โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
นักวิจัยจากห้องปฏิบัติการหลักแห่งชาติเพื่อการปรับปรุงพันธุ์ด้วยชีวะวิธีของพืชเขตร้อนและสถาบันวิจัยอ้อย (National Key Laboratory for Biological Breeding of Tropical Crops and Sugarcane Research Institute) ในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ได้ทบทวนเทคนิคการแก้ไขยีนที่ใช้ในอ้อยป่าและหญ้าปลูก และจำแนกให้เห็นว่าสามารถใช้กับหญ้าที่ไม่ได้เป็นหญ้าปลูกได้หรือไม่
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลเสียต่อพืช เช่น พืชปลูกและหญ้า ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอนุรักษ์และพัฒนาทุ่งหญ้าเพื่อให้มั่นใจถึงความยั่งยืนของระบบนิเวศ การปรับปรุงพันธุกรรมของหญ้าอาจช่วยให้บรรลุเป้าหมายเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม การวิจัยเกี่ยวกับการแก้ไขยีนของหญ้าที่ไม่ได้เป็นหญ้าปลูกยังมีอยู่อย่างจำกัด เช่น ตะไคร้ อ้อยป่า และ Japanese sweet flag (ว่านน้ำญี่ปุ่น)
นักวิจัยจึงได้ประเมินการประยุกต์ใช้ CRISPR ในอ้อยป่า และสำรวจว่าวิธีนี้สามารถนำไปใช้กับหญ้าที่ไม่ได้เป็นหญ้าปลูกได้หรือไม่ นอกจากนี้ทีมงานยังได้หารือเกี่ยวกับข้อจำกัดของเทคนิคและมุมมองในอนาคตในสาขาวิชานี้
พวกเขาสรุปว่าแม้จะเผชิญกับอุปสรรคต่าง ๆ เช่น การนำส่งยีน ผลกระทบนอกเป้าหมาย และประสิทธิภาพในการแก้ไขที่จำกัด การวิจัยการแก้ไขจีโนมในอนาคตกับหญ้าที่ไม่ได้เป็นหญ้าปลูกก็ยังมีความหวังที่ยิ่งใหญ่ เทคโนโลยีนี้มีศักยภาพในการเพิ่มขอบเขตใหม่ในการดัดแปลงพันธุกรรม ซึ่งท้ายที่สุดก็มีส่วนทำให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร
ครับ ดูเหมือนว่าจะมีการนำพืชที่ไม่ใช่พืชปลูกมาใช้เป็นพืชปลูกด้วยเทคนิคการแก้ไขยีน เพื่อความมั่นคงทางอาหารในอนาคต
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.frontiersin.org/journals/plant-science/articles/10.3389/fpls.2024.1369416/full