การแก้ไขยีนด้วย CRISPR สามารถกระตุ้นการบริโภคผักและผลไม้เพิ่มขึ้น

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

Pairwise บริษัทอาหารและการเกษตรที่ใช้การแก้ไขยีนและเทคโนโลยี CRISPR ในการเปลี่ยนแปลงพืชและระบบการผลิต โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้ร่วมมือกับ Bayer เพื่อออกใบอนุญาตผักใบเขียวที่แก้ไขด้วย CRISPR เพื่อปรับปรุงรสชาติ และยังได้พัฒนาแบล็คเบอร์รี่ไร้เมล็ดพันธุ์แรกและไม่มีหนามโดยใช้ CRISPR

หนึ่งในนวัตกรรมแรกของ Pairwise ที่มีจำหน่ายคือผลิตภัณฑ์จากผักใบเขียว นักวิจัยที่ Pairwise ได้ใช้ CRISPR เพื่อขจัดรสเผ็ด/ฉุน (spicy taste) ของผักกาดเขียว เพื่อช่วยให้น่ารับประทานมากขึ้นสำหรับใช้ในสลัดและอื่น ๆ

Tom Adams ผู้ร่วมก่อตั้งและCEO ของ Pairwise กล่าวว่า “เรากำลังคิดถึงสิ่งที่สามารถช่วยในเรื่องการควบคุมอาหารและโภชนาการของผู้คน และมองไปที่สลัด” และ “เรารู้ว่าผู้คนพูดถึงการกินผักคะน้า แต่พวกเขากินผักกาดโรเมน (Romaine) และผักกาดแก้ว (Iceberg) โรเมนและผักกาดแก้วไม่เลวสำหรับคุณ แต่ไม่ได้มีคุณค่าทางโภชนาการมากนัก และ ผักคะน้ายังมีความขม การเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการของผักสีเขียว จึงจำเป็นสำหรับสลัดรูปแบบใหม่”

Pairwise ได้ทำการสำรวจจากผู้บริโภคมากกว่า 3,000 เกี่ยวกับผักสีเขียว โดยประมาณร้อยละ 91 ระบุว่าเต็มใจที่จะซื้อผักสีเขียวที่พัฒนามาจากการแก้ไขยีน

Tom Adams กล่าวว่า “ผมคิดว่าผลการสำรวจนี้ แสดงให้เห็นถึงความสามารถที่จะเอาชนะใจผู้บริโภคได้ ด้วยการสร้างผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค” และ “สิ่งที่เราไม่ได้ทำจริง ๆ กับผลิตภัณฑ์จีเอ็มโอ คือ เราไม่ได้สื่อสารกับผู้บริโภคด้วยพลังเชิงบวกจริง ๆ”

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.thepacker.com/news/packer-tech/how-gene-editing-hopes-boost-produce-consumption