โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
นักวิจัยจาก Macquarie University ในออสเตรเลีย นำโดยนักชีววิทยาสังเคราะห์ (synthetic biologist) Dr. Kate Tepper มองเห็นอนาคตที่แมลงริ้นดำ (Black Flies) ดัดแปลงพันธุกรรม สามารถเปลี่ยนการจัดการขยะและการผลิตทางชีวภาพที่ยั่งยืนได้ และทีมวิจัยได้เสนอให้ใช้แมลงริ้นดำ (Hermetia illucens) ที่ดัดแปลงพันธุกรรม เพื่อจัดการกับความท้าทายด้านมลพิษทั่วโลกและผลิตวัตถุดิบที่มีคุณค่าสำหรับอุตสาหกรรม
แมลงริ้นดำมีคุณค่าในการจัดการขยะ ซึ่งจะบริโภคขยะที่เป็นของเสียก่อนที่จะแปรรูปเป็น ‘มวลชีวภาพของแมลง (insect biomass) เพื่อใช้เป็นอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยงในบ้านและสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่และปลาเชิงพาณิชย์
นักวิจัยอาวุโส Dr. Maciej Maselko ซึ่งเป็นหัวหน้าห้องปฏิบัติการชีววิทยาสังเคราะห์สัตว์ (animal synthetic biology) ที่ Applied BioSciences ของ Macquarie University กล่าวว่า “แมลงจะเป็นขอบเขตถัดไปสำหรับการใช้งานชีววิทยาสังเคราะห์ เพื่อจัดการกับความท้าทายครั้งใหญ่ในการจัดการขยะที่ไม่สามารถแก้ปัญหาด้วยจุลินทรีย์”
Dr. Maselko กล่าวอีกว่า แมลงริ้นดำสามารถนำมาเลี้ยงด้วยอาหารขยะที่เป็นของเสียได้โดยตรง ซึ่งเมื่อขยะถูกหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แมลงริ้นดำจะกินขยะในปริมาณมากและกินได้เร็วกว่าจุลินทรีย์มาก
การดำเนินการเชิงพาณิชย์ของการผลิตแมลงริ้นดำกำลังดำเนินการผ่าน EntoZyme ซึ่งเป็นบริษัทแยกส่วนจากมหาวิทยาลัย Macquarie University, Dr. Tepper กล่าวว่าแมลงริ้นดำดัดแปลงพันธุกรรมมีศักยภาพ ไม่ใช่แค่ในตลาดการจัดการขยะที่มีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการผลิตทางอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูงหลายประเภทด้วย
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://lighthouse.mq.edu.au/article/july-2024/how-genetically-modified-flies-can-reduce-waste-and-keep-it-out-of-landfills