ผลกระทบที่มีต่อความยั่งยืนของพืชดัดแปลงพันธุกรรม

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

เมื่อนักวิจัยเจาะลึกเนื้อหาในวรรณกรรม เผยให้เห็นถึงแรงผลักและและแรงฉุดที่น่าสนใจระหว่างประโยชน์และผลกระทบของพืชดัดแปลงพันธุกรรม ตัวอย่างเช่น หลายการศึกษาแสดงให้เห็นว่าในการจัดการศัตรูพืชทางการเกษตร พืชดัดแปลงพันธุกรรมที่มีลักษณะต้านทานแมลงศัตรูจะใช้สารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชน้อยลงอย่างมาก….

แต่การศึกษาอื่น ๆ เผยให้เห็นว่าเมื่อเวลาผ่านไป แมลงศัตรูก็พัฒนาความต้านทานต่อพืชดัดแปลงพันธุกรรมด้วย ซึ่งสามารถกระตุ้นให้มีการใช้สารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูมากขึ้นในระยะยาว….

แล้วก็จะมีผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ แม้ว่าการศึกษาบางชิ้นแสดงให้เห็นว่าผลผลิตพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่เพิ่มขึ้นจะช่วยลดการบุกรุกพื้นที่ป่า แต่การศึกษาอื่น ๆ แสดงให้เห็นว่าปัจจัยทางเศรษฐกิจอาจทำให้เกิดผลตรงกันข้าม จากผลกำไรที่เพิ่มขึ้นกระตุ้นให้เกษตรกรขยายการผลิต การศึกษาชิ้นหนึ่งในบราซิลพบว่า การตัดไม้ทำลายป่าเพิ่มมากขึ้นในพื้นที่ซึ่งมีผลผลิตเพิ่มขึ้นอย่างมากจากการปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรม….

การศึกษานี้ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า พืชดัดแปลงพันธุกรรมไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืนหรือเป็นภัยคุกคาม และไม่สามารถแยกพิจารณาเฉพาะผลกระทบอย่างเดียวได้ เนื่องเพราะประโยชน์ที่มีแต่ละอย่างจะมาพร้อมกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น นั่นก็หมายความว่า จะต้องชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์กับความเสี่ยง และ ความสามารถที่จะควบคุมความเสี่ยง

อ่านเพิ่มเติมได้จาก https://www.anthropocenemagazine.org/2024/09/what-are-the-environmental-trade-offs-of-gm-crops/