CABBI ดัดแปลงพันธุกรรมพืชพลังงานชีวภาพเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้น้ำ

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

การศึกษาที่ดำเนินการโดยนักวิจัยจากศูนย์นวัตกรรมพลังงานชีวภาพและผลิตภัณฑ์ชีวภาพขั้นสูง (Center for Advanced Bioenergy and Bioproducts Innovation – CABBI) แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเทคนิคทางพันธุวิศวกรรมในการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้น้ำ (water use efficiency – WUE) ในพืชพลังงานชีวภาพ ที่จัดเป็นพืช C4 (พืชที่มีการตรึง CO2 2 ครั้ง) ที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ โดยไม่มีผลกระทบด้านลบต่อผลผลิต การศึกษานี้ได้รับการตีพิมพ์ใน Journal of Experimental Botany

ในการศึกษาชิ้นแรก ทีมงาน CABBI ได้ปรับปรุง WUE ในข้าวฟ่าง โดยการใส่ยีนที่ปรับเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาและลดจำนวนปากใบบนใบ แนวทางนี้ช่วยลดการสูญเสียน้ำในต้นข้าวฟ่างโดยไม่ส่งผลกระทบต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงหรือการผลิตชีวมวล ในการศึกษาชิ้นที่สอง นักวิจัยพบว่ารูขุมขนที่เหลือเปิดกว้างขึ้นเมื่อความหนาแน่นของปากใบในอ้อยและพืช C4 อื่นๆ ลดลง

Dr. Andrew Leaky ผู้อำนวยการของ CABBI กล่าวว่า “การเอาชนะข้อจำกัดด้านน้ำในการผลิตพืชผล ถือเป็นหัวใจสำคัญอย่างยิ่งในการบรรลุภารกิจของเราในการสนับสนุนเศรษฐกิจชีวภาพที่สร้างผลกำไร ยั่งยืน และฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ”

ข้อค้นพบของการศึกษานี้ กล่าวถึงความท้าทายในการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุง WUE ในพืช เช่น ผลผลิตที่ลดลง ปริมาณคาร์บอนสังเคราะห์ด้วยแสง และอัตราการเจริญเติบโต

Dr. Leaky กล่าวต่อว่า “เรากำลังนำพืชที่มีความได้เปรียบอยู่แล้วมาใช้ และจากนั้นก็อาจทำให้ดีขึ้นโดยไม่กระทบต่อการเพิ่มคาร์บอน”

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://cabbi.bio/cabbi-team-designs-efficient-bioenergy-crops-that-need-less-water-to-grow/