โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ (University of Sydney) ในออสเตรเลีย ได้พัฒนา SeekRNA ซึ่งเป็นเครื่องมือแก้ไขยีนที่มีความแม่นยำและความยืดหยุ่นสูงกว่าเมื่อเทียบกับ CRISPR เทคนิคนี้ได้ผ่านการทดสอบในแบคทีแล้ว และจะถูกตรวจสอบว่าสามารถนำไปใช้กับเซลล์ยูคาริโอตที่ซับซ้อน (eukaryotic cells – เป็นเซลล์ที่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส และมีออร์แกเนลล์ต่าง ๆ ในไซโทพลาสซึมที่มีเยื่อหุ้ม) ได้หรือไม่
CRISPR ทำให้เกิดการแตกหักของ DNA ทั้ง 2 เส้น และต้องใช้โปรตีนอื่น ๆ เพื่อเพิ่มลำดับดีเอ็นเอใหม่ ถึงแม้ว่า CRISPR จะมีการใช้งานหลายอย่างในอุตสาหกรรมต่าง ๆ แต่วิธีนี้อาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดในดีเอ็นเอโดยไม่ได้ตั้งใจได้
นักวิทยาศาสตร์ตัดสินใจพัฒนา SeekRNA เพื่อใช้เป็นทางเลือกแทน CRISPR โดยใช้สายกรดไรโบนิวคลีอิก (RNA) ที่ตั้งโปรแกรม (programmable ribonucleic acid (RNA) strand) ได้ ซึ่งจะตรวจจับตำแหน่งที่จะแทรกในลำดับดีเอ็นเอ เนื่องจากไม่ต้องการโปรตีนอื่น กระบวนการแก้ไขจึงสั้นลง และลดข้อผิดพลาดให้เหลือน้อยที่สุด
ศาสตราจารย์ Ruth Hall หนึ่งในนักวิจัยกล่าวว่า “เราอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการแก้ไขยีนที่สามารถทำได้ เราหวังว่าการพัฒนาแนวทางใหม่ในการแก้ไขยีนนี้ จะทำให้เราสามารถมีส่วนร่วมในความก้าวหน้าด้านสุขภาพ เกษตรกรรม และเทคโนโลยีชีวภาพได้”
ครับ ในอนาคตจะมีเครื่องมือที่มีความแม่นยำมากขึ้นในการแก้ไขยีน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nature.com/articles/s41467-024-49474-9