การแก้ไขยีนที่แม่นยำจะช่วยให้อินเดียปลูกพืชอาหารในยุคโลกที่เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากข้อได้เปรียบด้าน AI

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อระบบอาหาร (food systems) ผลกระทบของระดับ CO2 ที่เพิ่มขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อผลผลิตพืชในรูปแบบที่ซับซ้อน เช่น การเปลี่ยนแปลงการเผาผลาญของพืช (plant metabolism) การเปลี่ยนแปลงความอุดมสมบูรณ์ของดิน การเข้าทำลายของศัตรูพืช และอื่น ๆ อีกมากมาย ดังนั้นระบบอาหารจึงเป็นแบบอย่างของความยืดหยุ่นในโลกที่ร้อนขึ้น

โปรตีนเป็นองค์ประกอบสำคัญของชีวิต โปรตีนเหล่านี้ถูกสังเคราะห์ขึ้นเมื่อมีการกระตุ้นยีนบางชนิดในเซลล์พืชหรือเซลล์สัตว์ หนึ่งในความลึกลับที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของชีวิตบนโลก คือ การทำความเข้าใจว่าอะไรกระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีนเฉพาะในเซลล์ และวิธีที่ทำให้โมเลกุลโปรตีนมีรูปร่างเป็นแบบ 3 มิติ จะช่วยสร้างความเข้าใจในการกำหนดหน้าที่ของโปรตีนและวิธีที่โปรตีนจะมีปฏิกิริยากับ โมเลกุลอื่น ๆ เพื่อสร้างโครงสร้างอวัยวะหรือเอนไซม์

เครื่องมือ AI (Artificial Intelligence หรือปัญญาประดิษฐ) เช่น AlphaFold ของ Google พยายามทำนายโครงสร้างโมเลกุลโปรตีน 3 มิติเหล่านี้ โดยการอ่านรหัสเซลล์ในรูปแบบของลำดับกรดอะมิโน ซึ่งค่อนข้างคล้ายกับการจินตนาการถึงเครื่องจักรที่ซับซ้อนและการทำงานของมัน เช่น เครื่องยนต์ของรถยนต์ เพียงแค่อ่านคู่มือคำแนะนำสำหรับการประกอบเท่านั้น ไม่ต้องสงสัยเลยว่า เครื่องมือ AI จะช่วยเพิ่มความเข้าใจระบบพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต เช่น โครงสร้างโปรตีน ได้เร็วและ จะสามารถช่วยสร้างพันธุ์พืชที่มีความยืดหยุ่นได้มากขึ้น

ครับ AI หรือปัญญาประดิษฐ ที่แสดงโครงสร้างโมเลกุลโปรตีนเป็นแบบ 3 มิติ จะช่วยให้การแก้ไขยีนในพืชให้มีความยืดหยุ่นได้มากขึ้น

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.dailypioneer.com/2024/columnists/creating-food-systems-for-tropical-climate.html