เกษตร เดินหน้าขับเคลื่อน “หม่อนไหม” แปลงใหญ่…

  •  
  •  
  •  
  •  

กรมหม่อนไหมได้บูรณาการขับเคลื่อนพัฒนาการส่งเสริมปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ระบบเกษตรแปลงใหญ่อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีหม่อนไหมแปลงใหญ่รวม 9 แปลงใน 7 จังหวัด ได้แก่


จากการที่กรมหม่อนไหมได้บูรณาการขับเคลื่อนพัฒนาการส่งเสริมปลูกหม่อนเลี้ยงไหมภายใต้ระบบเกษตรแปลงใหญ่อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2559 ปัจจุบันมีหม่อนไหมแปลงใหญ่รวม 9 แปลงใน 7 จังหวัด ได้แก่ อุทัยธานี นครราชสีมา น่าน อุดรธานี มุกดาหาร ชัยภูมิ และบุรีรัมย์ รวมพื้นที่กว่า 3,419 ไร่ เกษตรกรจำนวน 1,106 ราย ซึ่งมีทั้งการผลิตไหมอุตสาหกรรม ไหมหัตถกรรม และหม่อนผลสดแปลงใหญ่ กรมหม่อนไหมสานต่อพัฒนา ’หม่อนไหมแปลงใหญ่“ ปี 61 รุกต่อยอดไหมอุตสาหกรรม ไหมหัตถกรรม หม่อนผลสด เป้ากว่า 7,600 ไร่ มุ่งเพิ่มปริมาณผลผลิต ช่วยลดต้นทุน เพิ่มรายได้เกษตรกร

นางสุดารัตน์ วัชรคุปต์ เหล่าวิชยา อธิบดีกรมหม่อนไหม  เปิดเผยความคืบหน้าการดำเนินโครงการพัฒนาประสิทธิ ภาพการผลิตหม่อนไหมด้วยระบบแปลงใหญ่ว่า  หลังจากเดินหน้าขับเคลื่อนหม่อนไหมภายใต้การส่งเสริมระบบแปลงใหญ่สามารถยกระดับประสิทธิภาพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมให้กับเกษตรกร รวมทั้งเพิ่มปริมาณผลผลิตใบหม่อนสูงขึ้นจากเดิม 1,800 กิโลกรัม/ไร่/ปี เป็น 2,500 กิโลกรัม/ไร่/ปี เพื่อที่จะเลี้ยงไหมให้ได้ผลผลิตรังไหมเพิ่มขึ้นจาก 90 กิโลกรัม/ไร่/ปี เป็น 130-140 กิโลกรัม/ไร่/ปี ขณะเดียวกันยังช่วยพัฒนา การผลิตรังไหมและเส้นไหมไทยให้มีคุณภาพมาตรฐาน พร้อมลดต้นทุน ช่วยเพิ่มโอกาสทางการตลาด และเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันสินค้าเกษตรด้วย

      อย่างไรก็ตาม ปี 2561 กรมหม่อนไหมได้มีแผนเร่งสานต่อโครงการดังกล่าวตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อขยายผลพื้นที่หม่อนไหมแปลงใหญ่เพิ่มมากขึ้น โดยมีเป้าหมายผลักดันแปลงที่มีศักยภาพและมีความพร้อมเข้าสู่ระบบหม่อนไหมแปลงใหญ่ จำนวน 16 แปลง ใน 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุตรดิตถ์ พิษณุโลก กำแพงเพชร เชียงราย กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มุกดาหาร สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ และชัยภูมิ รวมพื้นที่กว่า 4,187.50  ไร่ เกษตรกร 1,460 ราย เน้นส่งเสริมผลิตไหมอุตสาหกรรมและไหมหัตถกรรมป้อนตลาด เพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตรังไหมและเส้นไหมภายในประเทศให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้ และช่วยลดการนำเข้าจากต่างประเทศอีกทั้งช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น 50%

     “ไทยถือเป็นผู้นำการผลิตไหมรังเหลืองหรือไหมหัตถกรรมที่มีศักยภาพสูง เป็นสินค้าคุณภาพและได้รับการยอมรับของตลาดโลก เนื่องจากมีคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์แตกต่างจากไหมรังขาว โดยมีผลงานวิจัยยืนยันว่า ไหมรังเหลืองที่สาวด้วยมือลงกระบุง เปรียบเทียบกับไหมพันธุ์อื่น ๆ ที่สาวด้วยเครื่อง พบว่าเส้นไหมรังเหลืองหรือไหมหัตถกรรมมีความยืดหยุ่นสูง ทั้งยังมีความเหนียวและความนุ่มมาก กว่า นอกจากนี้ เส้นไหมรังเหลืองยังมีความเลื่อมมัน ซักง่าย และไม่ยับ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสืบสานและอนุรักษ์ไหมไทยพื้นบ้านเอาไว้ตามพระราชเสาวนีย์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9” อธิบดีกรมหม่อนไหมกล่าว

       นางสุดารัตน์กล่าวอีกว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีเกษตรกรผู้ผลิตไหมอุตสาห กรรมในเชิงการค้าประมาณ 4,500 คน พื้นที่ปลูกหม่อน ประมาณ 30,000 ไร่ ขณะที่มีเกษตรกรผู้ผลิตไหมหัตถกรรมกว่า 20,000 คน พื้นที่ปลูกหม่อนประมาณ 10,000 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นรายย่อยผลิตเพื่อสร้างรายได้เสริมภายในครัวเรือนและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ การผลิตในเชิงการค้ายังมีน้อย หากได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างต่อเนื่องในรูปแบบแปลงใหญ่ เชื่อว่าจะช่วยให้เกษตรกรรายย่อยมีรายได้สูงขึ้นและมีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น

       “อนาคตกรมหม่อนไหมมีแผนเร่งเชื่อมโยงเครือข่ายการผลิตและตลาดผ้าไหม เพื่อให้สินค้าจากผู้ผลิตถึงมือผู้บริโภคโดยตรง ลดขั้นตอนพ่อค้าคนกลางซึ่งมักไปซื้อสินค้าจากชาวบ้านนำไปขายโก่งราคา จึงจำเป็นต้องส่งเสริมการรวมกลุ่มผลิตและจำหน่าย เพื่อขยายโอกาสทางการตลาดให้กับเกษตรกรรายย่อย”.

 

ที่มา :  เดลินิวส์ :  อ่านเพิ่มเติม  :https://www.dailynews.co.th/agriculture/657597