โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศจีนได้พัฒนาผลิตภัณฑ์นมแพะที่ผ่านการแก้ไขยีนเพื่อเพิ่มความต้านทานต่อโรคเต้านมอักเสบ (mastitis) ผ่านกลยุทธ์การปรับปรุงพันธุ์ด้วยเทคนิคการแก้ไขยีน ซึ่งผลการศึกษาได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Advance Science
โรคเต้านมอักเสบ เป็นโรคที่พบบ่อยที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมปศุสัตว์ทั่วโลก โดยมีอาการอักเสบของต่อมน้ำนม และเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของการสูญเสียทางเศรษฐกิจของนมแพะที่เกิดจากการติดเชื้อ ที่เกิดจากเชื้อโรค เช่น Staphylococcus spp. และเชื้อ Escherichia coli นักวิจัยเสนอให้ใช้เทคนิคการแก้ไขยีนเพื่อต่อสู้กับโรคเต้านมอักเสบโดยใช้นมแพะเป็นสัตว์ต้นแบบ
การวิจัยประสบความสำเร็จในการพัฒนาแพะที่แก้ไขยีนเพื่อให้ต้านทานโรคเต้านมอักเสบโดยใช้ระบบ ISDra2-TnpB แพะเหล่านี้มีระดับไลโซไซม์ (lysozyme – LYZ) เพิ่มขึ้นในต่อมน้ำนมในระหว่างการติดเชื้อ E. coli ส่งผลให้ความรุนแรงของโรคเต้านมอักเสบลดลงและมีความต้านทานโรคดีขึ้น ผลการวิจัยแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าที่สำคัญในการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ที่ต้านทานโรค
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1002/advs.202404408