนข้างชุกโดยเฉพาะในช่วงดอกบานประมาณ เดือน มีนาคม ทำให้มีปัญหาดอกร่วง ติดผลน้อย ราคาลำไยในปีนี้ที่จะเก็บเกี่ยวในช่วง สังหาคม-กันยายน .ราคาสูงกว่าปีที่ผ่านๆมา แต่ลำไยที่สวนของฉันติดดกทุกสวน ซึ่งเป็นผลมาจากการจัดการที่เหมาะสม และใช้ปุ๋ยอย่างถูกวิธร ที่นี่เลือกใช้ปุ๋ยยารา” ศศินกานต์  เล่าให้ฟัง

สำหรับ เคล็ดลับที่ทำให้ลำไยติดผลดกและมีคุณภาพนั้น อยู่ที่การจัดการปุ๋ยอย่างถูกต้องและเหมาะสม คือ หลังจากที่เก็บเกี่ยวผลผลิตหมดแล้วก็จะพักต้นและบำรุงเพื่อฟื้นสภาพต้น จากนั้นจะมีการตัดแต่งกิ่ง บำรุงต้นให้สมบูรณ์โดยใช้สาหร่ายทะเลพร้อมกับพ่นสะสมอาหารทางใบด้วยปุ๋ยเกร็ด 0-52-34 อัตราครึ่ง กก./น้ำ 200 ลิตร

ส่วนทางดินบำรุงด้วยปุ๋ยทางดิน 8-24-24 เพื่อให้การออกดอกสมบูรณ์ เมื่อลำไยแตกใบอ่อนได้ 2 ชุด ก็จะราดสารแพคโคลบิวทาโซล ประมาณเดือนมกราคม. หลังราดสารประมาณเดือนเศษก็จะใส่ปุ๋ยตามจังหวะการเจริญเติบโต โดยในช่วงบำรุงต้นและดอกจะใส่สูตร 15-15-15 ผสมกับ 15-0-0 อัตราส่วน 2:1 โดยใส่ปุ๋ยเดือนละครั้งๆละ 1-2 กก./ต้น

“สูตร 15-0-0 มีความจำเป็นสำหรับลำไยแทบจะในทุกช่วงของการเจริญเติบโตซึ่งเกษตรกรหลายคนอาจจะมองข้ามความสำคัญไป โดย 15-0-0 มีแคลเซียมเป็นส่วนผสมอยู่ถึง 25 % ในช่วงออกดอก 15-0-0 จะช่วยบำรุงดอกให้สมบูรณ์ ทำให้การผสมเกสรสมบูรณ์ ผลลำไยจึงติดดกและไม่หลุดร่วง ในช่วงขยายผล 15-0-0 ยังช่วยเร่งการขยายผลและป้องกันปัญหาผลแตกโดยเฉพาะในช่วงฝนได้ดี เมื่อใบอยู่ในสภาพที่พร้อมหรือใบเพสลาดก็จะดึงดอกด้วย 13-0-46 (โปรแตสเซียมไนเตรท) จะทำให้ลำไยออกดอกพร้อมกันและติดผลได้สมบูรณ์ ปุ๋ยทางดินยังคงให้ สูตร 15-15-15 ผสมกับ 15-0-0 อัตราส่วน 2:1 ต้นละ 1-2 กก. เดือนละครั้งอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ” เธอ กล่าว

ศศินกานต์  บอกต่อว่า ในช่วงก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณ 1 เดือน จะเปลี่ยนมาใช้สูตร 15-9-20 ผสมกับ 15-0-0 สัดส่วนผสมกัน 1:1 อัตรา 1-2 กก./ต้น เพื่อช่วยเพิ่มคุณภาพผล ทำให้ผลใหญ่ ลำไยสร้างเนื้อได้เร็วขึ้น อีกทั้งยังช่วยทำให้ผิวลำไยสวย รสชาติหวาน อร่อย น้ำหนักดี และ 15-0-0 ที่ใส่ในช่วงนี้ยังช่วยป้องกันปัญหาผลแตกในช่วงใกล้เก็บเกี่ยวได้อีกด้วย ซึ่งช่วงนี้มักจะตรงกับช่วงฝนและเกษตรกรส่วนใหญ่จะประสบปัญหาผลแตกในช่วงเก็บเกี่ยว สร้างความเสียหายและสูญเสียรายได้ไปอย่างน่าเสียดาย ลำไยขะสามารถเก็บเกี่ยวได้หลังราดสารประมาณ 7 เดือน

ปุ๋ยที่ ศศินกานต์ เลือกใช้มาตลอดหลายปี ก็คือ ยารา โดยเธอให้เหตุผลว่า ปุ๋ยของยาราการละลายน้ำดี เหลือกากน้อย พืชดูดไปใช้ได้เร็ว หลังใส่ปุ๋ย 15 วัน ก็จะเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแล้ว และจะเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จึงเป็นแบรนด์ที่เกษตรกรชาวสวนลำไยที่นี่ให้ความไว้วางใจมาตลอด

ขณะที่ผลผลิตลำไยที่นี่ส่วนใหญ่จะส่งป้อนตลาดจีนเป็นหลัก ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวช่วงปลายสิงหาคม.-ต้นกันยายน.ราคาสูงถึง กก.ละ 34-35 บาทผลผลิตส่วนใหญ่จะเป็นเกรด A และ AA โดยปีที่แล้วส่งผลผลิตลำไยให้กับล้งลำไยมากถึง 3 แสนกิโลกรัมเลยทีเดียว

          นี่เป็นเทคนิคเฉพาะของชาวสงนลำไยสาวสวย “ศศินกานต์ ราตรี” แห่งบ้านป่าถ่อน ต.ท่าก๊อ อ.แม่สรวย จ.เชียงราย สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 093-0359679