โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
เป็นช่วงเวลาที่น่าทึ่งที่ต้องบันทึกในพงศาวดารอาหารของมนุษยชาติ ที่ร้านค้าในสิงคโปร์เริ่มขายเนื้อสัตว์ที่เพาะเลี้ยงในห้องทดลองให้แก่ประชาชนทั่วไปโดยตรงในเดือนพฤษภาคม
เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา มีผู้มาชมร้าน Huber’s Butchery เพื่อเฝ้าดูเนื้อปลาผัดของพ่อครัว โดยร้อยละ 3 ของเนื้อปลานั้นทำมาจากเซลล์ไก่และส่วนที่เหลือมาจากโปรตีนพืช และใส่ไว้ในแผ่นแป้งทาโก้พร้อมอะโวคาโด ปิโกเดอกัลโล (pico de gallo คือ เครื่องจิ้มยอดนิยมที่ช่วยเพิ่มรสชาติให้กับอาหาร) และผักชี
เมื่อทำให้สุกจะมีรสชาติเหมือนไก่ ซึ่งทำให้ Sascha Wenninger วัย 39 ปี หยิบมา 3 แพคใส่ลงในตะกร้าช้อปปิ้ง และกล่าวว่า “ฉันชอบกินเนื้อสัตว์ และถ้าฉันสามารถทำได้โดยไม่ทารุณกรรมสัตว์ มันก็เหมาะมาก” ส่วนคนอื่นๆ ยังไม่ค่อยสนใจเนื้อสัตว์ที่เพาะเลี้ยงในห้องทดลองมากนัก โดย Philippe Ritoux วัย 58 ปี กล่าวว่า “ทำไมต้องกินของปลอม ในเมื่อยังมีไก่สดจากธรรมชาติ”
สิงคโปร์กลายเป็นประเทศแรกที่อนุญาตผลิตภัณฑ์จากห้องทดลองหรือ “เนื้อสัตว์ที่เพาะเลี้ยง” เพื่อจำหน่ายเชิงพาณิชย์ในปี พ.ศ. 2563 (สหรัฐฯ อนุญาตตามมาอีก 2 ปีต่อมา แต่รัฐฟลอริดาสั่งห้ามในเดือนพฤษภาคม) และตั้งแต่นั้นมาได้ให้ไฟเขียวแก่ผลิตภัณฑ์แห่งอนาคตอื่น ๆ เช่น ผงโปรตีนที่อุดมด้วยโปรตีนสังเคราะห์จากอากาศเป็นต้น
Josh Tetrick ผู้ร่วมก่อตั้ง Eat Just บริษัทที่อยู่เบื้องหลังเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงที่วางจำหน่ายที่ Huber’s กล่าวว่า “ก่อนที่จะมีประเทศสิงคโปร์ เนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงเป็นเพียงนิยายวิทยาศาสตร์” ดังนั้น ความสำเร็จใด ๆ ก็ตามในสิงคโปร์อาจมีความสำคัญระดับโลก
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nytimes.com/2024/07/24/world/asia/singapore-cultivated-lab-meat.html