โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
การศึกษาที่ตีพิมพ์ใน Plant Biotechnology Journal แสดงให้เห็นว่าการแก้ไขยีน NPR3 ช่วยให้มันฝรั่งต้านทานต่อ Candidatus Liberibacter solanacearum (CLso) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรค Zebra Chip และสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่สำคัญ จึงจำเป็นต้องหาแนวทางอื่นในการพัฒนาความต้านทานต่อโรค
นักวิจัยได้สร้างสายพันธุ์ที่แก้ไขยีน StNPR3 ที่มีหลายต่ำแหน่ง (multiple StNPR3-edited lines) โดยอาศัย Agrobacterium tumefaciens ผลการศึกษาพบว่าไม่มีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติในสายพันธุ์ที่แก้ไขยีนเมื่อเปรียบเทียบกับสายพันธุ์เปรียบเทียบ เมื่อประเมิน CLso สายพันธุ์ที่แก้ไขยีนแสดงอาการของโรคที่ลดลง การเปลี่ยนสีที่ลดลง การลดลงอย่างมีนัยสำคัญใน CLso titer (การวัดการมีอยู่ของ CLso) และการแสดงออกที่สูงขึ้นของยีนเครื่องหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน
เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นว่ามันฝรั่งที่แก้ไขยีน StNPR3 ต้านทานโรคได้อย่างไร นักวิจัยได้วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงในการทำงานของยีนและสารเมตาบอไลต์ (metabolites) และพบว่ายีนเหล่านี้จำนวนมากจะเกี่ยวข้องกับกระบวนการที่เกี่ยวพันกับความเครียดทางชีวภาพ (biotic stress) และการตอบสนองต่อการป้องกัน นอกจากนี้ การทำแผนที่ของสารเมตาบอไลต์แสดงให้เห็นว่ามีการกระตุ้นโปรตีนและปัจจัยการถอดรหัสที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันหลายชนิด การวิเคราะห์ที่ครอบคลุมนี้ช่วยอธิบายความต้านทานโรคที่เพิ่มขึ้นที่พบในมันฝรั่งที่แก้ไขยีน StNPR3
ครับ เป็นวิธีการที่น่าสนใจและติดตามจริง ๆ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/pbi.14378