ใช้ CRISPR เพิ่มความต้านทานต่อโรคเหี่ยวจากแบคทีเรียในมะเขือเทศ

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Plant Biotechnology Journal แสดงให้เห็นว่าปริมาณกรดแกมมา-อะมิโนบิวทีริก (gamma-aminobutyric acid – GABA) ที่ลดลงจะช่วยเพิ่มความต้านทานต่อโรคเหี่ยวจากแบคทีเรียในมะเขือเทศได้ แนวทางนี้เผยให้เห็นถึงกลยุทธ์ใหม่ในการเพิ่มความต้านทานของพืชต่อเชื้อ Ralstonia solanacearum

เชื้อ Ralstonia solanacearum ก่อให้เกิดโรคที่ทำลายล้างในพืชหลากหลายชนิด ซึ่งนำไปสู่การสูญเสียทางการเกษตรและเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ พืชสำคัญที่ได้รับผลกระทบจาก Ralstonia ได้แก่ มะเขือเทศ ในการศึกษานี้ นักวิจัยใช้การแก้ไขยีนด้วย CRISPR-Cas9 เพื่อทำให้เกิดการกลายพันธุ์ของ SlGAD2 ซึ่งเป็นยีนที่เข้ารหัส glutamate decarboxylase ที่สำคัญในการผลิตสาร GABA ในมะเขือเทศ

การศึกษาพบว่าต้นมะเขือเทศที่มี SlGAD2 กลายพันธุ์ จะมีระดับ GABA ลดลง และมีความต้านทานที่เพิ่มขึ้นต่อโรคเหี่ยวจากแบคทีเรียที่เกิดจากเชื้อ Ralstonia มะเขือเทศกลายพันธุ์นี้ยังไม่แสดงว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญในการตอบสนองต่อความเครียดจากสิ่งมีชีวิตและไม่ใช่สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เช่น ความแห้งแล้งและความร้อน นักวิจัยกล่าวว่าแนวทางนี้เมื่อรวมกับกลยุทธ์อื่น ๆ อาจมีประสิทธิภาพในการนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา Ralstonia ที่ยั่งยืน

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/pbi.14539