นักวิจัยค้นพบยีนที่ควบคุมการตรึงไนโตรเจน

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

นักวิจัยจาก La Trobe University ในเมืองเมลเบิร์นของออสเตรเลียและพันธมิตร ได้ระบุว่า ยีน FUN ควบคุมการเปลี่ยนไนโตรเจนในบรรยากาศไปเป็นสารอาหารที่ใช้งานได้

พืชตระกูลถั่ว เช่น beans (ถั่วในฝักที่มีเมล็ดไม่กลม กินได้ทั้งฝัก หรือกินเฉพาะเมล็ด) และ peas (ถั่วในฝักที่มีเมล็ดกลม กินฝักสดที่ยังไม่แก่เต็มที่) ประสานกับแบคทีเรียในดิน เพื่อเปลี่ยนไนโตรเจนในบรรยากาศให้เป็นสารอาหารที่จะช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตของพืช อย่างไรก็ตาม กระบวนการนี้จะลดลงเมื่อดินมีไนโตรเจนเพียงพอ เนื่องจากกระบวนการทางธรรมชาติหรือผ่านการใช้ปุ๋ย

นักวิจัยได้คัดเลือกพืชตระกูลถั่วประมาณ 150,000 ต้นที่มีการยับยั้งการแสดงออกของยีน (knocked-out genes) เพื่อวิเคราะห์ว่าพืชสลับระหว่างการตรึงไนโตรเจนและการดูดซึมไนโตรเจนในดินได้อย่างไร นักวิจัยค้นพบว่ายีน Fixation Under Nitrate (FUN) เป็นปัจจัยการถอดรหัสที่ควบคุมการแสดงออกของยีน และระดับสังกะสีอาจกระตุ้นการทำงานของยีน FUN ที่จะหยุดการตรึงไนโตรเจน

Dr. Dugald Reid ผู้เขียนรายงานผลการวิจัย กล่าวว่า “จากมุมมองทางการเกษตร การตรึงไนโตรเจนอย่างต่อเนื่องอาจเป็นลักษณะที่เป็นประโยชน์ในการเพิ่มความพร้อมของไนโตรเจน ทั้งสำหรับพืชตระกูลถั่วและพืชในอนาคตที่ต้องอาศัยไนโตรเจนที่ทิ้งไว้ในดินหลังจากปลูกพืชตระกูลถั่ว” นอกจากนี้กำลังดำเนินการวิจัยอื่นเพื่อตรวจสอบว่า พืชตระกูลถั่วทำงานอย่างไรเมื่อมีการยับยั้งการแสดงออกของยีน FUN

ครับ คำตอบที่ได้จากการศึกษษในชุดนี้อาจนำไปสู่การตรึงไนโตรเจนมนพืชอื่นนอกเหนือจากพืชตระกูลถั่ว

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.latrobe.edu.au/news/articles/2024/release/legume-genetic-discovery-could-improve-crop-growth