“ลักษณ์”ชมนาแปลงใหญ่คนรสวรรค์ผลิตสินค้าตามตลาดต้องการ

  •  
  •  
  •  
  •  

“ลักษณ์” ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมกลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่ที่คนรสวรรค์ พบเกษตรกรให้ความสนใจในการผลิตข้าวปลอดภัย ลดการใช้สารเคมีและลดต้นทุนการผลิตได้อย่างดีเยี่ยม แปรรูปข้าวขายเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต ผลิตสินค้าตรงตามความต้องการของตลาด ทำให้เกษตรกรในกลุ่มมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ ทำให้เกษตรกรลดต้นทุน  ได้ผลผลิต ที่มีคุณภาพตามความต้องการของตลาด

           นายลักษณ์ วจนานวัช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่บ้านห้วยร่วม ต.ห้วยร่วม อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์ ว่า ตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและปรับปรุงคุณภาพ เพื่อลดต้นทุนการผลิตและรักษาระดับผลผลิตให้มีปริมาณและคุณภาพสมดุลกับความต้องการของตลาด เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และเกษตรกรสามารถสร้างรายได้จากการผลิตได้อย่างยั่งยืน ซึ่งวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชนกลุ่มนาแปลงใหญ่ ต.ห้วยร่วม ได้มีการส่งเสริมให้สมาชิกกลุ่มผู้ผลิตข้าวนาแปลงใหญ่ ให้มีการบริหารจัดการความรู้ด้านการผลิตให้มีประสิทธิภาพ ได้ผลผลิตสอดคล้องกับความต้องการของตลาด

[adrotate banner=”3″]

        สำหรับในพื้นที่ ต.ห้วยร่วม อ.หนองบัว มีเกษตรกร จำนวน 850 ราย พื้นที่เพาะปลูก จำนวน 26,450 ไร่ ร่วมกันปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ให้มีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาด โดยกลไกตามโครงการสนับสนุนเกษตรจากรัฐบาลแบบแปลงใหญ่ พบว่าเกษตรกรในพื้นที่ให้ความสนใจในการผลิตข้าวปลอดภัย เพื่อลดการใช้สารเคมีและลดต้นทุนการผลิต ซึ่งเป็นวิธีการผลิตที่หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี หรือสารสังเคราะห์ต่าง ๆ เช่น ปุ๋ยเคมี สารควบคุมการเจริญเติบโต สารควบคุมและกำจัดวัชพืชสารป้องกันกำจัดโรคแมลงและศัตรูข้าว ในทุกขั้นตอนการผลิต

         นอกจากนี้ ยังมีการรวบรวมผลผลิตเพื่อขายในรูปข้าวเปลือกและแปรรูปข้าวขายเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต ผลิตสินค้าตรงตามความต้องการของตลาด ทำให้เกษตรกรในกลุ่มมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีไว้ใช้เองและกระจายในท้องถิ่นสร้างความยั่งยืนให้แก่ชุมชน

          จากนั้น ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของกลุ่มแปลงใหญ่ผลิตข้าวครบวงจร (โรงสี การแปรรูปข้าว การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว การตรวจสอบคุณภาพข้าว) ในพื้นที่ ต.บ้านน้อย อ.โพทะเล จ.พิจิตร ซึ่งกลุ่มเกษตรกรดังกล่าว มีการบริหารจัดการกลุ่มอย่างชัดเจน สามารถบริหารจัดการผลผลิต มีการบูรณาการของหน่วยงาน ปัจจุบันมีสมาชิก จำนวน 62 ราย พื้นที่ 1,514 ไร่ ได้รับเงินทุน (สินเชื่อแปลงใหญ่) จำนวน 3 ล้านบาท

           กลุ่มนี้สามารถสร้างรายได้ จำนวน 1.5 ล้านบาท มีปริมาณผลผลิต 1.2 ล้านกิโลกรัม โดยจำหน่ายออกนอกกลุ่ม 80% และทางกลุ่มรับซื้อและแปรรูป 20% ซึ่งแผนการดำเนินงานในอนาคต จะพัฒนาเกษตรกรให้ผลิตสินค้าในรูปเกษตรอินทรีย์ การสร้างแบนด์สินค้า เพิ่มการแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าว ในตลาดเฉพาะ เช่น กข43 พิษณุโลก80) และปรับเปลี่ยนการปลูกข้าวเพื่อบริโภคเอง เป็นต้น