โอกาสธุรกิจเครื่องจักรกลการเกษตรในเมียนมา

โอกาสธุรกิจเครื่องจักรกลการเกษตรในเมียนมา

  •  
  •  
  •  
  •  

เมียนมาเป็นประเทศที่มีประชากรอยู่ในภาคการเกษตรราว 4 ล้านครัวเรือน และมีพื้นที่ทำการเกษตรอยู่ 420 ล้านไร่ มีขนาดใหญ่กว่าประเทศไทย 100 ล้านไร่ ทั้งยังมีพื้นที่ซึ่งอุดมสมบูรณ์ และมีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับการพัฒนาการเกษตรอีกมากมาย รวมถึงมีแรงงานภาคเกษตรจำนวนมาก

เมียนมาเป็นประเทศที่มีประชากรอยู่ในภาคการเกษตรราว 4 ล้านครัวเรือน และมีพื้นที่ทำการเกษตรอยู่ 420 ล้านไร่ มีขนาดใหญ่กว่าประเทศไทย 100 ล้านไร่ มีแรงงานและมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์มาก ประกอบกับรัฐบาลเมียนมามีนโยบายส่งเสริมการลงทุนเพื่อเพิ่มผลทางการเกษตร ซึ่งถือเป็น โอกาสสำหรับธุรกิจเครื่องจักรกลและวัสดุทางการเกษตรของไทย

ปัจจุบันเมียนมาต้องการพึ่งพาการนำเข้าเครื่องจักรกลการเกษตร โดยนำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 รองจากจีน แต่สินค้าไทยมีคุณภาพสูงและราคาแพงกว่าสินค้าจีน จำหน่ายสินค้าเข้าไปทำการตลาดโดยผ่านผู้นำเข้า และผู้แทนจำหน่ายผ่านด่านชายแดนบริเวณ อ.แม่สอด จ.ตาก ไปยังเมียวดี เพื่อส่งต่อไปจำหน่ายยังเมืองการค้าที่สำคัญๆ ต่างๆ เช่น กรุงย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ พุกาม เกาะสอง เมียวดี เชียงตุง และมูเซ เป็นต้น  ก่อนที่จะถูกกระจายไปยังแหล่งที่มีการเพาะปลูกสำคัญของประเทศ เช่น เขตมัณฑะเลย์ เขตอิระวดี และเขตพะโค เป็นต้น

เมียนมาเป็นประเทศที่มีประชากรอยู่ในภาคการเกษตรราว 4 ล้านครัวเรือน และมีพื้นที่ทำการเกษตรอยู่ 420 ล้านไร่ มีขนาดใหญ่กว่าประเทศไทย 100 ล้านไร่ ทั้งยังมีพื้นที่ซึ่งอุดมสมบูรณ์ และมีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับการพัฒนาการเกษตรอีกมากมาย รวมถึงมีแรงงานภาคเกษตรจำนวนมาก

เมียนมาถือเป็น “ขุมทอง” สำหรับธุรกิจเครื่องจักรกลและวัสดุทางการเกษตรของไทย เนื่องจากที่ผ่านมาการทำการเกษตรเมียนมายังใช้แรงงานเป็นหลัก การทำเกษตรโดยใช้เครื่องมือที่ทันสมัยยังมีสัดส่วนไม่มากนัก และเกษตรกรมีข้อจำกัดเรื่องต้นทุน ในการใช้เครื่องมือ และสารเคมีทางการเกษตร ส่งผลให้ต้นทุนการทำการเกษตร โดยเฉพาะการปลูกข้าวของเมียนมาโดยเฉลี่ยต่ำ 2,340 บาท ต่อผลผลิต 800 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งถือว่าต่ำกว่าไทยครึ่งหนึ่ง แต่ด้วยคุณภาพและความหอมทำให้ข้าวสายพันธุ์ Paw San Mui จากเมียนมาได้รับรางวัล ‘World Best Rice Premium Award 2011’ จากการประชุม The Rice Trader World Rice Conference ส่งผลให้ข้าวสายพันธุ์ดังกล่าวได้รับความนิยมในตลาดโลกมากขึ้น

ประกอบกับรัฐบาลเมียนมามีนโยบายที่จะพัฒนาการส่งออกข้าวเพิ่มขึ้น และมุ่งที่จะเพิ่มปริมาณผลิตข้าวต่อปี จากที่เคยผลิตได้ปีละ 500,000 ตันในปี 2555 เป็น 2 ล้านตันในปี 2558 จึงส่งผลให้เกษตรกรเมียนมาเริ่มหันมาใช้เครื่องจักรกลและอุปกรณ์ทางการเกษตรที่ทันสมัยเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเมียนมา มีการขยายตัวเฉลี่ยปีละไม่ต่ำกว่า 7% โดยล่าสุดในปี 2559 ขยายตัว 8.5% รัฐบาลเมียนมามีการผ่อนคลายกฎระเบียบต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนในเมียนมา สร้างความเจริญเติบโตทางธุรกิจ โดยเฉพาะการลงทุนในธุรกิจเกษตร   ซึ่งนี่ถือเป็น “โอกาสทอง” ของการส่งออกเครื่องจักรกลการเกษตรของไทย

ประเภทธุรกิจเครื่องจักรกลการเกษตรที่น่าเข้าไปลงทุน ได้แก่ การผลิตเครื่องมือเครื่องจักรทางการเกษตร และสินค้ากลุ่มวัสุดทางการเกษตร เช่น ปุ๋ย เคมีภัณฑ์ เครื่องและอุปกรณ์ทางการเกษตรขนาดเล็ก อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารโดยวัตถุดิบทางการเกษตร เช่น กาแฟ ชา น้ำมันปาล์ม ยาสมุนไพร และอาหารสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์ และประมง

ทั้งนี้ การขยายเข้าไปทำการตลาดในเมียนมา ผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องศึกษาเงื่อนไข และเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ ทั้งในส่วนที่จะเข้าไปลงทุนทำธุรกิจเอง หรือเข้าไปร่วมทุนกับนักธุรกิจเมียนมา

จากข้อมูลพบว่านักลงทุนจากประเทศจีน เป็นนักลงทุนที่เข้าไปลงทุนสูงที่สุด รองลงมา คือ สิงคโปร์ ไทย ฮ่องกง และอังกฤษ ตามลำดับ

ที่มา  : bangkokbanksme.com