ศาลฟิลิปปินส์ตีความหลักระวังไว้ก่อน ที่ขาดความเข้าใจในการระงับการปลูกข้าวสีทองเชิงพาณิชย์

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

ในหลักการที่ 15 ของปฏิญญาริโอปี ค.ศ. 1992 ได้วางหลักเกณฑ์ในการระวังไว้ก่อน (precautionary principle) ไว้ในกฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ ซึ่งระบุว่า

“เพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อม รัฐจะต้องนำแนวทางการระวังไว้ก่อนมาใช้ตามความสามารถของตน ในกรณีที่มีภัยคุกคามต่อความเสียหายร้ายแรงหรือไม่สามารถย้อนกลับได้ การขาดความเข้าใจที่ชัดเจนทางวิทยาศาสตร์อย่างครบถ้วน จะไม่ถูกนำมาใช้เป็นเหตุผลในการเลื่อนมาตรการคุ้มทุน เพื่อป้องกันความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม”

นี่เป็นพื้นฐานสำหรับคำตัดสินล่าสุดที่ประกาศโดยศาลอุทธรณ์ (Court of Appeals – CA) แผนกที่ 4 ของฟิลิปปินส์ ที่สั่งให้ University of the Philippines Los Baños (UPLB) และ Philippine Rice Research Institute (Philrice) ) หยุดการขยายพันธุ์เชิงพาณิชย์ข้าวสีทองและมะเขือม่วงบีที

ทั้ง 2 พืชนี้ถือเป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (genetically modified organisms – GMOs) โดยข้าวสีทองเป็นข้าวที่อุดมด้วยเบต้าแคโรทีน (beta-carotene) ที่มีแหล่งที่มาจากข้าวโพดและจากแบคทีเรีย 2 ชนิด ได้แก่ Pantoria ananatis และ Escherichia coli และ มะเขือม่วงบีที ที่มีสารพันธุกรรมจาก Bacillus thuringensis ซึ่งเป็นแบคทีเรียอีกชนิดหนึ่ง

ภายใต้หลักการทางกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมนี้ ประโยชน์ที่ได้รับจากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยข้อมูลเชิงประจักษ์จากการวิจัย ไม่ได้ถูกใช้เป็นข้อมูลหลักในการพิจารณา และอันตรายที่อาจเกิดขึ้น หากแสดงให้เห็นว่าเป็นไปได้แม้ว่าจะไม่แน่นอน ก็เพียงพอแล้วที่จะหยุดการเผยแพร่สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมในเชิงพาณิชย์ เช่นเดียวกับที่ทำกับ ข้าวสีทองและมะเขือม่วงบีที

ครับ สรุปสั้น ๆ คือ ศาลไม่ได้พิจารณาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ แต่ใช้หลักระวังไว้ก่อนที่ระบุอยู่ในหลักการที่ 15 ของปฏิญญาริโอปี ค.ศ. 1992 อย่างขาดความเข้าใจอย่างแท้จริง

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.manilatimes.net/2024/05/02/opinion/columns/misreading-the-precautionary-principle/1944324