โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเจนีวา (University of Geneva – UNIGE), ETH Zurich และมหาวิทยาลัย Chung Hsing แห่งชาติของไต้หวัน (National Chung Hsing University – NCHU) ประสบความสำเร็จในการเพิ่มปริมาณวิตามินบี 1 ในเมล็ดข้าว ซึ่งถือเป็นความสำเร็จที่สำคัญในการต่อสู้กับการขาดวิตามินบี 1 ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการควบคุมอาหารประเภทข้าว
ข้าวเป็นอาหารหลักสำหรับประชากรครึ่งหนึ่งของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศเขตร้อนอย่างเอเชีย อเมริกาใต้ และแอฟริกา แต่เมล็ดข้าวมีวิตามินบี 1 ต่ำ และการแปรรูป เช่น การขัดสีก็ลดวิตามินบี 1 ลงไปอีก โดยนำวิตามินบี 1 ไปด้วยถึง ร้อยละ 90 ทีมวิจัยจึงมุ่งเป้าไปที่เนื้อเมล็ดข้าวโดยเฉพาะ และประสบความสำเร็จในการเพิ่มปริมาณวิตามินบี 1 โดยไม่กระทบต่อผลผลิตทางการเกษตร
นักวิทยาศาสตร์สร้างสายพันธุ์ข้าวที่เก็บวิตามินบี 1 ในเนื้อเยื่อเอนโดสเปิร์ม จากข้าวที่ปลูกในเรือนกระจก เก็บเกี่ยว และขัดสีเมล็ดข้าว ทีมวิจัยพบว่าวิตามินบี 1 ในข้าวจากสายพันธุ์เหล่านี้มีปริมาณเพิ่มขึ้น จากนั้นจึงปลูกทดสอบในแปลงในไต้หวันเป็นเวลาหลายปี ลักษณะที่วิเคราะห์ ได้แก่ ความสูงของต้น จำนวนลำต้นต่อต้น น้ำหนักเมล็ด และความอุดมสมบูรณ์ ทีมงาน NCHU สังเกตว่าระดับวิตามินบี 1 ในเมล็ดข้าวเพิ่มขึ้น 3 ถึง 4 เท่าในสายพันธุ์ที่พัฒนา แม้หลังจากขั้นตอนการขัดสีแล้วก็ตาม
ครับ มนุษย์จะมีอายุยาวขึ้นจากการบริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.unige.ch/medias/en/2024/du-riz-biofortifie-pour-lutter-contre-les-carences