กรมวิชาการเกษตร เร่งแก้ปั ญหาโรคลำต้นเน่าปาล์มน้ำมัน พร้อมระดมการทดสอบวิธีป้องกันกำจัด และพัฒนาเทคนิคการตรวจพบเชื้ อสาเหตุโรค ชะลอการเข้าทำลาย หลังพบการระบาดในพื้นที่จังหวัดกระบี่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ชุมพร สตูล ตรัง ระยอง สงขลา ชลบุรี พัทลุง นราธิวาส รวม 12,462 ไร่
นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า จากปัญหาการระบาดของโรคลำต้นเน่ าปาล์มน้ำมันในพื้นที่ภาคใต้ได้ สั่งการให้สถาบันวิจัยพืชไร่ และพืชทดแทนพลังงานลงพื้นที่ร่ วมกับสำนักวิจัยพัฒนาการอารั กขาพืช เพื่อสร้างการรับรู้ให้แก่ เกษตรกร พร้อมทั้งประเมินการเกิดโรค การเฝ้าระวังและป้องกันโรคลำต้ นเน่าปาล์มน้ำมัน และผลิตหัวเชื้อสดชีวภัณฑ์เชื้ อราไตรโคเดอร์มา เพื่อการป้องกันหรือลดการแพร่ กระจายของเชื้อในดินสนับสนุนให้ แก่เกษตรกร สำหรับพื้นที่พบการระบาด ได้แก่ บริเวณจังหวัดกระบี่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ชุมพร สตูล ตรัง ระยอง สงขลา ชลบุรี พัทลุง นราธิวาส รวมพื้นที่การระบาดจำนวน 12,462 ไร่ โดยส่วนใหญ่พบในพื้นที่จังหวั ดกระบี่และสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็ นพื้นที่หลักในการปลูกปาล์มน้ำ มันของเกษตรกร
อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ว่าพื้นที่ การระบาดจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่ อง เนื่องจากยังมีพื้นที่ที่มี การติดเชื้อแต่ยังไม่ แสดงอาการของโรคและพื้นที่ที่ยั งสำรวจไม่พบอีกเป็นจำนวนมาก โดยโรคนี้เกิดจากเชื้อเห็ ดกาโนเดอร์มาสามารถเข้ าทำลายปาล์มน้ำมันได้ทุ กระยะการเจริญเติบโต หากไม่รีบหาวิธีควบคุ มการระบาดจะสร้างความเสียหายให้ กับอุตสาหกรรมการผลิตปาล์มน้ำมั นและน้ำมันปาล์มได้ กรมวิชาการเกษตรเห็นถึงความสำคั ญดังกล่าวจึงเร่งระดมทดสอบวิธี การป้องกันกำจัด เพื่อชะลอการเข้าทำลายของเชื้ อสาเหตุ รักษาสภาพต้นเพื่อให้ยั งสามารถเก็บผลผลิตได้ รวมถึงการป้องกันพื้นที่ที่ยั งไม่พบการระบาดด้วยวิธีการใช้ สารป้องกันกำจัดโรคพืชฉีดเข้ าลำต้นและการใช้ชีวภัณฑ์ ในการป้องกันการติดต่ อทางระบบราก
“เบื้องต้นนักวิจัยกรมวิ ชาการเกษตรได้พัฒนาวิธี การตรวจสอบติดตามเชื้อสาเหตุ และทดสอบวิธีการชะลอการพั ฒนาการของโรค จนได้วิธีการตรวจเชื้อและได้ เทคนิควิธีการชะลอการพั ฒนาของโรค ซึ่งจะสามารถยืดอายุการให้ผลผลิ ตและสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิ ตของต้นที่เป็นโรคได้ รวมถึงวิธีการป้องกันพื้นที่ที่ ยังไม่พบการระบาดของโรคลำต้นเน่ าปาล์มน้ำมัน อย่างไรก็ตามวิธีการป้องกันกำจั ดโรคลำต้นเน่าปาล์มน้ำมันต้ องได้รับการทดสอบวิธีการเพื่อยื นยันผลอีกครั้งจึ งจะสามารถออกเป็นคำแนะนำแก่ เกษตรต่อไป นอกจากนี้ ในระยะยาวกรมวิชาการเกษตรมี แนวทางพัฒนาวิธีการติ ดตามการระบาดโดยใช้โดรนเพื่ อประเมินการเกิดโรค และกำหนดพื้นที่การระบาดบริ เวณกว้าง ซึ่งในขณะนี้กรมวิ ชาการเกษตรสามารถพัฒนาเทคนิ คการตรวจพบเชื้อแม้จะยังไม่ แสดงอาการซึ่งจะสามารถใช้ยืนยั นผลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความแม่นยำและเฝ้าระวังการเกิ ดโรคจากภาพถ่ายทางอากาศได้ ซึ่งจะทำให้สามารถจัดการกั บโรคได้อย่างทันท่วงที” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว