ยกระดับทางพันธุกรรม “เคพกูสเบอรี่”ผ่าน CRISPR

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

เป็นเวลากว่า 6 ปีที่ Dr. Joyce Van Eck จากสถาบัน Boyce Thompson (Boyce Thompson Institute – BTI) ในสหรัฐอเมริกา ผู้นำทีมนักวิจัยในโครงการ “Physalis Improvement Project” ทำงานเพื่อเปลี่ยน เคพกูสเบอรี่ หรือ โทงเทง จากพืชแปลกใหม่ในสวนให้เป็นพืชกระแสหลัก ที่วันหนึ่งอาจจะพบเห็นได้ทั่วไปควบคู่ไปกับบลูเบอร์รี่และแบล็กเบอร์รี่ในร้านขายของชำ

นิสัยการเจริญเติบโตที่แผ่กิ่งก้านสาขาของต้น เคพกูสเบอรี่ (Groundcherry )หรือ โทงเทง ทำให้ยากต่อการจัดการ และเมื่อผลสุกแล้วจะทิ้งผลลงพื้น (จึงเป็นที่มาของชื่อ Groundcherry) ซึ่งทำให้การเก็บเกี่ยวทำได้ยากและเพิ่มความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อโรคในดิน

ทีมวิจัยจึงได้ทำการเปลี่ยนแปลงดีเอ็นเอของ เคพกูสเบอรี่ หรือ โทงเทง อย่างแม่นยำโดยใช้การแก้ไขยีน CRISP-Cas9 ที่เฉพาะเจาะจง สร้างต้น เคพกูสเบอรี่ หรือ โทงเทง ที่มีนิสัยการเจริญเติบโตที่กะทัดรัดมากขึ้น ทำให้ง่ายต่อการเพาะปลูก รวมทั้งยังได้เพิ่มขนาดผล และกำลังทำงานเพื่อให้ผลติดอยู่กับต้นได้นานขึ้นเพื่อการเก็บเกี่ยวที่ง่ายและปลอดภัยยิ่งขึ้น ซึ่งทำให้ไม่จำเป็นต้องเก็บผลจากพื้นดิน

การวิจัยเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของ เคพกูสเบอรี่ หรือ โทงเทง เช่น การปกคลุมผลเหมือนโคมกระดาษ (กลีบเลี้ยงพองขึ้น) และกลไกการหลุดร่วงของผล (กระบวนการทิ้งผล) ได้ให้ข้อมูลเชิงลึกที่สามารถช่วยปรับปรุงพืชอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ บทบาท 2 ประการของ เคพกูสเบอรี่ หรือ โทงเทง ในฐานะพืชและสิ่งมีชีวิตต้นแบบ ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญทางวิทยาศาสตร์และการปฏิบัติ และทีมวิจัยกำลังสำรวจว่า เคพกูสเบอรี่ หรือ โทงเทง สามารถต้านทานแมลงศัตรูพืชบางชนิดได้อย่างไร

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://btiscience.org/explore-bti/news/post/groundcherry-gets-genetic-upgrades-turning-a-garden-curiosity-into-an-agricultural-powerhouse/