โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
นับตั้งแต่การใช้พืชดัดแปลงพันธุกรรมเชิงพาณิชย์ครั้งแรกในช่วงกลางทศวรรษ 1990 (พ.ศ. 2533) นักวิจัยได้พิจารณาถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจและระบบนิเวศของการเพาะปลูกของเทคโนโลยีใหม่นี้ ซึ่งเกือบ 25 ปีของการวิจัยที่มีการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับพืชดัดแปลงพันธุกรรมเชิงพาณิชย์ในประเทศที่ยอมรับเพื่อการเพาะปลูก พบว่าพืชเหล่านี้มีส่วนช่วยเพิ่มผลผลิตและลดการใช้สารเคมี
ผลที่ได้ คือ พืชดัดแปลงพันธุกรรมสร้างรายได้จากการเพาะปลูกทั่วโลกที่สูงขึ้น และการเปลี่ยนแปลงแนวทางการจัดการพื้นที่เพาะปลูกและการลดการใช้สารเคมีไปพร้อม ๆ กัน ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมาก เมื่อมีหลักฐานมากขึ้น การนำพืชดัดแปลงพันธุกรรมมาใช้กับการมีส่วนในการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ก็สามารถเชื่อมโยงให้เกิดขึ้นได้
ก่อนที่จะมีพืชที่ทนทานต่อสารกำจัดวัชพืช ทางเลือกในการควบคุมวัชพืชในพืชที่มีประสิทธิภาพนั้นมีจำกัด ส่งผลให้เกษตรกรส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาการปล่อยพื้นที่ทิ้งว่างในฤดูร้อน เพื่อการควบคุมวัชพืชอย่างมีประสิทธิภาพ ในการผลิตทางการเกษตรบนพื้นที่แห้งแล้ง การปฏิบัติในพื้นที่ทิ้งว่างในฤดูร้อน ส่งผลให้ดินพังทลายและสูญเสียอย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงลดการอนุรักษ์ความชื้นด้วย พืชดัดแปลงพันธุกรรมที่ทนทานสารกำจัดวัชพืช ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการใช้การไถพรวนเป็นรูปแบบหลักของการควบคุมวัชพืช ไปสู่แนวทางการจัดการที่ดินที่ไม่มีการไถพรวนอย่างต่อเนื่อง
บทความนี้ยังประมาณการด้วยว่า การลดการไถพรวนและการไม่ไถพรวน ส่งผลให้มีการลดการปลดปล่อยคาร์บอนเพิ่มขึ้น 5.6 พันล้านกิโลกรัมในปี พ.ศ. 2561 ซึ่งเทียบเท่ากับ 20.6 พันล้านกิโลกรัมของ CO2 ที่ไม่ถูกปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศโลก หรือเทียบเท่ากับการนำรถยนต์ 13.6 ล้านคันออกจากท้องถนนเป็นเวลาหนึ่งปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 เป็นต้นมา CO2 ประมาณ 302 พันล้านกิโลกรัมถูกกักเก็บเป็นคาร์บอนในดิน
ครับ พืชดัดแปลงพันธุกรรมยังมีประโยชน์อย่างมากในการเพาะปลูก
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.tandfonline.com/doi/full/10.1080/21645698.2024.2335701