การทดสอบภาคสนามพบอ้อยทนแล้งเจริญเติบโตได้ดีในจีน

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

การทดสอบภาคสนามในมณฑลกวางสี ประเทศจีน แสดงให้เห็นถึงความทนทานต่อความแห้งแล้งของพันธุ์อ้อยที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยกวางสี (Guangxi University) อย่างมีนัยสำคัญ ผลการทดสอบแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการกักเก็บน้ำที่เพิ่มขึ้น รวมถึงความเสียหายที่ลดลง โดยไม่กระทบต่อการเจริญเติบโตของอ้อย และอื่น ๆ อีกมากมาย

Tripidium arundinaceum dehydration-responsive element-binding transcription factor (TaDREB2B) ที่เป็นปัจจัยเบื้องหลังโปรโมเตอร์ RD29A ที่รับผิดชอบต่อความแห้งแล้ง ได้ถูกถ่ายฝากให้กับอ้อยพันธุ์ FN95-1702 ที่เป็นอ้อยพันธุ์เชิงพาณิชย์ และได้ผ่านการทดสอบความทนทานต่อความแห้งแล้งและการประเมินลักษณะทางการเกษตรหลายครั้งก่อนทำการทดสอบภาคสนาม

อ้อยดัดแปลงพันธุกรรม แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของผลผลิตและลักษณะทางการเกษตรที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน ภายใต้เงื่อนไขการให้น้ำที่จำกัดของการทดสอบภาคสนาม ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่ามีผลผลิตเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 41.9 และมีจำนวนต้นกล้าของอ้อยตอเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.4

นอกจากนี้ยังพบว่าปริมาณซูโครส ความบริสุทธิ์ และลักษณะคุณภาพที่สำคัญอื่น ๆ ในอ้อยดัดแปลงพันธุกรรมไม่ลดลง แม้ว่าจะมีการขาดน้ำก็ตาม โดยรวมแล้ว การผสมผสานระหว่างโปรโมเตอร์และทรานส์ยีน Prd29A-TaDREB2B ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นเครื่องมือเทคโนโลยีชีวภาพที่มีประโยชน์ในการเพิ่มความทนทานต่อความแห้งแล้งของอ้อย

ครับ นับว่าเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการปลูกอ้อยในสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.frontiersin.org/journals/plant-science/articles/10.3389/fpls.2022.963377/full